Transportation

ระบบขนส่งและคมนาคม
สาธารณะที่ยั่งยืน
คือการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและก่อให้เกิดมลพิษน้อยที่สุด และยังจำเป็นต้องครอบคลุมในสิ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึง ความเสมอภาคทางสังคม ความยั่งยืนทางนิเวศวิทยา สุขภาพและความปลอดภัย การมีส่วนร่วมของประชาชน ความประหยัด สารสนเทศ และการสนับสนุน
transportation
มหาวิทยาลัยได้เริ่มการบริหารจัดการระบบขนส่งและคมนาคมที่ยั่งยืน ตั้งแต่การวางผังแม่บทมหาวิทยาลัย ปี 2551 ที่กำหนดแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกายกายภาพเพื่อให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีลักษณะทางกายภาพที่ตอบสนองสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน มีความปลอดภัย ส่งเสริมสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดี และลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม โดยการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยจากเดิมที่มีพื้นที่เส้นทางการสัญจรของรถยนต์ขนาดใหญ่มาเป็นพื้นที่เพื่อคนเดินและจักรยาน ซึ่งเป็นยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล สำหรับให้นักศึกษา บุคลากร รวมถึงบุคคลภายนอก ได้ใช้ประโยชน์ในการออกกำลังกายด้วยการเดิน และการขี่จักรยาน รวมถึงการให้บริการสำหรับการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยด้วยระบบที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency) ซึ่งหมายถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ช่วยทำให้ใช้พลังงานน้ำมันสำหรับการเผาไหม้น้อยลง โดยสนับสนุนให้ใช้ยานพาหนะที่ใช้พลังงานสะอาด ที่มีบริการของสถานีรถราง ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางในการให้บริการรถรางไฟฟ้า ที่ครอบคลุมการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย บริการรถ Shuttle Bus ซึ่งเป็นยานพาหนะสาธารณะเพื่อส่งเสริมการร่วมโดยสารไปในเส้นทางเดียวกัน เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ที่ให้บริการรับ – ส่ง บุคคลากร และนักศึกษา ระหว่างวิทยาเขต บริการของศูนย์ Jakka center เพื่อส่งเสริมการใช้ยานพานะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นศูนย์ครบวงจรในการให้บริการเกี่ยวกับจักรยาน ซึ่งสอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well- being) เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ (Affordable and Clean Energy) เป้าหมายที่ 11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
transportation
ความปลอดภัย ของการสัญจร
ปัญหาสภาพการจราจรในมหาวิทยาลัยมหิดลนั้น นอกจากจะทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสัญจรไปมาอย่างยากลำบากแล้ว ยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั่วโมงเร่งด่วน ถึงแม้ว่ามหาวิทยาลัยมหิดลจะมีการใช้มาตรการจำกัดความเร็ว แต่ก็ยังมีผู้ฝ่าฝืน ทั้งปัญหาการที่จอดรถก็ยังเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อระบบจราจรภายในพื้นที่ เช่น การจอดรถในที่ห้ามจอด การจอดรถซ้อนคัน และการจอดรถไม่เป็นระเบียบส่งผลเกิดความแออัดที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงปัญหาด้านการจราจร จึงได้เลือกใช้ป้ายจราจร ป้ายเตือน ตลอดจนประกาศมหาวิทยาลัยว่าด้วยกฎจราจรภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล หรือชั่วโมงเร่งด่วนเปิดประตูในการเข้าทุกช่องทาง พร้อมบริหารจัดการด้วยพนักงานรักษาความปลอดภัย (07.00-09.00 น.) ที่คอยกำกับ -ควบคุมการสัญจรในพื้นที่ การติดตั้งกล้องวงจรปิดตามจุดต่างๆโดยรอบมหาวิทยาลัย พร้อมระบบควบคุมบริหารจัดการรวมถึงการจัดทำคู่มือด้านการจราจร เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจในกฎ ระเบียบ ด้านการจราจรภายในพื้นที่ ของมหาวิทยาลัย และการจัดเก็บรวบข้อมูลการจราจรทั้งหมด การรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย รวมทั้งสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนถนนภายในมหาวิทยาลัย โดยมีการตั้งเป้าหมายลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรให้เป็นศูนย์
