Sustainable Cities and Communities

ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลไม่เพียงเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกประเทศไทยที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข แต่ยังมีโรงเรียนดนตรีแห่งแรกในประเทศไทยที่มีเชี่ยวชาญทางด้านศิลปะดนตรี “วิทยาลัยดุริยางคศิลป์” ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ 2537 เพื่อส่งเสริมการพัฒนา soft power ของประเทศสู่ระดับนานาชาติ มีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านศิลปะการดนตรีในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเตรียมอุดมดนตรีไปจนถึงระดับปริญญาเอก นอกจากนี้ยังมี มหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall) ซึ่งเป็นอาคารที่การออกแบบระบบ Acoustic รวมถึงพื้นที่ภายในอาคารให้สามารถถ่ายทอดเสียงไปยังผู้ชมจำนวน 2,016 ที่นั่ง ได้รับฟังอย่างมีคุณภาพ อาคารถูกออกแบบให้สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายตั้งแต่พิธีพระราชทานปริญญาบัตร การปฐมนิเทศนักศึกษา รวมทั้งการแสดงละคร ดนตรี ศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ และการประชุมสัมมนาระดับประเทศและภาคพื้นทวีป ทั้งยังสามารถจัดเป็นห้องบรรยายการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเมืองที่น่าอยู่และปลอดภัย โดยเริ่มจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เช่น การเพิ่มพื้นที่สีเขียวผ่านการปลูกต้นไม้ บริการรถรางสาธารณะให้กับบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีเส้นทางจักรยาน มีแนวทางการจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีสวัสดิการอาคารที่พักให้กับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยในราคาที่ไม่แพง และเนื่องจากจะมีการสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) กับระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีการทำแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีศาลายาเพื่อรองรับการเข้ามาของรถไฟฟ้าและมีแผนพัฒนาทางเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟศาลายามายังระบบขนส่งสาธารณะของมหาวิทยาลัย และเชื่อมต่อไปยังศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเป็นระบบ โดยไม่กระทบ ระบบนิเวศภายในวิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยยังมีฐานข้อมูลกลางเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ การพัฒนาและมีระบบ WIFI ครอบคลุมทุกพื้นที่ในมหาวิทยาลัย โดยเพิ่มปริมาณ Internet Gateway Bandwidth เป็น 19 Gbps ซึ่งรองรับผู้ใช้จำนวนมากกว่า 70,000 บัญชี เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเข้าถึงเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และยังสนับสนุนการใช้งานหลายอุปกรณ์เพื่อผลักดันไปสู่ Digital Convergence อีกทั้งยังมีแพลตฟอร์ม We Mahidol Application ที่รองรับได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายตอบโจทย์การใช้ชีวิตของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2565 มียอดดาวน์โหลดเพื่อใช้งานมากกว่า 40,000 ครั้ง ซึ่งช่วยให้การรองรับการเปลี่ยนแปลงภายใต้ Disruptive Technology ต่อไปในอนาคต

Highlights
  • thumb
    30 มิ.ย. 2565
    การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค COVID-19 5 ชุมชน หน้าคณะสาธารณสุขศาสตร์ ถอดบทเรียน: Factory Isolation (FAI)
    การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค COVID-19 5 ชุมชน หน้าคณะสาธารณสุขศาสตร์ ถอดบทเรียน: Factory Isolation (FAI)
  • thumb
    03 04 11
    22 มิ.ย. 2565
    โครงการเยาวชนไทยกู้ภัยโควิด ปี2563 และ 2564 : สร้างความรับรู้และการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการต่อสู้กับปัญหาการระบาด COVID-19
    สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงจัดให้มีกิจกรรมที่จะทำให้เด็ก เยาวชน วัยรุ่น ได้สนใจ เรียนรู้ ปัญหาการระบาดของโรค COVID-19 และนำความรู้ไปปฏิบัติเป็นพฤติกรรมในการดูแลผู้สูงอายุในบ้านหรือร่วมเป็นจิตอาสาในชุมชนของตน
  • thumb
    03 11 17
    11 มี.ค. 2565
    ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
    ศูนย์กลางด้านวิชาการเพื่อการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการบริโภคยาสูบของประเทศไทย
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    ปลดล็อกศักยภาพของเด็กทุกคน
    มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรียเพื่อทำการศึกษาตัวแทนของเด็ก ๆ ในศูนย์การเรียนรู้ผู้อพยพ (MLC) ในตำบลพบพระและท่าสองยาง จังหวัด แม่สอด โดยเปรียบเทียบกับเด็ก ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยไทย (ECCD) ในบริเวณใกล้เคียง
  • thumb
    10 11
    22 ส.ค. 2565
    รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564
    รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย เป็นรายงานประจำปีที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) มีหน้าที่จัดทำขึ้นตามที่พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 9 (10) เพื่อเสนอรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ได้มอบหมายให้มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ดำเนินการจัดทำรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2563 ฉบับนี้ ได้รวบรวมสถิติข้อมูลสถานการณ์การสูงอายุของประชากรไทยในปัจจุบัน และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของประชากรที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อฉายภาพสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
  • thumb
    11 13
    24 ม.ค. 2566
    โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งถือเป็นแกนสำคัญของการพัฒนาและขยายเมือง การพัฒนาเมืองแบบ Transit Oriented Development (TOD)
    โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งถือเป็นแกนสำคัญของการพัฒนาและขยายเมือง การพัฒนาเมืองแบบ Transit Oriented Development (TOD) หรือหนึ่งในแนวคิดการพัฒนาเมืองและชุมชนเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทาง มีการกำหนดรูปแบบการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างชุมชนคุณภาพ น่าอยู่อาศัย น่าลงทุนธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเดินทาง เข้า-ออกพื้นที่ด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และส่งเสริมการเดินทางในพื้นที่ด้วยการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ หรือใช้การเดินทางสาธารณะ (1) Concept การบริหารเมืองของ TOD คือ การปรับเปลี่ยนการขยายตัวของเมืองแบบกระจัดการจายให้เป็นเมืองกระชับ ด้วยการพัฒนาพื้นที่อย่างมีขอบเขตและแนวทางซึ่งจะช่วยลดภาวะการเติบโตของเมืองอย่างไร้ทิศทาง Transit Oriented Development (TOD) จะช่วยแก้ปัญหาเมือง และมีประโยชน์ต่อชุมชน ดังนี้ ภาครัฐจะมีแนวทางในการบริหารจัดการเมืองที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม การเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากรถยนต์ส่วนตัวมาเป็นขนส่งสาธารณะ จะช่วยลดการก่อให้เกิดมลพิษด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสาธารณะ รวมถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเดินเท้า หรือการปั่นจักรยาน ภายในบริเวณโดยรอบของการขนส่งสาธารณะเพื่อลดการเดินทางโดยใช้เครื่องยนต์ และส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ทางด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นก็จะมีการพัฒนาให้ลงตัวกับทุก Life Style การใช้ชีวิต ทั้งย่านพักอาศัย ย่านการค้า ย่านธุรกิจ และพื้นที่สาธารณะ มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการครบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดการใช้พลังงาน และเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน
  • thumb
    03 11
    31 ส.ค. 2565
    ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค)
    ศูนย์การศึกษาวิจัยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายในมิติทางประชากรและสังคมที่มุ่งเน้นการศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์และพฤติกรรม โดยใช้องค์ความรู้และระเบียบวิธีวิจัยที่มีมาตรฐานระดับสากลเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พันธกิจ (Mission) 1. ทบทวนสถานการณ์และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านกิจกรรมทางกายเพื่อใช้ในประกอบการจัดทำแผนและแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรไทย 2. เชื่อมประสานภาคีทำงานด้านกิจกรรมทางกาย ตลอดจนวิเคราะห์ประเด็น และโจทย์การวิจัยเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. พัฒนาฐานข้อมูล เครื่องมือรวบรวมข้อมูลทางสังคม การติดตามและประเมินผล ตลอดจนการวิเคราะห์แนวโน้ม ด้านกิจกรรมทางกายที่มีมาตรฐานทางวิชาการระดับสากล เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และศึกษาเปรียบเทียบ ตลอดจนเฝ้าระวังกิจกรรมทางกาย 4. พัฒนาและเผยแพร่ผลผลิตทางวิชาการ ตลอดจนนวัตกรรมทางด้านสังคมศาสตร์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนไทยทุกช่วงวัย การดำเนินกิจกรรมทางวิชาการของศูนย์ได้มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และผลผลิตทางวิชาการด้านกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพและมาตรฐานเพื่อนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยมุ่งเน้นที่ผลผลิตหลัก 4 มิติ ประกอบด้วย 1) T: Tool คือ เครื่องมือและต้นแบบสำหรับการวิจัย 2) P: Publication คือ ผลการวิจัยที่เผยแพร่ 3) A: Analysis คือ ชุดข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ 4) K: Knowledge คือ ความรู้สู่การปฏิบัติ โดยตั้งเป้าหมายให้เกิดรูปธรรมภายใต้ขอบเขตดังกล่าวทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
จำนวนทั้งหมด 31 รายการ