Sustainable Cities and Communities

ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลไม่เพียงเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกประเทศไทยที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข แต่ยังมีโรงเรียนดนตรีแห่งแรกในประเทศไทยที่มีเชี่ยวชาญทางด้านศิลปะดนตรี “วิทยาลัยดุริยางคศิลป์” ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ 2537 เพื่อส่งเสริมการพัฒนา soft power ของประเทศสู่ระดับนานาชาติ มีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านศิลปะการดนตรีในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเตรียมอุดมดนตรีไปจนถึงระดับปริญญาเอก นอกจากนี้ยังมี มหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall) ซึ่งเป็นอาคารที่การออกแบบระบบ Acoustic รวมถึงพื้นที่ภายในอาคารให้สามารถถ่ายทอดเสียงไปยังผู้ชมจำนวน 2,016 ที่นั่ง ได้รับฟังอย่างมีคุณภาพ อาคารถูกออกแบบให้สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายตั้งแต่พิธีพระราชทานปริญญาบัตร การปฐมนิเทศนักศึกษา รวมทั้งการแสดงละคร ดนตรี ศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ และการประชุมสัมมนาระดับประเทศและภาคพื้นทวีป ทั้งยังสามารถจัดเป็นห้องบรรยายการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเมืองที่น่าอยู่และปลอดภัย โดยเริ่มจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เช่น การเพิ่มพื้นที่สีเขียวผ่านการปลูกต้นไม้ บริการรถรางสาธารณะให้กับบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีเส้นทางจักรยาน มีแนวทางการจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีสวัสดิการอาคารที่พักให้กับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยในราคาที่ไม่แพง และเนื่องจากจะมีการสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) กับระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีการทำแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีศาลายาเพื่อรองรับการเข้ามาของรถไฟฟ้าและมีแผนพัฒนาทางเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟศาลายามายังระบบขนส่งสาธารณะของมหาวิทยาลัย และเชื่อมต่อไปยังศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเป็นระบบ โดยไม่กระทบ ระบบนิเวศภายในวิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยยังมีฐานข้อมูลกลางเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ การพัฒนาและมีระบบ WIFI ครอบคลุมทุกพื้นที่ในมหาวิทยาลัย โดยเพิ่มปริมาณ Internet Gateway Bandwidth เป็น 19 Gbps ซึ่งรองรับผู้ใช้จำนวนมากกว่า 70,000 บัญชี เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเข้าถึงเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และยังสนับสนุนการใช้งานหลายอุปกรณ์เพื่อผลักดันไปสู่ Digital Convergence อีกทั้งยังมีแพลตฟอร์ม We Mahidol Application ที่รองรับได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายตอบโจทย์การใช้ชีวิตของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2565 มียอดดาวน์โหลดเพื่อใช้งานมากกว่า 40,000 ครั้ง ซึ่งช่วยให้การรองรับการเปลี่ยนแปลงภายใต้ Disruptive Technology ต่อไปในอนาคต

Highlights
  • thumb
    11 03
    8 พ.ย. 2567
    พื้นที่ออกกำลังกายและนันทนาการ
    มหาวิทยาลัยส่งเสริมให้เกิดชุมชนสุขภาพดี และให้ความสำคัญในการกำหนดนโยบายสร้างเสริมสุขภาพภายในสถาบันการศึกษา ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากร นักศึกษา และชุมชนโดยรอบ ให้เกิดเป็น “มหาวิทยาลัยสุขภาพ” โดยพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
  • thumb
    06 11 15
    2 พ.ย. 2567
    การปลูกพืชทนแล้งในศาลายา
    ปลูกพันธุ์ไม้ทนแล้งเพื่อลดการใช้น้ำและทำให้การดูแลรักษาง่าย
  • thumb
    30 ก.ย. 2567
    ค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่การสร้างแรงบันดาลใจด้าน SDGs (Green Youth Camp Inspires for SDGs)
    การเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความสนใจ และตระหนักถึงสภาวะสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน วิเคราะห์หาเหตุผลในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เรียนรู้การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น ระบบวนเกษตร ผลิตภัณฑ์แปรรูป และการพัฒนาที่ยั่งยืนชุมชน (SDGs) เป็นต้น เพื่อได้ประสบการณ์และการเข้าถึงสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกทักษะการปฏิบัติจากผู้มีความรู้ ผู้เชี่ยวชาญจากคณะอาจารย์และตัวแทนผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เพิ่มความรู้ความเข้าใจความหลากหลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจท้องถิ่นมาก
  • thumb
    5 ก.ย. 2567
    โครงการส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง
    โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการ เรื่อง การส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขิดลายขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 720,000 บาท ดำเนินการช่วงเดือนมิถุนายน 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2567
  • thumb
    11 01 03
    9 พ.ค. 2567
    นวัตกรรมกระบวนการ “ต้นแบบชุมชน ร่วมพลัง ร่วมใจ รองรับสังคมสูงวัยเขตเมือง”
