ความปลอดภัยในการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินโครงการรณรงค์การสวมหมวกกนิรภัย ปรับสภาพแวดล้อมบนท้องถนนโดยทาทางข้ามถนนสายหลักและถนนสายรองภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้ถนนและผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์

มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนดมาตรการความปลอดภัยบนถนนภายในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยดำเนินการตาม ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง กฎจราจรภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พ.ศ. 2564 ที่กำหนดให้ผู้ขับขี่ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ปฏิบัติตามคู่มือการจราจรภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลาลายา การเข้า-ออก กำหนดการเข้า-ออกมหาวิทยาลัยได้ตามเวลาเปิด-ปิดประตูที่กำหนด กำหนดการขับขี่ภายในมหาวิทยาลัยให้ขับขี่ได้เฉพาะบนพื้นผิวจราจรโดยขับขี่ความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และไม่ขับขี่ในลักษณะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นหรืออาจเป็นอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน เป็นต้น

คู่มือการจราจรภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลาลายา ประกอบด้วย

  • กฎจราจรเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการขับรถสวนทางกัน  การขับรถผ่านทางร่วมทางแยก การขับรถผ่านวงเวียน
  • เครื่องหมายควบคุมการจราจรในพื้นที่มหาวิทยาลัย
  • ป้ายจราจรที่ควรรู้ในพื้นที่
  • การหยุดรถและการจอดรถ
  • สาระน่ารู้เมื่อต้องขับขี่ยานพาหนะภายในมหาวิทยาลัย
  • การป้องกันอุบัติเหตุการจราจรของการเดินถนน การข้ามถนน

นอกจากนี้ ด้วยปริมาณรถจักรยานยนต์ที่สัญจรภายในมหาวิทยาลัยมีจำนวนมาก ซึ่งมีผู้ขับขี่ทั้งที่เป็นนักศึกษา บุคลากร บริษัทผู้รับจ้าง และจักรยานยนต์รับจ้างจากภายนอก จึงให้ความสำคัญกับการสวมหมวกนิรภัยเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะและใบหน้า ซึ่งช่วยลดอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุได้ จึงกำหนด ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การสวมหมวกนิรภัยในการใช้รถจักรยานยนต์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พ.ศ. 2565 ที่กำหนดให้พื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นเขตสวมหมวกนิรภัยและกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติการสวมหมวกนิรภัย โดยมหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินโครงการรณรงค์การสวมหมวกกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2556 ตามมติคณะรัฐมนตรีที่สนับสนุนแนวทางการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2554-2563 และลดอุบัติเหตุและความสูญเสียด้านทรัพย์สินและชีวิตที่เกิดจากรถจักรยานยนต์ ซึ่งการสวมหมวกนิรภัยสามารถป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะและใบหน้า ช่วยลดอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุ และหมวกกนิรภัยที่ได้มาตรฐานจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยระหว่างขับขี่จากการเพิ่มทัศนวิสัยที่ดีขึ้นและป้องกันจากสภาพอากาศได้

ความปลอดภัยบนท้องถนนมีความสำคัญอย่างมาก จึงได้มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความปลอดภัยเป็นประจำ อาทิ

ในปีงบประมาณ 2567 มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ห้ามรถจักรยานยนต์วิ่งบนถนนสายดีในงาน "รับน้องเข้าบ้าน" เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2567 ณ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจด้านการขับขี่และปลอดภัยในการใช้ชีวิตภายในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา และความรู้ด้านต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับนักศึกษาใหม่ เช่น กฎข้อบังคับในการขับขี่ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย ช่องทางการติดต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน การให้บริการของกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม/งานจราจรและความปลอดภัย และสถานที่ติดต่อประสานงาน และรณรงค์ทุกวันโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัยไม่เว้นวันหยุดราชการหลังจากเปิดการศึกษาใหม่เพื่อห้ามรถยนต์และจักรยานยนต์สัญจรบริเวณถนนที่กำหนดให้ใช้เพื่อการเดิน การปั่นจักรยาน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษา รวมถึงรณรงค์สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่จักรยานยนต์

 

