การศึกษาการลดการเกิดและลุกลามของไฟป่าตามแนวทางป่าประชารัฐในพื้นที่ดอยพระบาท จังหวัดลำปาง

detail

มาตรการแก้ปัญหา เช่น การออกกฎกติกาชุมชนที่เข้มงวด การกำหนดวันห้ามเผา การแบ่งขอบเขตพื้นที่ระหว่างหมู่บ้านและตำบล รวมถึงขอบเขตระหว่างพื้นที่ทำกินและพื้นที่ป่า การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งคัด การให้ความรู้ ความเข้าใจแก่คนในพื้นที่ และการสร้างเครือข่ายเพื่อลดปัญหา 

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

หนึ่งในปัญหาสำคัญระดับชาติของประเทศไทย คือผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 สำหรับพื้นที่รอบดอยพระบาท จังหวัดลำปาง ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกิดจากไฟป่าเป็นสาเหตุหลัก ในการวิจัยครั้งนี้เน้นการหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาไฟในเขตป่าที่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ พร้อมทั้งหาแนวทางการฟื้นฟูป่าเพื่อลดการเกิดการลุกลามของไฟป่าบริเวณ ดอยพระบาท จังหวัดลำปาง ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมตามแนวทางประชารัฐ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้

  1. เพื่อหาแรงจูงใจของการเกิดไฟในเขตป่าสงวนและป่าอนุรักษ์
  2. เพื่อหาแรงจูงใจ หลักเกณฑ์ วิธีการ เพื่อสร้างความร่วมมือของประชาชน

ในพื้นที่รอบดอยพระบาท ในการที่จะร่วมมือกับรัฐอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3) เพื่อหาแนวทางการฟื้นฟูป่าที่สอดคล้องกับระบบนิเวศรอบดอยพระบาท

4) เพื่อสร้างเครือข่ายป่าประชารัฐในการร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณป่ารอบรอยพระบาทอย่างยั่งยืน

 

การดำเนินการ

วิธีการวิจัยโดยการสำรวจและการสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลลักษณะและองค์ประกอบของป่าชุมชนและป่าธรรมชาติ

การเก็บข้อมูลงานวิจัยโดยสำรวจสังคมพืช และความหนาแน่น ด้วยวิธี Point-Centered Quarter Method (PCQM) โดยการวางระบบจุดสุ่มเลือก (systematic sampling) แล้วแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนรอบจุดสุ่ม โดยลากเส้นตั้งฉากตัดกัน
วัดระยะจากจุดสุ่มไปยังต้นไม้ที่ใกล้ที่สุดในแต่ละส่วน (quarter) โดยวัดถึงจุดกึ่งกลางของต้นไม้ บันทึกระยะในแต่ละ quarter บันทึกชื่อชนิดพันธุ์ไม้ที่วัดขนาดพร้อมทั้งเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก (DBH) ที่ระดับความสูง 1.30 เมตร

ส่วนการสัมภาษณ์ปราชญ์อาวุโสในชุมชน และผู้นำชุมชน ๆ จำนวน 148 คน บริเวณป่าดอยพระบาท และชุมชมในพื้นที่ทั้ง 36 หมู่บ้าน การกำหนดกลุ่มประชากรตัวอย่าง สมการคำนวณการกำหนดกลุ่มประชากรตัวอย่างของ Yamane (1973) การประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ทางสถิติของป่าชุมชนแต่ละแห่งและเรียบเรียงตามประเด็นข้อมูลที่จำเป็น ในการเปรียบเทียบสภาพป่าชุมชน และเปรียบเทียบสภาพป่าชุมชนกับป่าธรรมชาติ เพื่อนำเสนอแนวทางการฟื้นฟูความชุ่มชื้นในป่าชุมชน

 