    นวัตกรรมกระบวนการ “ต้นแบบชุมชน ร่วมพลัง ร่วมใจ รองรับสังคมสูงวัยเขตเมือง”มีเป้าหมาย เตรียมความพร้อมคนรอบ ๆ ตัว ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะ เยาวชน ให้มีความสามารถในการดูแลตนเองให้มีศักยภาพปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมสูงอายุ และสามารถดูแลผู้สูงอายุได้ และพัฒนากลไกทางสังคมของชุมชนเมืองไปพร้อม ๆ กัน
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    MU Green Rankings
    MU Green Rankings ประเมินสถานะการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    10 ส.ค. 2565
    สร้างฝายชะลอน้ำ (CHECK DAM) แล้วได้ประโยชน์อย่างไร
    วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดลเดิมประสบปัญหาการพังทลายของหน้าดิน เนื่องจากการชะล้างของน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนได้ไหลเข้าท่วมสู่อำเภอไทรโยค เนื่องจากสถานที่ตั้งของวิทยาเขตกาญจนบุรีอยู่บนที่ราบเชิงเขา ทำให้สถานที่ราชการ บ้านเรือนประชาชน ถนน ได้รับความเสียหายส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนของชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลวังโพ อำเภอไทรโยค ในปี 2553 วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้มีความร่วมมือกับ SCGP โรงงานวังศาลา ได้เข้ามาศึกษาและสำรวจการพังทลายของชั้นดินบริเวณวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยเห็นควรให้มีการจัดสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้วิทยาเขตกาญจนบุรีจึงได้มีความร่วมมือกับทาง SCGP โรงงานวังศาลา และทุกภาคส่วนในอำเภอไทรโยค ในการเริ่มสร้างฝายชะลอน้ำขึ้นในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มาเป็นลำดับในทุกปี โดย ณ ปัจจุบัน มีฝายชะลอน้ำทั้งหมดจำนวน 427 ฝาย วัตถุประสงค์หลักของการสร้างฝายในพื้นที่มิได้เพื่อการกักเก็บน้ำเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเขาหินปูน มีรูพรุนใต้พื้นดินเป็นจำนวนมากไม่สามารถเก็บน้ำได้ แต่การสร้างฝายเพือชะลอน้ำ และลดความรุนแรงของน้ำเพื่อไม้ให้สูญเสียหน้าดิน อีกทั้งยังต้องการให้พื้นป่ามีความชุ่มชื้นที่ยาวนานขึ้น โดยส่วนใหญ่ฝายชะลอน้ำสร้างจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เศษไม้ ปลายไม้ หิน สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและไม่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ
  • thumb
    26 ก.ค. 2567
    โครงการ “ค่ายบัณฑิตมหิดลอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน” ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ “ค่ายบัณฑิตมหิดลอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน” ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
  • thumb
    19 ก.พ. 2567
    โครงการวิจัยงานจ้างจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2566-2570
    เพื่อให้การยกระดับและพัฒนางานขับเคลื่อนค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ให้สูงขึ้นได้จริง จึงได้กำหนดโครงการ "จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2566-2570" เพื่อบูรณาการข้อมูล/กระบวนการ/กลไก/การติดตามและประเมินผล การขับเคลื่อนกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าภาพตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ตามกรอบมิติ/ตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ สู่การกำหนดนโยบายรองรับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที พร้อมขยายผลการขับเคลื่อนค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ และในระดับพื้นที่ต่อไป
  • thumb
    21 มี.ค. 2567
    จากเก่าสู่เก๋า: นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ – มรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าของมณฑลนครชัยศรี
    นวัตกรชุมชน นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ มณฑลนครชัยศรี community innovator, traditional Thai food innovation, Nakhon Chai Si County
  • thumb
    5 มิ.ย. 2567
    โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
    โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ค่ายเยาวชนที่มุ่งเน้นการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ ปลูกจิตสำนึกที่ดีทางด้านสิ่งแวดล้อม และกล้าแสดงออก มีความเป็นผู้นำ สามารถสื่อความหมายในการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อม
  • thumb
    03 11 12
    30 มิ.ย. 2565
    โครงการตรวจประเมินการปฏิบัติงานบริษัทรับกำจัดของเสียอันตราย
    มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอน งานวิจัยทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์เป็นหลัก จากนโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2557 ว่าด้วยการสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และมีระบบการจัดการของเสียที่มีประสิทธิภาพ ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการของเสียนตรายภายในมหาวิทยาลัย โดยดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการของเสียอันตราย 2 ประเภท คือ ของเสียสารเคมี และของเสียอันตรายทางชีวภาพ ทั้งนี้ทางศูนย์ฯ มีระบบบริหารจัดการตั้งแต่ การคัดแยกของเสีย การจัดเก็บ และการส่งกำจัด ซึ่งทางศูนย์ฯ เป็นหน่วยงานกลางในการติดต่อประสานงาน และดำเนินการจัดหาบริษัทรับกำจัดของสียอันตราย ที่ดำเนินกิจการภายใต้การควบคุมและดูแลจากหน่วยงานของรัฐ และได้รับการรับรองมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เข้ารับกำจัดของเสียอันตรายภายในส่วนงาน
จำนวนทั้งหมด 43 รายการ