Affordable and Clean Energy

สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ภายใต้นโยบายการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยการใช้รถรางไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดหมุนเวียนภายในวิทยาเขตศาลายา จำนวน 16 คัน แบ่งออกเป็น 4 สายโดยมี MU Tram แอปพลิเคชันเพื่อใช้ดูตารางเวลารถ ซึ่งจะออกในทุก ๆ 10 นาที ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งภายในมหาวิทยาลัยโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โครงการจักก้าเซ็นเตอร์ที่สนับสนุน การขี่จักรยานเพื่อลดมลพิษ และลดพื้นที่จราจรโดยการเพิ่มพื้นที่ ทางเท้า และจักรยานเพิ่มมากขึ้น โดยมีจักรยานให้บริการ กว่า 7,000 คัน ซึ่งมีนักศึกษา และบุคลากร ใช้งานในช่วงเวลาการเปลี่ยนสถานที่เรียนหรือส่วนงานต่าง ๆ และใช้ ในการออกกำลังกายในช่วงเย็น และยังมีอาคารประหยัดพลังงาน ได้แก่ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล ที่ได้รับรองรางวัล Thailand Energy Awards และรางวัล ASEAN Energy Awards ประเภท Tropical Building และ อาคารอทิตยาทร ในประเภท Conservation in Building Control เป็นการออกแบบที่ลดการใช้พลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานจากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยที่คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และชุมชนโดยรอบสามารถเข้าถึงพลังงานและใช้งานได้ง่ายมากขึ้น รวมทั้งการติดตั้ง Solar Rooftop ในวิทยาเขตศาลายา พญาไท และกาญจนบุรี จำนวน 10 แห่ง ซึ่งผลิตพลังงานไฟฟ้าไปแล้วกว่า 142.62 กิโลวัตต์ ในอนาคตจะมีการติดตั้งเพิ่มอีก 32 กิโลวัตต์ให้ครอบคลุมทั้งวิทยาเขตศาลายา เพื่อส่งเสริมการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ที่ช่วยลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย และมีพลังงานใช้อย่างต่อเนื่องด้วย นอกจากนี้ ยังมีโครงการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วที่วิทยาเขตศาลายา ซึ่งจะได้น้ำมันไบโอดีเซลประมาณ 80% ของน้ำมันพืชใช้แล้ว ซึ่งสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนได้ประมาณ 21,829.39 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ต่อปี ซึ่งสามารถใช้กับรถขนของภายในมหาวิทยาลัยได้ จึงช่วยลดต้นทุนของวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงได้ดี ส่งผลให้เกิดการนำกลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างระบบการจัดการน้ำมันใช้แล้วอย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้เกิดสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดในมหาวิทยาลัย เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

Highlights
  • thumb
    12 07 13
    2 เม.ย. 2567
    โครงการพัฒนาสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อขอการรับรองสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566
    การพัฒนาสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) โดยการตรวจประเมินเบื้องต้น (Pre-Audit) ให้คำแนะนำในการดำเนินงาน เพื่อเตรียมความพร้อม สำนักงาน/อาคารของ กฟภ. ที่ขอรับการรับรองสำนักงานสีเขียว จำนวน 11 แห่ง และตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ (Online) จำนวน 62 แห่ง และตรวจประเมินในพื้นที่จริง (Onsite) อย่างน้อย จำนวน 11 แห่ง ตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
  • thumb
    31 ต.ค. 2566
    Mahidol Eco Park
    Mahidol Eco Park สวนสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ พักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางธรรมชาติอย่างบูรณาการ พื้นที่สีเขียวใจกลางพื้นที่โซนการศึกษา เอื้อให้นักศึกษาและบุคลากรได้ใช้โยชน์อย่างเต็มที่
  • thumb
    09 07 12
    20 ต.ค. 2566
    เส้นใยใบสับปะรดสำหรับสิ่งทอและอุตสาหกรรม
    TEAnity Team มุ่งมั่นในการผู้นำในการผลิตเส้นใยใบสับปะรดสำหรับงานอุตสาหกรรมต่างๆ และการจัดการของเหลืองทิ้งจากแปลงสับปะรดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • thumb
    10 พ.ย. 2565
    นักวิจัยผุดไอเดีย นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ผลิตขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดร่วมกับกรดเลวูลินิค
    ฟอสซิลถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และการผลิตข้าวของเครื่องใช้มากมาย อย่างไรก็ตาม การใช้ฟอสซิลยังมีข้อจำกัดต่าง ๆ มากมาย อาทิ การเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป และผลกระทบที่เกิดจากการเผาไหม้ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ซึ่งคงค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศของโลก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวัฒน์ นาคะสรรค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้วิจัย จึงมีความสนใจในการทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการลดการใช้ฟอสซิล โครงการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจึงนำเหง้ามันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกรดเลวูลินิค โดยนำมาปรับสภาพเบื้องต้นด้วยด่าง เพื่อดึงองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เซลลูโลสออก ซึ่งจะได้ของแข็งที่มีเซลูโลสเป็นองค์ประกอบหลัก ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า จะทำให้ปริมาณการใช้ฟอสซิลภายในประเทศลดลง ประเทศไทยมีขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่ผลิตได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งจะเป็นขั้วไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพดีและมีราคาถูกกว่าขั้วไฟฟ้าทั่วไปในท้องตลาด และสามารถสร้างมูลค่าให้กับเหง้ามันสำปะหลังได้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีรายได้มากขึ้น
  • thumb
    07 02 12
    28 ต.ค. 2565
    โครงการ Research for Community วิจัยเพื่อชุมชนสังคม
    นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีถ่ายทอดไปสู่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และพึ่งพาตัวเองได้
  • thumb
    13 07 14
    7 ต.ค. 2565
    เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
    การถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ให้กับ อพท. และชุมชนชายฝั่งเกาะหมาก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือจัดการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ปะการัง เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของเรือยนต์ โดยปราศจากการปลดปล่อยคาร์บอน การปนเปื้อนเขม่าจากการเผาไหม้ลงสู่แนวปะการัง และส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    MU Green Rankings
    MU Green Rankings ประเมินสถานะการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    13 07 12
    9 มี.ค. 2565
    คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization)
    การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) เป็นวิธีการประเภทหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร