Water

มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว มีการมุ่งเน้นการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและการบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืน เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรและนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยนั้น หน่วยระบบน้ำและเครื่องกล งานสาธารณูปโภคและระบบอาคาร กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ควบคุมดูแลระบบน้ำประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบน้ำผิวดิน ระบบระบายน้ำฝน ระบบน้ำพุ ระบบดับเพลิง กังหันเติมอากาศ เครื่องกลเติมอากาศ และระบบเครื่องกล รวมถึงงานออกแบบปรับปรุงระบบประปาและสุขาภิบาล ระบบปรับอากาศ และระบบระบายอากาศ หน่วยระบบน้ำและเครื่องกลจึงได้สำรวจและดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำของมหาวิทยาลัยให้มีการใช้น้ำประปาได้อย่างต่อเนื่องและลดการสูญเสียน้ำประปา ตลอดจนให้ก้าวทันสู่ยุคดิจิทัล เพื่อความเชื่อมโยงตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล (Clean Water and Sanitation) สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน
การบริหารจัดการน้ำใช้
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีการใช้น้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค โดยวางระบบท่อจ่ายน้ำประปาเป็นระบบท่อวงจร (Ring Loop Pipe System) ให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย เพื่อกระจายแรงดันและเพิ่มเสถียรภาพของแรงดันในระบบการจ่ายน้ำ และสามารถควบคุมการเปิด-ปิดน้ำในแต่ละพื้นที่ได้ ในกรณีที่บางพื้นที่ต้องดำเนินการบำรุงรักษาและซ่อมแซมโดยที่ยังสามารถจ่ายน้ำให้ส่วนงานในพื้นที่อื่นๆ ได้

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการติดตั้งมาตรวัดน้ำประปาดิจิตอล จำนวน 90 จุด ครอบคลุมทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อใช้ในการติดตามและตรวจสอบข้อมูลปริมาณการใช้น้ำประปาผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งเป็นระบบติดตามที่มีแม่นยำ สามารถแจ้งเตือนหากมีการใช้ปริมาณน้ำที่ผิดปกติ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
water
water-digital-meter
water
water
จุดติดตั้งมาตรวัดน้ำประปาดิจิตอลภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
การบริหารจัดการน้ำผิวดิน
การใช้น้ำประปาในชีวิตประจำวันของบุคลากร และนักศึกษา ก่อให้เกิดน้ำเสีย โดยน้ำเสียจะถูกรวบรวมไปบำบัดและปล่อยน้ำที่ผ่านมาตรฐานลงสู่คูคลอง โดยงานสาธารณูปโภคและระบบอาคารมีการตรวจวัดน้ำผิวดินเป็นประจำทุกเดือน โดยวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ และค่าความเป็นกรด – ด่าง หากตรวจพบค่าเกินมาตรฐาน งานสาธารณูปโภคและระบบอาคารจะมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำผิวดินให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเสมอ
water
ระบบระบายน้ำ
มหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินโครงการจ้างลอกท่อระบบระบายน้ำฝนเป็นประจำทุก 2 ปี โดยดำเนินการลอกท่อตามรางดิน รางปูน ท่อระบายน้ำใต้ดิน และบ่อตะแกรงรับน้ำจากถนน เพื่อรองรับน้ำฝน และน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว โดยระบายออกจากพื้นที่สู่ภายนอกไม่ให้เกิดการท่วมขังของน้ำภายในมหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ยังมีสถานีสูบระบายน้ำฝน 3 สถานี ได้แก่ อาคารชลศาสตร์ 1 (ทิศเหนือ) อาคารวิศวกรรมศาสตร์ และอาคารชลศาสตร์ 2 (ทิศใต้) โดยในปี พ.ศ. 2564 ได้พัฒนาระบบสูบน้ำฝนเป็นระบบ Mahidol Monitoring System (MMS) เพื่อนำเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการติดตามข้อมูลวัดระดับน้ำภายในคลอง เพื่อป้องกันสถานการณ์น้ำท่วม ภัยแล้ง ซึ่งสามารถติดตามและตรวจสอบข้อมูลที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ข้อมูลจากการตรวจวัดสามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้เพื่อคาดการณ์ด้านน้ำท่วมและภัยแล้ง โดยข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนบริหารจัดการ และการตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดข้อมูลทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อพัฒนาคุณภาพที่ดีและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยมหิดลจึงดำเนินโครงการจัดซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์วัดระดับน้ำ และควบคุมสถานีสูบระบายน้ำฝน รับ-ส่งข้อมูลระยะไกล
water
ระบบบำบัดน้ำเสีย
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2523 ซึ่งมีจำนวนบุคลากร และนักศึกษา จำนวนน้อย จึงใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อผึ่ง ภายหลังบุคลากร และนักศึกษา เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และประกอบด้วยอาคารมากกว่า 80 อาคาร ได้แก่ อาคารเรียน หอพักนักศึกษา คอนโด โรงอาหาร มีบุคลากร และนักศึกษา มากกว่า 30,000 คน ทำให้ระบบบ่อผึ่งไม่สามารถรองรับน้ำเสียได้ จึงก่อให้เกิดน้ำเสียเป็นจำนวนมาก และน้ำเสียปนเปื้อนไหลลงแหล่งน้ำผิวดิน จึงมีการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Activated Sludge ขึ้นมาในปี พ.ศ.2555 โดยสามารถรองรับน้ำเสียได้ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน รวบรวมน้ำเสียจาก 17 หน่วยงาน
  • วิทยาลัยวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
  • หอพักนักศึกษากองกิจการนักศึกษา
  • ศูนย์การเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • วิทยาลัยนานาชาติ
  • คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • บัณฑิตวิทยาลัย
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
  • สถาบันโภชนาการ
  • สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน
  • สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
  • สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้
  • สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
  • อาคารนวัตกรรมชีวภัณฑ์มหิดล
water
หน่วยงานอื่นๆ นอกเหนือจากนี้จะมีระบบบำบัดน้ำเสียของตนเองเนื่องจากเป็นอาคารก่อสร้างใหม่ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อมจะมีการตรวจสอบติดตามคุณภาพน้ำผิวดินเป็นประจำทุกเดือนเพื่อให้มหาวิทยาลัยมหิดลมีทัศนียภาพที่สวยงาม และเพื่อสุขภาวะของบุคลากร และนักศึกษาที่ดี จึงมีการจัดการน้ำเสียอย่างถูกต้องตามกฎหมายกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยบุคลากร และนักศึกษาที่ต้องการติดตามผลคุณภาพน้ำสามารถเข้าสืบค้นข้อมูลได้ที่ https://op.mahidol.ac.th/pe/2018/3155/
water
water
water
ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดทุกเดือน โดยน้ำที่ผ่านระบบบำบัดต้องมีคุณภาพตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด (ประเภท ก.) ดังนี้
พารามิเตอร์ (รายการตรวจวัด) มาตรฐานกำหนด ผลการตรวจวัด
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) 5-9
บีโอดี (BOD) < 20 มก./ล.
สารแขวนลอย (Suspended Solid) < 30 มก./ล
สารที่ละลายได้ทั้งหมด (Total Dissolve Solid) < 500 มก./ล
ซัลไฟด์ (Sulfide) < 1.0 มก./ล.
ทีเคเอ็น (TKN) < 35 มก./ล.
น้ำมันและไขมัน (FOG) < 20 มก./ล.
ตะกอนหนัก (Settleable solids) < 0.5 มก./ล.
ระบบน้ำรีไซเคิล
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Activated Sludge ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดยสามารถผลิตน้ำรีไซเคิลได้วันละประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตร และในปี พ.ศ. 2562 มีโครงการวางท่อระบบจ่ายน้ำรีไซเคิล โดยนำน้ำที่ผ่านการบำบัดมาเติมไบโอคลอรีนในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนจ่ายน้ำให้หน่วยงาน ได้แก่ ระบบบำบัดน้ำเสีย ลานจอดรถบัส คณะสัตวแพทยศาสตร์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ โดยนำน้ำไปไช้รดน้ำตันไม้ ล้างเครื่องจักรอุปกรณ์ ล้างพื้นคอกม้า ล้างกรงสัตว์ และล้างรถบัส
ตลอดระยะเวลาเกือบ 6 ปี การใช้น้ำรีไซเคิลส่งผลให้มหาวิทยาลัยประหยัดการใช้น้ำประปา 57,735 ลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นจำนวนเงิน 1,313,471 บาท โดยสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการผลิตน้ำประปาจำนวน 31.23 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 6 การสร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน และ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 การบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ ผ่านการลดของเสียโดยกระบวนการ Reuse และ Recycle และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังที่กล่าวไปเบื้องต้นว่าช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการผลิตน้ำประปา
water


มาตรการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรน้ำและบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco-University) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ชาวมหิดลเกิดจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการลดการใช้น้ำประปา และจัดการน้ำเสียอย่างมีมาตรฐาน จึงมีมาตรการส่งเสริมการลดใช้ทรัพยากรน้ำ ดังนี้

1

ควบคุมมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคารของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย

โดยกำหนดค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) บีโอดี (BOD) สารแขวนลอย (Suspended Solid) ซัลไฟด์ (Sulfide) สารที่ละลายได้ทั้งหมด (Total Dissolved Solids) ตะกอนหนัก (Settleable Solids) น้ำมันและไขมัน (Fat Oil and Grease) และทีเคเอ็น (TKN) ตาม ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง มาตรการบริหารจัดการน้ำ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2563

2

วิเคราะห์คุณภาพน้ำระบบบำบัดน้ำเสียก่อนและหลังการบำบัดให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งทุกเดือน

3

ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช เพื่อไม่ให้สารเคมีไหลลงสู่คูคลองภายในมหาวิทยาลัย

4

ห้ามหน่วยงานปล่อยน้ำเสียออกสู่แหล่งน้ำผิวดินภายในมหาวิทยาลัย

หากมีการปล่อยน้ำเสียจะดำเนินการเก็บค่าบำบัดน้ำเสียตามอัตราค่าบริการและปรับผู้ปล่อยมลพิษทางน้ำ

5

รณรงค์และส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ

water
water



6

สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัย

เลือกใช้อุปกรณ์ที่ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูง รวมถึงจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่เน้นการประหยัดน้ำ หรือสินค้าที่มีนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์น้ำ




ปัจจุบันได้ดำเนินการเปลี่ยนอุปกรณ์ในห้องน้ำ ได้แก่ ก๊อกน้ำ ก๊อกน้ำอ่างล้างมือ โภสุขภัณฑ์ และโถปัสสาวะ เป็นอุปกรณ์ประเภทประหยัดน้ำหรือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วร้อยละ 71.8 จากอุปกรณ์ทั้งหมด 12,607 (9,052 จากอุปกรณ์ทั้งหมด 12,607)



7

ส่งเสริมให้มีการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ล้างรถ รดน้ำต้นไม้


8

ตรวจสอบท่อน้ำรั่วซึม ท่อแตก เป็นประจำ และดำเนินการซ่อมทันที

โดยมหาวิทยาลัยมีระบบน้ำประปาดิจิตอล เพื่อใช้ตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำในแต่ละจุด รวมทั้งตรวจสอบสถานะการทำงานของมาตรวัดน้ำ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบการทำงานได้ตลอดเวลาจากระบบออนไลน์ ซึ่งหากมีการทำงานที่ผิดปกติ เช่น ท่อน้ำรั่วซึม ท่อแตก ระบบจะแสดงการแจ้งเตือนทันที จากนั้นเจ้าหน้าที่จะเข้าพื้นที่ไปตรวจสอบหรือซ่อมแซมในจุดนั้นๆ ทันที




9

กำหนดมาตรการใช้น้ำตามความจำเป็นเพื่อเตรียมการรับมือในภาวะวิกฤติและภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ตู้น้ำดื่ม
โครงการติดตั้งตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ บริเวณพื้นที่ส่วนกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นการดำเนินโครงการที่ส่งเสริมให้บุคลากร นักศึกษา มีความตระหนักและเห็นคุณค่าในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการลดการใช้ภาชนะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยพกแก้วหรือกระบอกน้ำแทน ตลอดจนเป็นการสร้างสภาวะแวดล้อมและสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรนำแก้วส่วนตัวมากดน้ำดื่มจากตู้กดน้ำระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะขวดพลาสติกจากการซื้อน้ำบริโภค และช่วยลดการสัมผัสของผู้ใช้งานทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อ อีกทั้งยังช่วยให้นักศึกษาและบุคลากรได้ดื่มน้ำดื่มที่มีคุณภาพ ถูกสุขอนามัย
water
โดยตู้กดน้ำดังกล่าวจะใช้ระบบ UF+UV ที่สามารถกรองแบคทีเรียและจุลินทรีย์ได้อย่างสมบูรณ์ และยังคงรักษาแร่ธาตุต่าง ๆ ไว้ ซึ่งไส้กรองน้ำได้รับรองมาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มจากสถาบัน NSF (National Sanitary Foundation) โดยได้ติดตั้งในบริเวณพื้นที่อาคารส่วนกลางหรือที่นักศึกษาและบุคลากรเข้ามาใช้งานเป็นส่วนใหญ่ จำนวน 12 จุด ดังนี้
1. อาคารสิริวิทยา จำนวน 2 จุด
2. อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล จำนวน 4 จุด
3. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ จำนวน 1 ตู้
4. อาคารสำนักงานอธิการบดี จำนวน 2 จุด
5. หอพักนักศึกษา จำนวน 2 จุด
6. หอสมุดและคลังความรู้ จำนวน 1 จุด
  • water
  • water
  • water
water
water
water
water
water