transportation_graph_01_th.jpg
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีโครงการรณรงค์การสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ พร้อมทั้งอบรมให้ความรู้ในการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างเหมาะสมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามประกาศ หลักเกณฑ์การสวมหมวกนิรภัยในการใช้รถจักรยานยนต์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พ.ศ. 2565 และการปรับสภาพแวดล้อมบนท้องถนนภายในมหาวิทยาลัยมหิดลให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้ถนนและผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และรถยนต์ ซึ่งช่วยปรับสภาพแวดล้อมบริเวณทางข้ามให้มองเห็นได้ชัดเจนทั้งคนข้ามถนนและผู้ขับขี่ จึงสามารถป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนได้ สอดคล้องกับผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ปี พ.ศ.2551 ที่กำหนดแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกายกายภาพจากการเน้นการสัญจรทางรถมาเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อคนเดินและจักรยาน

สร้างเส้นทางเพื่อการเรียนรู้กฎจราจรและความปลอดภัยเรียกว่าบลูสตรีท (Blue Street) ในปี พ.ศ.2561 เชื่อมไปยังสนามเด็กเล่นและสวนสาธารณะ Salaya Park ภายใต้การ ดูแลของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กและ เยาวชนพร้อมปลูกฝังพฤติกรรมด้านความปลอดภัย โดยถนนจะมีป้ายสัญลักษณ์และเครื่องหมายจราจรตลอด เส้นทาง เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้กฎจราจรและความปลอดภัยในการใช้ถนนและทางเท้าอย่างถูกต้อง รวมถึงผู้ใช้เส้นทางภายในมหาวิทยาลัยใช้เส้นทางอย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าการปลูกฝังเหล่านี้ จะสามารถให้เยาวชนเข้าใจในเรื่องของความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
transportation
ถนนคนเดิน
ผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ปี พ.ศ. 2551 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกายกายภาพเพื่อให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีลักษณะทางกายภาพที่ตอบสนองสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน โดยการเปลี่ยนมหาวิทยาลัยที่เน้นการสัญจรทางรถมาเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อคนเดินและจักรยาน มุ่งส่งเสริมวัฒนธรรมที่นอบน้อมต่อธรรมชาติ ตามแนวนโยบาย “A Promised Place to Leave and Learn with Nature” โดยได้วางหลักในการพัฒนาระบบสัญจร ระบบถนนและที่จอดรถ ระบบทางจักรยาน และระบบทางเดินเท้า ให้สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) ซึ่งประกอบด้วย
      - ความปลอดภัย (Safety)
      - ความเป็นระเบียบเรียบร้อย (Tidiness)
      - ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmentally Sound)
      - ความพึงพอใจของชุมชน (Community Satisfaction)
