Good Health and Well-Being

สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย

มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยได้ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีส่วนช่วยในการพิจารณาการรักษาโรคและให้ความรู้ทางด้านสุขภาพแก่ประชาชน และในแต่ละปีมหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณทิตทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และมีโรงพยาบาลในสังกัดถึง 8 แห่งที่พร้อมให้การดูแลรักษาประชาชน ครอบคลุมในทุกโรค โดยได้ให้การรักษาผู้ป่วยในระยะเวลา 2 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 - 2564) แบ่งเป็นผู้ป่วยนอก 11,766,282 ราย ผู้ป่วยใน 284,931 ราย ผู้ป่วยทันตกรรม 1,094,908 ราย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2564 ไปกว่า 4,213,371,169.45 บาท ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มสิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาลให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น นอกจากการรักษาพยาบาล มหาวิทยาลัยยังมีศูนย์วิจัยโรคเฉพาะทางหลากสาขา เช่น ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ศูนย์ไตเทียม ศูนย์มะเร็ง เป็นต้น ทางมหาวิทยาลัยยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งในระดับชุมชนและในระดับประเทศ รวมทั้งเป็นผู้จัดกิจกรรมในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคชนิดต่าง ๆ เช่น กิจกรรมถ่ายทอดสดการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในวันเอดส์โลก กิจกรรมงานสัปดาห์วันมะเร็งโลก กิจกรรมวันโรคอ้วน และแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาทางด้านสุขภาพจิตให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป และ มีคลินิกวัยทีนที่พร้อมให้คำปรึกษาเยาวชนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เช่น ปัญหาการติดยาเสพติดปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ พร้อมบริการฟิตเนสและสนามกีฬาหลายประเภทสำหรับนักศึกษาและบุคลากร ในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ มีการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นถึงผลเสีย ของการสูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ในระดับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน มหาวิทยาลัยยังเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะ ในฐานะผู้นำองค์ความรู้ และเป็นต้นแบบสำหรับมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Asean University Network – Health Promotion Network : AUN – HPN) อีกด้วย