ในปีงบประมาณ 2566 กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการใช้หมวกนิรภัยในกลุ่มผู้ขับขี่จักยานยนต์ภายในมหาวิทยาลัย และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยบนท้องถนนภายในมหาวิทยาลัยมหิดลอย่างต่อเนื่อง อาทิ

  • การอบรมภายใต้โครงการ "ขับขี่ปลอดภัย" ที่อบรมให้ความรู้ในการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างเหมาะสมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดย สถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งอบรมให้กับนักศึกษา บุคลากรและบริษัทผู้รับจ้างที่ปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ณ ห้องบรรยาย 133 อาคารสิริวิทยา นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับบริษัทโตโยต้า ท่าจีน บริการตรวจสอบสภาพรถยนต์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จำนวน 24 รายการ เช่น ระบบส่องสว่าง สภาพยางรถยนต์ เข็มขัดนิรภัย เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากสภาพรถยนต์

  

  • กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เชิญชวนนักศึกษาส่งภาพถ่ายภายใต้โครงการ "กันน็อค กันภัย" ที่แสดงถึงการสวมหมวกกนิรภัยของนักศึกษา โดยมีนักศึกษาที่ส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 53 คน ซึ่งจะได้รับชั่วโมงกิจกรรมเสริมหลักสูตร (Activity Transcript: AT) ด้านทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) จำนวน 5 ชั่วโมง และกิจกรรมด้านจิตอาสา (Volunteer)  จำนวน 3 ชั่วโมง พร้อมรับหมวกนิรภัย

    

  • การตั้งด่านตรวจสอบผู้ไม่สวมหมวกนิรภัยในแต่ละเดือนในพื้นที่
  • การเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
  • การปรับสภาพแวดล้อมบนท้องถนนภายในมหาวิทยาลัยมหิดลให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้ถนนและผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และรถยนต์ โดยได้รับสนับสนุน "สี" จากบริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566 จำนวน 166 แกลลอน สำหรับทาทางข้ามถนนสายหลักและถนนสายรอง ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย จำนวน 23 จุด ซึ่งช่วยปรับสภาพแวดล้อมบริเวณทางข้ามให้มองเห็นได้ชัดเจนทั้งคนข้ามถนนและผู้ขับขี่ จึงสามารถป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนได้ และสอดคล้องกับผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ปี พ.ศ.2551 ที่กำหนดแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกายกายภาพจากการเน้นการสัญจรทางรถมาเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อคนเดินและจักรยาน

   

 

 

กรณีเกิดอุบัติเหตุ

สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่รักษาควาามปลอดภัยประจำจุด หรืองานจราจรและความปลอดภัย โทรศัพท์ 02-441-4400 ซึ่งจะมีขั้นตอนการประสานงานตามความรุนแรงของเหตุการณ์ คือ สถานการณ์เจ็บป่วยทั่วไป จะแจ้งประสานงานรถจัดส่งผู้ป่วยเพื่อนำส่งศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก หรือโรงพยาบาลพุทธมณฑล สถานการณ์ร้ายแรง จะแจ้งประสานงานสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หมายเลข 1669 ซึ่งระหว่างนั้น ทางงานจราจรและความปลอดภัย กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม จะอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ ประเมินอาการพร้อมปฐมพยาบาลเบื้องต้นควบคู่กับหน่วยบริการสุขภาพ กองกิจการนักศึกษา ซึ่งมีมาตรการปฏิบัติฉุกเฉินในเหตุบาดเจ็บบนถนน ดังนี้

  • เจ้าหน้าที่เข้าถึงที่เกิดเหตุภายใน 10 นาที
  • ดำเนินการจำกัดพื้นที่ที่เกิดเหตุเพื่อความปลอดภัย
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดพร้อมภาพประกอบ
  • ประเมินอาการของผู้เกิดอุบัติเหตุ
  • ติดต่อวิทยุสื่อสารขอความช่วยเหลือรถกู้ชีพและนำเส้นทางถึงผู้เกิดเหตุเพื่อนำส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงให้เร็วที่สุด (ขึ้นกับอาการและความรุนแรง)

 

Partners/Stakeholders

-

ผู้ดำเนินการหลัก
งานจราจรและความปลอดภัย
ส่วนงานหลัก