จึงได้มีโครงการปรับปรุงถนนสายหลักรอบพื้นที่การศึกษา เพื่อเปลี่ยนเป็นเส้นทางเดินเท้าและทางจักรยาน โดยคิดเป็นพื้นทีทางเดินเท้าทั้งหมด 51,133 ตารางเมตร พื้นที่ทางจักยาน 24,586 ตารางเมตร เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร ได้ออกกำลังกายด้วยการขี่จักรยาน หรือใช้เป็นลู่วิ่งออกกำลังกาย เพิ่มโอกาสในการเดินเท้า พบเจอและทักทายกัน มีต้นไม้ปลูกให้ร่มเงา รวมถึงเกิด Green Lifestyle จากการมีพื้นที่ใหม่ ๆ ทำให้จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เช่น งานถนนคนเดิน ที่เพิ่มสีสันและความหลากหลายให้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
  • transportation
  • transportation
  • transportation
  • transportation
transportation
แนวทางการออกแบบ
transportation
ลดความสำคัญของการสัญจรทางรถยนต์ถนนหลักเดิมมีช่องทางการจราจรข้างละ 3 ช่องทาง รวมเป็น 6 ช่องทางให้เหลือความกว้างเพียง 3 ช่องทางการจราจร และไม่มีเกาะกลาง โดยปรับปรุงพื้นผิวเดิมมาเป็นพื้นผิวสำหรับรถจักรยานและทางเดิน พร้อมภูมิทัศน์ที่ร่มรื่น ทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากแนวของพืชพรรณต่าง ๆ และต้นไม้ เป็นตัวแบ่งพื้นที่ระหว่างคนเดินกับการสัญจรของยานพาหนะ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน
transportation
มีการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ของเส้นทาง เช่น ม้านั่ง จุดรอรถราง ที่จอดจักรยาน สอดแทรกอยู่ระหว่างพื้นที่ร่มเงา เพื่อให้กลมกลืนไปกับภูมิทัศน์โดยรอบ เป็นระเบียบเรียบร้อย และไม่กีดขวางทางหรือเป็นอุปสรรคต่อผู้ใช้งาน และเป็นการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการใช้พื้นที่ร่วมกันที่หลากหลาย สร้างความมีชีวิตชีวาให้กับพื้นที่
transportation
การออกแบบพื้นผิวทางเดินและอุปกรณ์ประกอบถนน (Street Furniture) คำนึงถึงหลักการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) โดยมีลักษณะทางกายภาพที่เอื้อต่อการใช้งาน เช่น พื้นผิวเรียบไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานรถเข็นผู้พิการ มีสัญลักษณ์หรือพื้นผิวต่างสัมผัสบริเวณทางลาดทางแยก ระยะความสูงของม้านั่งพอเหมาะ มีพื้นที่ว่างสำหรับรถเข็นผู้พิการ
ทางลาด และ Cover way
มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี การจัด Facility ต่าง ๆ ตามหลักการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) เพื่อรองรับนักศึกษา บุคลากร บุคคลภายนอก รวมถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายที่เข้ามาใช้พื้นที่ ในทุกเพศทุกวัย ให้ได้รับความสะดวกสบายและเข้าถึงการบริการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 3 (Good Health and Well- being), เป้าหมายที่10 (Reduced Inequalities) และ เป้าหมายที่ 11 (Sustainable Cities and Communities) โดยมหาวิทยาลัยฯ จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้แก่ ที่จอดรถ ทางลาด ป้ายสัญลักษณ์ ห้องน้ำ และการบริการข้อมูล สำหรับอาคารสาธารณะส่วนกลาง เช่น อาคารสำนักงานอธิการบดี อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล อาคารมหิดลสิทธาคาร และอาคารสิริวิทยา รวมถึงบริเวณสถานีสถานีรถรางและสถานี รถ Shuttle Bus (Bus Terminal) ด้วยเช่นกัน
transportation
ในส่วนของพื้นที่ทางสัญจรส่วนกลางได้มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ดังนี้
ทางเท้าของถนนสายหลักรอบพื้นที่การศึกษาและทางเดินมีหลังคาคลุม (Cover way)
ทางเท้ามีความกว้างตั้งแต่ 1.50 – 5.50 เมตร ลักษณะพื้นผิวทางเท้าเรียบเสมอกัน ไม่ลื่น ไม่มีสิ่งกีดขวางที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อคนพิการ บริเวณทางเท้าทางจักรยานถนนสายหลักมีที่นั่งพักตลอดแนวทางเดิน สองฝั่ง สำหรับให้คนทั่วไปและคนพิการสามารถใช้ร่วมกันได้ โดยบริเวณจุดนั่งพักมีพื้นที่เพียงพอสำหรับจอดรถวีลแชร์โดยไม่กีดขวางทางสัญจร