Highlights
  • thumb
    03
    27 ต.ค. 2566
    ความปลอดภัยในการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย
    มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนดมาตรการความปลอดภัยบนถนนภายในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยดำเนินการตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง กฎจราจรภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พ.ศ. 2564 ที่กำหนดให้ผู้ขับขี่ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ปฏิบัติตามคู่มือการจราจรภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลาลายา และสวมหมวกนิรภัยในการใช้รถจักรยานยนต์
  • thumb
    03
    25 ต.ค. 2567
    มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของอาคาร
    มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2564 เพื่อให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของบุคลากร นักศึกษา ตลอดจนบุคคลภายนอกในการทำงาน และให้สอดคล้องกับมาตรการทางกฎหมาย
  • thumb
    03 06 17
    26 ก.ค. 2567
    โครงการมหิดลอาสาทำความดี ปีที่ 4 สืบสานปณิธานพระราชบิดา
    บัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับองค์การนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สืบต่อเจตนาของการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมตามโครงการมหิดลอาสาทำความดี "สืบสานปณิธานพระราชบิดา
  • thumb
    03 04 05
    7 พ.ค. 2567
    โครงการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
    ได้รับทุนสนับสนุนจาก Rockefeller Foundation ในโครงการ “Intensive Training for Continuing-Care System for High-risk Pregnancy” เพื่อดำเนินการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 14 โรงพยาบาลในระดับตติยภูมิและระดับปฐมภูมิ
  • thumb
    03
    5 ส.ค. 2567
    ยุติปัญหา “การฆ่าตัวตาย” ด้วยระบบการเฝ้าระวังและป้องกัน
    ยุทธศาสตร์ 4 เสา” หรือ “โฟร์พิลล่าร์” (4 Pillars) เป็นกลยุทธ์ป้องกันการฆ่าตัวตายที่มีการนำมาใช้กับระบบเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายของจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภายใต้เขตสุขภาพที่ 1 เป็นเขตพื้นที่ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในประเทศไทย โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าค่าเป้าหมายที่ประเทศไทยกำหนดไว้ 2-3 เท่า โดยใช้ยุทธศาสตร์ 4 เสาได้แก่ เสาที่ 1 ระบบข้อมูล (Data) เป็นการค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเปราะบาง โดยการทำความเข้าใจคุณลักษณะ ปัจจัยเสี่ยง หรือผลกระทบที่ส่งผลให้เกิดความคิดฆ่าตัวตาย อาทิ ปัจจัยด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจ เสาที่ 2 ชี้เป้า ดักจับ (Radar) เป็นเสาสัญญาณที่ทำหน้าที่ในการดักจับสัญญาณเสี่ยงโดยบุคคลรอบข้าง รวมถึงการนำส่งข้อมูลให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเพื่อส่งต่อเข้าสู่ระบบให้ความช่วยเหลือ เสาที่ 3 ป้องกัน บำบัด (Prevention and Treatment) จำเป็นต้องใช้การช่วยเหลือในรูปแบบที่เป็นเครือข่ายและการบูรณาการร่วมกัน หรือที่เรียกว่า “การทำงานแบบหลายภาคส่วน” (Multisectoral Collaboration) เพื่อร่วมดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายตามขั้นตอนและกระบวนการบำบัดต่อไป และเสาที่ 4 การบริหารอย่างมีส่วนร่วม (Administration) เป็นกระบวนการช่วยเหลือด้วยการบูรณาการหลายภาคส่วน ตามลักษณะของปัญหาและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงมหาดไทย
  • thumb
    03 17
    21 พ.ค. 2567
    โครงการค่ายยุวชนรักกีฬาภาคฤดูร้อน
    สำนักงานสนับสนุนกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “โครงการค่ายยุวชนรักกีฬาภาคฤดูร้อน การจัดกิจกรรมดังกล่าวสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจให้ยุวชนได้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์การอยู่ร่วมกันการช่วยเหลือตนเองและการสัมพันธภาพอันดีงามระหว่างเพื่อน
  • thumb
    7 มิ.ย. 2567
    สถานการณ์การดูแลสุขภาพและความต้องการการสนับสนุนในพื้นที่ชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดตาก
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อทำความเข้าใจและสรุปสถานการณ์ด้านสุขภาพในพื้นที่ชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอนและตาก เพื่อวิเคราะห์และระบุประเด็นและความท้าทายด้านสุขภาพและการดูแลสุขภาพในพื้นที่ รวมถึงผลกระทบของการข้ามชายแดนต่อสถานการณ์สุขภาพโดยทั่วไปในพื้นที่ชายแดน และพิจารณาและเสนอการแนวทางการสนับสนุนที่จำเป็น และเป็นไปได้จาก JICA เพื่อแก้ไขปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้น
  • thumb
    03 17
    2 ก.ค. 2567
    ระบบประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะ Healthy University Rating System (HURS)
    Healthy University Rating System (HURS) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะ โดยใช้กรอบแนวคิด AUN Healthy University Framework (HUF) ซึ่งประกอบด้วย 22 ประเด็น มุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพ ความยั่งยืน และความเป็นอยู่ที่ดีแก่บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยและชุมชนรอบข้าง
  • thumb
    1 ก.ค. 2565
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน Ramathibodi Home Chemotherapy Model (RHCM)
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน เพิ่มประสิทธิผลการรักษา ลดค่าใช้จ่าย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย ยกระดับระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทย เพื่อความยั่งยืนทางด้านสุขภาพของประชากรไทย
  • thumb
    03 02 17
    9 เม.ย. 2567
    โครงการลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย
    การลดบริโภคเกลือและโซเดียม เท่ากับลดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง
  • thumb
    6 ก.ย. 2567
    โครงการมหิดลเพื่อสังคม “ความปลอดภัยในเด็ก (Child Safety)”
    ศูนย์สุขภาวะครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ได้จัดโครงการมหิดลเพื่อสังคม “ความปลอดภัยในเด็ก” (Child Safety) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานสร้างสุขภาวะที่ดีให้เด็กและประชาชนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายในจังหวัดอำนาจเจริญ ให้เกิดการทำงานร่วมบูรณาการที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
  • thumb
    03 10
    4 ก.ย. 2567
    ระบบช่วยนำทาง สำหรับผู้พิการทางสายตา
    โครงการ VIS4ION-Thailand เป็นระบบช่วยการนำทางสำหรับผู้พิการทางสายตาโดยใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ด้วยเทคโนโลยี AI ร่วมกับเทคโนโลยีช่วยเหลือ (Assistive Technology - AT)
จำนวนทั้งหมด 117 รายการ