ผลการดำเนินงาน

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดไฟป่า คือ การล่าสัตว์ รองลงไปคือการเก็บหาของป่า ซึ่งกิจกรรมทั้ง 2 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของคนรอบดอยพระบาท จึงมีมาตรการแก้ปัญหา เช่น การออกกฎกติกาชุมชนที่เข้มงวด การกำหนดวันห้ามเผา การแบ่งขอบเขตพื้นที่ระหว่างหมู่บ้านและตำบล รวมถึงขอบเขตระหว่างพื้นที่ทำกินและพื้นที่ป่า การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งคัด การให้ความรู้ ความเข้าใจแก่คนในพื้นที่ และการสร้างเครือข่ายเพื่อลดปัญหา ตลอดจนเครือข่ายฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าดอยพระบาท เครือข่ายป่าประชารัฐจะเชื่อมโยงความคิดและมุมมองของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาไฟป่า แก้ปัญหาฝุ่นควัน ฟื้นฟูป่ารอบดอยพระบาทอย่างเหมาะสม ผ่านการสำรวจ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล และการลงมือทำของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การปรับโครงสร้างป่า

ผลการศึกษาลักษณะสังคมป่าพบว่าชนิดพันธุ์ไม้ทั้งหมด 167 ชนิด เป็นไม้ผลัดใบ 98 ชนิด (58.33%) ไม้กึ่งผลัดใบ 36 ชนิด (21.43%) ไม้ไม่ผลัดใบ 26 ชนิด (15.48%) และไม่สามารถระบุได้ 8 ชนิด (4.76%) รวมถึงสัดส่วนของจำนวนต้นของไม้ผลัดใบ ไม้กึ่งผลัดใบ และไม้ไม่ผลัดใบ เท่ากับ 64.62%: 31.99%: 3.38%
การปรับโครงสร้างป่าเป็นการฟื้นฟูป่าดอยพระบาทให้ทำหน้าที่ทางนิเวศได้ โดยการปลูกไม้ที่พบในพื้นที่เพื่อเป้าหลัก โดยไม้ที่งานวิจัยนี้เลือก คือ ไม้ไม่ผลัดใบที่เหมาะสม จำนวน 8 ชนิดคือ ก่อ กอม ข่อยป่า ดีหมี มะเกลือ มะม่วงป่า สารเต้า และหว้า ไม้ทั้ง 8 ชนิดนี้ล้วนเป็นอาหารของสัตว์ป่า ที่จะช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์

ตามธรรมชาติต่อไป

 

การนำไปใช้ประโยชน์

จากผลการศึกษาคณะผู้วิจัยได้รวบรวมมาเพื่อนำเสนอเป็นแนวป่าประชารัฐ 2 แนวทาง ดังต่อไปนี้

  1. แนวทางการแก้ไขปัญหาระยะเริ่มต้น
  • การกำหนดวันห้ามเผาให้สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝน และจำนวนวันที่ฝนตก ในแต่ละเดือน
  • การแบ่งขอบเขตพื้นที่ระหว่างหมู่บ้านและตำบลให้ชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการป้องกันไฟป่าและฝุ่นควัน
  • การกำหนดแนวเขตหรือการแบ่งโซนพื้นที่ของแต่ละบ้าน เช่น ระหว่างพื้นที่ทำกิน พื้นที่ป่าใช้สอย
  • การออกกฎกติกาชุมชนเพื่อเป็นกรอบและแนวทาง
  • การเก็บข้อมูลผลผลิตจากป่า
  • การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่องในชุมชน
  • การพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพของคนในชุมชน
  • การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ
  • การสร้างภาคีเครือข่ายและการจัดเวทีแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง
  1. แนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาว
  • การสร้างความรู้และความเข้าใจ การสร้างเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น
  • การปรับโครงสร้างป่า ด้วยการปลูกไม้ไม่ผลัดใบ
  • การสร้างเครือข่าย

มีผลงานตีพิมพ์ -

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

          แนวทางด้านการลดการเกิดไฟป่าและการฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าดอยพระบาทในระยะยาว และสร้างความร่วมมือผ่านเครือข่ายประชาชนในพื้นที่ 

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

          ชุมชน หมู่บ้าน พื้นที่โดยรอบดอยพระบาท จังหวัดลำปาง

 

Partners/Stakeholders

อุทยานแห่งชาติเขลางค์บรรพต

ผู้ดำเนินการหลัก
ผศ.ดร. ธรรมรัตน์ พุทธไทย
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
ดร.บริบูรณ์ บุญยู่ฮง / ดร.ไสว วังหงษา / นายชาญ อุทธิยะ และนางสาวดวงพร เกียรติดำรง