ทางลาด จัดให้มีทางลาดในบริเวณพื้นที่ต่างระดับ เช่น บริเวณทางลงทางข้ามถนนและทางข้ามทางม้าลาย พื้นผิวเป็นวัสดุที่ป้องกันการลื่นไถล โดยทางลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า 0.90 เมตร และมีความลาดเอียงไม่เกิน 1 : 12 ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง
พื้นผิวต่างสัมผัส พื้นทางเดินจัดให้มีพื้นผิวสัมผัสและสี ซึ่งมีความแตกต่างไปจากบริเวณข้างเคียง เช่น ในบริเวณก่อนทางขึ้นและทางลงของทางลาด บริเวณที่เป็นทางแยกหรือทางเลี้ยว บริเวณพื้นต่างระดับ ป้ายรอรถราง นอกจากนั้นบริเวณถนนผสานเทศไทยยังได้จัดให้มีพื้นที่ผิวต่างสัมผัส บริเวณลงทางลาดทางม้าลายเป็นทางข้ามสำหรับคนพิการ เพื่อเตือนให้คนพิการทางสายตา ทราบถึงตำแหน่งทางลาด ทางแยก ทางเลี้ยว และทางข้ามถนน
ป้ายและสัญลักษณ์จราจร การติดตั้งป้ายบอกทางและป้ายสัญลักษณ์จราจรบนทางเท้า กำหนดให้มีความสูงจากพื้นทางเดินไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เพื่อป้องกันกระทบศีรษะ ติดตั้งป้ายอยู่ในแนวเดียวกันเพื่อไม่ให้กีดขวางทางเดิน และมีสัญลักษณ์คนพิการบนทางลาดลงทางม้าลายข้ามถนนผสานเทศไทย
Cover way สะพานดาว
เป็นทางเดินแบบมีหลังคาคลุม (Cover Way) และสะพานลอยข้ามถนนบรมราชนนี เชื่อมพื้นที่มหาวิทยาลัยทั้ง 2 ฝั่ง คือพื้นที่วิทยาลัยราชสุดาและพื้นที่การศึกษาหลักเข้าด้วยกันมีความกว้าง 2.30 เมตร มีพื้นผิวเรียบเสมอกัน ทำให้ไม่เป็นอุปสรรคในการสัญจรของคนพิการทุกประเภท บริเวณทางแยกทางเลี้ยวมีการติดตั้งพื้นผิวต่างสัมผัสสำหรับคนพิการสายตาและติดตั้งกระจกสะท้อนเพื่อให้คนพิการทางการได้ยินใช้เป็นสื่อสัมผัสการมองสภาพการสัญจร บริเวณทางลาดขึ้นและลงของสะพานข้ามถนนบรมราชนนี มีความชันไม่เกิน 1 : 12 และทุกช่วงความยาว 6.00 เมตร มีชานพักยาวไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร พร้อมติดตั้งราวกันตกทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง
transportation
รถรางพลังงานไฟฟ้า (Electric Tram)
มหาวิทยาลัยมหิดล มีการให้บริการรถโดยสารสาธารณะภายในมหาวิทยาลัย คือ สถานีรถราง ที่เป็นศูนย์กลางในการให้บริการรถรางไฟฟ้าสาธารณะ (Electric Tram) ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ลดการเกิดมลพิษและส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดที่ยั่งยืน รถรางไฟฟ้าบริการมีขนาด 28 ที่นั่ง จำนวนทั้งหมด 16 คัน แบ่งออกเป็น 4 สาย เส้นทางหลักที่ครอบคลุมทั่วทั้งมหาวิทยาลัย มีรูปแบบโดดเด่นและลวดลายสีสันที่สวยงาม ให้บริการโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ
transportation
transportation
โดยการให้บริการตามปกติของมหาวิทยาลัย มีรถรางไฟฟ้าทั้งหมด 16 คัน โดยบริการแบ่งเป็น 4 สาย (สาย1 สีเขียว สาย2 สีน้ำเงิน สาย3 สีแดง สายMLC สีเหลือง) ครอบคลุมพื้นที่วิทยาเขต ศาลายา ทุกวันตั้งแต่ช่วงเวลา 08.00 – 20.00 น. โดยจะแบ่งรายละเอียดรอบวิ่งตามรูปภาพประกอบรายละเอียดการวิ่งให้บริการ
สายสีเขียว
บ้านมหิดล – สวนเจ้าฟ้า – คณะวิทยาศาสตร์ – ลานมหิดล – คณะสังคมศาสตร์ฯ – วิทยาลัยนานาชาติ – สำนักงานอธิการบดี – คณะวิศวกรรมศาสตร์ – คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร – หอสมุด – คณะสิ่งแวดล้อมฯ – สถาบันวิจัยโภชนาการ – วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา – อาคารอเนกประสงค์ (โรงยิม) – บ้านมหิดล (เส้นทางเดินรถรางสายสีเขียว)
สายสีน้ำเงิน
