Quality Education

สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาในทุกระดับ มีหลักสูตรการเรียนการสอนเฉพาะทางของวิทยาลัยราชสุดาให้กับผู้บกพร่องทางการสื่อสารและการได้ยิน เพื่อโอกาสในการประกอบอาชีพ รวมไปถึงหลักสูตรวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมายของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อผลิตบุคลากรวิชาชีพในการวินิจฉัยความผิดปกติของการสื่อความหมาย รวมไปถึงผลิตบุคลากรที่ให้การช่วยเหลือ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้บกพร่องทางการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมีการสนับสนุนทุนการศึกษามากกว่า 300 ทุน ให้กับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ อีกทั้งยังมีการสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการและงานวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการใช้องค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความเท่าเทียมทางสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มหาวิทยาลัยมหิดลไม่ได้มุ่งพัฒนาการศึกษาเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนกลุ่มสาขาอื่น ๆ เช่น สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ได้ดำเนินงานวิจัยร่วมกับชุมชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ จำนวน 25 กลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน โดยได้สร้างนวัตกรรมที่เรียกว่า “มหิดลโมเดล” (Mahidol Model Endangered Languages and Culture Revitalisation) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูและพัฒนาภาษาแม่/ภาษาท้องถิ่น นำไปสู่การสร้างสรรค์วรรณกรรม การบันทึกความรู้ด้วยภาษาท้องถิ่น และการพัฒนาการศึกษาของเด็กและเยาวชนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ทุนทางภาษาแม่และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานการเรียนรู้และพัฒนาสมองจนประสบความสำเร็จเป็นประจักษ์ และได้รับรางวัลระดับโลกUNESCO King Sejong Literacy Prize 2016 ต่อมามีการต่อยอดและประยุกต์ใช้ในโครงการคลังข้อมูลดิจิทัลของกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งเสริมการปกป้องและดำรงรักษาความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม และโครงการการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาและการเรียนรู้ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาของประเทศได้อย่างเท่าเทียม โดยยังคงไว้ซึ่งอนุรักษ์ภาษาถิ่นให้สืบต่อไป นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังคำนึงถึงคุณภาพของหลักสูตร โดยมีนโยบายผลักดันให้หลักสูตรได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ ณ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่ได้รับรองมาตรฐานสากลมากที่สุดในประเทศไทยถึงจำนวน 54 หลักสูตร ได้แก่ ASEAN University Network-Quality Assurance (AUN-QA) จำนวน 24 หลักสูตร Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) จำนวน 9 หลักสูตร Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) จำนวน 6 หลักสูตร Music Quality Enhancement (MusiQuE) จำนวน 5 หลักสูตร International Society for Prosthetics and Orthotics (ISPO) จำนวน 3 หลักสูตร World Federation for Medical Education (WFME) จำนวน 2 หลักสูตร Institute and Faculty of Actuaries (IFoA) จำนวน 2 หลักสูตร Asia-Pacific Academic Consortium for Public Health (APACPH) จำนวน 1 หลักสูตร United Nation World Tourism Organisation (UNWTO.TedQual) จำนวน 1 หลักสูตร และ World Federation of Occupational Therapists (WFOT) จำนวน 1 หลักสูตร ซึ่งการได้รับมาตรฐานหลักสูตรระดับนานาชาติดังกล่าวเป็นการประกันคุณภาพการศึกษา สร้างการยอมรับของผู้สำเร็จการศึกษาในการเข้าศึกษาต่อรวมทั้งการศึกษาต่อและประกอบอาชีพในระดับนานาชาติ และเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของผู้เรียนในการเลือกสถาบันการศึกษา จากการดำเนินการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญทางด้านการศึกษา โดยคำนึงถึงการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตในทุกระดับชั้น โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และหลักสูตรตรงตามความต้องการของผู้เรียนและตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ เพื่อสร้างบัณฑิตให้เป็น Global Citizen และ Global Talents ต่อไป

Highlights
  • thumb
    03 04 17
    9 มี.ค. 2565
    การควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย
    โรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลกรวมถึงประเทศไทย ประมาณร้อยละ 5.2 ของประชากรโลกเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ความเสี่ยงของการมีบุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติสูงถึงร้อยละ 1.1 ของคู่แต่งงานของประชากรทั้งโลก หรือ 2.7 คน ใน 1,000 คน การป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงให้มีผู้ป่วยเกิดใหม่ลดลงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยในช่วงระหว่างปีพ.ศ 2560-2564 ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมียได้ให้บริการปรึกษาทางพันธุศาสตร์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีที่มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย ณ คลินิกธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 129 ราย และได้ให้คำแนะนำเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดด้วยวิธีการเจาะน้ำคร่ำ (amniocentesis) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีโอกาสมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 3 โรค ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการควบคุมและป้องกัน อีกจำนวน 49 ราย ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียของครอบครัวและกระทรวงสาธารณสุขได้ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคและพาหะด้วยเทคนิคระดับเซลล์ โปรตีน และอณูพันธุศาสตร์ ที่รวดเร็วแม่นยำ และนำไปใช้ประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย และเป็นแนวทางสำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป
  • thumb
    17 04
    25 ก.ค. 2565
    โครงการ Norwegian Scholarship Projects ระหว่างรัฐบาลนอร์เวย์ โดยสถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศเมียนมา สถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศอินโดนีเซียและมหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการ Norwegian Scholarships Projects เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนอร์เวย์ โดยสถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศเมียนมา สถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศอินโดนีเซียและมหาวิทยาลัยมหิดล มอบทุนศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อมาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ในลักษณะ Co-funding จำนวน 4 สาขา ได้แก่ Life Science & Health, Environmental Sciences and Engineering, Social & Population Science และ Human Rights & Peace Studies
  • thumb
    04
    2 ก.ย. 2565
    Inter Cultural Education Game (ICE – GAME)
    ส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรม บูรณาการเป็นหลักสูตรและแผนการเรียนรู้ผ่านสื่อการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมในเกาะลันตา
  • thumb
    15 04
    11 มี.ค. 2565
    Animal Speak by Mahidol
    Animal Speak by Mahidol เป็นรายการที่สร้างความเข้าใจเรื่องสัตว์ ทำให้ผู้ชมและเด็ก ๆ เข้าใจธรรมชาติของสัตว์ สามารถอยู่ร่วมกันได้กับสิ่งมีชีวิตในโลก ปลูกฝั่งเรื่องความรับผิดชอบให้แก่เด็ก ๆ
  • thumb
    04 01 17
    26 ส.ค. 2565
    โครงการการสนับสนุนความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ในกรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์โควิด-19
    ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อวางแผนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และติดตามช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน โดยสนับสนุนการค้นหา คัดกรอง ช่วยเหลือเด็กปฐมวัยยากจนในกลุ่มครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ
  • thumb
    04 05
    3 พ.ย. 2565
    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง“การเรียนรู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs”
    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง“การเรียนรู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs” จัดขึ้นเพื่อตอบรับการผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ของสภามหาวิทยาลัยและทีมผู้บริหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดความยั่งยืนต่อส่วนงาน มหาวิทยาลัยและประเทศชาติ
  • thumb
    10 04
    28 ต.ค. 2565
    โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเชิงระบบเพื่อการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบ
    พัฒนาเด็กและเยาวชนให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีความใส่ใจในการทำความเข้าใจสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนนอกระบบภายใต้บริบทครอบครัวและสังคมที่มีความสลับซับซ้อน
  • thumb
    03 04 09
    10 มี.ค. 2565
    Mobile Stroke Unit เชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกลและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจรสําหรับทุกคน
    MSU-SOS ถือเป็นโครงการต้นแบบการพัฒนาระบบปรึกษาทางไกล เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันโดยใช้รถโมบาย สโตรคยูนิตให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนําเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ติดตั้งไว้บนรถ
  • thumb
    04 03
    2 ก.ย. 2565
    โครงการผู้สูงอายุรู้ทันสื่อ: สร้างหลักสูตรและขยายเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาวะ (Media Literate Elderly: Creating Media Literacy Course and Expanding Networks of Communicators for Well-being)
    สร้างเสริมการรู้เท่าทันสื่อให้ผู้สูงอายุไทยในเมืองและชนบท พร้อมขยายผลให้แกนนำผู้สูงอายุใน 5 พื้นที่
  • thumb
    31 ส.ค. 2565
    โครงการ “การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา”
    การดำเนินงานโครงการ “การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้านสำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา” เพื่อพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา ที่เหมาะสมกับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษาอย่างมีส่วนร่วม รวมทั้งสื่อสารเพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักให้กับหน่วยงาน/ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ถึงความสำคัญของการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิผลในกลุ่มเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
  • thumb
    29 ส.ค. 2565
    การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ “หลักสูตรอาชีพจากเครื่องยาสมุนไพร” และ “หลักสูตรอาชีพจากพรรณไม้”
    วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2565 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วิทยาลัยราชสุดา และโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการสร้างเสริมสมรรถนะด้านการเรียนรู้เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืนของคนพิการ วัตถุประสงค์ 1.4 การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกันจัดฝึกอบรมอาชีพใน 2 หลักสูตรแบบ Authentic Learning ปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรม DIY ทั้งรูปแบบ Online และ Onsite ณ สถานที่ตั้งของผู้เรียน
  • thumb
    25 ส.ค. 2565
    โครงการปฐมวัยสาธิต
    ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ส่งเสริมประสบการณ์ และการเรียนรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมและส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัย ทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และกระบวนการรู้คิด
จำนวนทั้งหมด 29 รายการ