บ้านมหิดล – อาคารอนุรักษ์ – ลานจอดรถ4 – คณะสัตวแพทย์ – สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว – คอนโด – สนามฟุตบอล3 – คณะศิลปศาสตร์ – คณะกายภาพบำบัด – โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี – คณะเทคนิคการแพทย์ – สถาบันวิจัยประชากรและสังคม – สถาบันโมเลกุล – ประตู3 – สำนักงานอธิการบดี – สถาบันอาเซียน – เรือนไทย -สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ลานจอดรถ2 – อุทยานสิรีรุกชาติ – ลานจอดรถ5 – บ้านมหิดล (เส้นทางเดินรถรางสายสีน้ำเงิน)
สายสีแดง
บ้านมหิดล – สวนเจ้าฟ้า – คณะวิทยาศาสตร์ – เรือนศิลปิน – วิทยาลัยดุริยางค์ – ลานจอดรถ2 – ลานมหิดล – คณะสังคมศาสตร์ – วิทยาลัยนานาชาติ – สำนักงานอธิการบดี – คณะวิศวกรรมศาสตร์ – แปลงผักปลอดสารพิษ – โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี – หอพักพยาบาลรามาธิบดี – คอนโด – สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว – วิทยาลัยศาสนศึกษา – สนามเปตอง – อาคารอเนกประสงค์ (โรงยิม) – บ้านมหิดล (เส้นทางเดินรถรางสายสีแดง)
สายสีเหลือง
อาคารศูนย์การเรียนรู้ – คณะวิทยาศาสตร์ – เรือนศิลปิน – วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ – ลานจอดรถ2 – ลานมหิดล – คณะสังคมศาสตร์ – วิทยาลัยนานาชาติ – สำนักงานอธิการบดี – วิทยาลัยนานาชาติ (อาคารอาทิตยาทร) – คณะพยาบาลศาสตร์ – สถาบันสุขภาพอาเซียน – เรือนไทย – ศูนย์ศาลายา – ลานจอดรถ2 – อาคารศูนย์การเรียนรู้ (เส้นทางเดินรถรางสายสีเหลือง)
transportation
รถบัสสาธารณะ
ในปี พ.ศ.2561 มหาวิทยาลัยได้มีนโยบาย“ขึ้นรถรางต่อรถบัส” เพื่อให้อำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าและออก การสัญจรไปมาระหว่างส่วนงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดลให้แก่นักศึกษา บุคลากร ตลอดจนบุคคลภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการร่วมโดยสารไปในเส้นทางเดียวกัน ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง จึงได้มีบริการรถบัสสาธารณะ รับ-ส่ง บุคลากร นักศึกษา ระหว่างวิทยาเขต โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนาตามนโยบายลดการปล่อยมลพิษ ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถโดยลดระยะทางของ Shuttle Bus ที่มีการวิ่งวนในมหาวิทยาลัย เดิมรวมระยะทางเกือบ 10 กิโลเมตร ให้ลดลงเหลือแค่ไม่เกิน 2 กิโลเมตร และได้จัดสร้างจุดศูนย์กลางในการให้บริการ Shuttle Bus เพียงจุดเดียว โดยใช้รถรางไฟฟ้าในการอำนวยความสะดวกเชื่อมต่อมายังจุดให้บริการรถบัส เป็นการลดการปล่อยมลพิษและลดค่าใช้จ่ายจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนมาก
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลมีบริการรถ Shuttle Bus จำนวนทั้งหมด 17 คัน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 40 ที่นั่ง ที่ให้บริการรับ – ส่ง บุคคลากร และนักศึกษา ระหว่างวิทยาเขตต่าง ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และบริการ Salaya link ที่บริการรับ – ส่ง บุคคลากร และนักศึกษา ระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานีรถไฟฟ้าบางหว้า
transportation
บริการรถบัสรับ-ส่ง จำนวนเที่ยว/วัน จำนวนเที่ยว/ปี
วิทยาเขตศาลายา – คณะวิทยาศาสตร์ 35 8,400
วิทยาเขตพญาไทย (คณะวิทยาศาสตร์) – โรงพยาบาลศิริราช 14 3,360
วิทยาเขตศาลายา – คณะสาธารณสุขศาสตร์ 6 1,440
วิทยาเขตศาลายา – โรงพยาบาลศิริราช 20 4,800
วิทยาเขตศาลายา – ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก 20 4,800
สายนครปฐม (วิทยาเขตศาลายา – นครปฐม) 2 480
สายบางบัวทอง (วิทยาเขตศาลายา – บางบัวทอง) 2 480
สายกระทรวงสาธารณสุข (วิทยาเขตศาลายา – กระทรวงสาธารณสุข) 2 480
สายบางแค (วิทยาเขตศาลายา – โรงพยาบาลศิริราช) 2 480
Salaya Link (วิทยาเขตศาลายา - BTS บางหว้า) 14 3,360
จำนวนการให้บริการทั้งหมด 117 28,080
หมายเหตุ: จำนวนเที่ยวให้บริการต่อปี ประเมินจากวันให้บริการจำนวนวันทำงาน 240 วันต่อปี
วิถีจักรยาน วิถีมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล
(Cycling : Mahidol Lifestyle)
มหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการจัดงานโครงการวิถีจักรยาน วิถีมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานเป็นการสัญจรหลัก ลดการใช้เครื่องยนต์ซึงทำให้เกิดคาร์บอนและมุ่งส่งเสริมการอยู่ดีมีสุข สุขภาพกาย สุขภาพใจ การป้องกันโรค การพัฒนาความเชื่อมโยงทางสังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกในท้องที่ให้ดียิ่งขึ้น โดยใช้ชื่อที่ว่า “Jakka center” ประกอบด้วย การจัดตั้งศูนย์จักรยานที่ครบวงจร ในการซ่อมบำรุงและเช่ายืมเพื่อเรียนรู้การใช้จักรยานก่อนซื้อ และการปรับสภาพพื้นที่ทั่วทั้งพื้นที่ของวิทยาเขตให้เหมาะสมต่อการปั่นจักรยาน กิจกรรมส่งเสริมการปั่นจักรยาน และหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้อง สำหรับกิจกรรมดังกล่าวได้จัดขึ้น ณ พื้นที่วิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล
transportation
transportation
transportation
การจัดตั้งศูนย์ Jakka center โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นศูนย์ครบวงจรในการให้บริการเกี่ยวกับจักรยาน ทั้งการซ่อมบำรุง การสูบลมยาง การซื้ออะไหล่ รวมถึงให้บริการยืมจักรยานสาธารณะโดย ไม่คิดค่าใช้จ่าย และมีการซ่อมบำรุงให้พร้อมใช้งาน Jakka center ให้บริการแก่ทั้งนักศึกษา บุคลากรและบุคคลภายนอก ตั้งแต่เวลา 07.00น. – 19.00 น. ทุกวันไม่มีวันหยุด
การปรับพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการใช้งานจักรยานโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน คือการเปลี่ยนถนนให้เป็นพื้นที่กิจกรรมบริเวณส่วนกลางของมหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่กว่า 2.4 กิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนสายหลักโดยเพิ่มต้นไม้เพื่อเพิ่มร่มเงาและการกักเก็บคาร์บอน โดยไม่อนุญาตให้รถยนต์เข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนถนนสายรองก็ใช้วิธีการประยุกต์ให้เหมาะสมตามพื้นที่ เช่น การแบ่งถนนสัญจรและใช้สีทาทางจักรยานตามหลักสากล ซึ่งจะมีกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาในการทาสีเมื่อเส้นทางจักรยานมีการเสื่อมสภาพ เพื่อเป็นการปลูกฝั่งค่านิยมความเรื่องเกี่ยวกับจักรยานของมหาวิทยาลัย อีกทั้งมีบริการที่จอดจักรยานเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทั่วทั้งทหาวิทยาลัย
นอกจากโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและการบริการ ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการปั่นจักรยาน เช่น กิจกรรม Rally หลักสูตรการเรียนการสอนเป็นวิชาทางเลือกโดยเป็นการสอนพื้นฐานทั้งหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – ถึงปัจจุบัน และมีโครงการลงทะเบียนจะจักรยานส่วนบุคคลเพื่อจัดเก็บข้อมูลจักรยานในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการจักรยาน รวมถึงกรณีที่เกิดเหตุไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ช่วยเพิ่มในเรื่องความปลอดภัยและส่งเสริมการปั่นจักรยานมากขึ้น
การให้บริการในปัจจุบัน ก็ยังคงดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับจักรยานอย่างต่อเนื่อง โดยมี Jakka center เป็นศูนย์กลาง โดยยังให้บริการเกี่ยวกับจักรยานอย่างครบถ้วน ทั้งจำหน่าย ซื้อ- ขาย และซ่อมบำรุง อีกทั้งยังคงบริการจักรยานสาธารณะแก่ทั้งนักศึกษา บุคลากรและบุคคลภายนอก ตั้งแต่เวลา 07.00น. – 19.00 น. ทุกวันไม่มีวันหยุด
transportation
transportation