แนวคิดหลักมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่ไปกับธรรมชาติ บูรณาการสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่น ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า ส่งเสริมการลดการใช้พลังงาน
แนวคิดหลักมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่ไปกับธรรมชาติ บูรณาการสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่น ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า ส่งเสริมการลดการใช้พลังงาน
แนวคิดหลัก มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University)
ผังแม่บทมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2551 มีแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ที่ต้องการสร้าง “มหาวิทยาลัยเมืองในฝัน” มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีลักษณะทางกายภาพที่ตอบสนองสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน มหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนเป็นบ้านหลังที่สอง และเป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณของชาวมหิดลทั้งมวล องค์ประกอบด้านกายภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะสร้าง “เมืองมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้และอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ” (A Promise Place to Live and Learn Together with Nature)
มหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University) เป็นแนวคิดหลักที่สำคัญในการสร้างมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่ไปกับธรรมชาติ สร้างมหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนเป็นสวนพฤกษศาสตร์ (Arboretum) อันเป็นแนวทางหลักของการพัฒนามหาวิทยาลัย นำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่บูรณาการสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่น ส่งเสริมสุขภาวะ สะอาด ปราศจากมลพิษ มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า มีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย กลมกลืนกับธรรมชาติ มีพื้นที่โล่ง พื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและเอื้อต่อกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังส่งเสริมการลดการใช้พลังงาน สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน เพื่อให้นักศึกษาและประชาคมชาวมหิดล สามารถอยู่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และใช้ชีวิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น การพัฒนาดังกล่าว ยังมุ่งหมายให้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นผู้นำแก่ชุมชนข้างเคียงทางด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอีกด้วย
กลยุทธ์ 3 Greens ในการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University)
ผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ฉบับปี 2551
การพัฒนาระบบภูมิทัศน์ตามผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2551
1. แนวคิดในการพัฒนาระบบภูมิทัศน์มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ต้องการสรรสร้าง-ภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นและร่มเย็น ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี 3 ประการ ดังนี้
2. การพัฒนาระบบภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ประกอบด้วย
2.1 แนวแกนหลักมหาวิทยาลัย (University Axis) ประกอบด้วย
ผังแสดงแนวแกนสีเขียวหลักของมหาวิทยาลัย
2.2 มุมมอง ที่หมายตา และช่องนำสายตา (Vista, Landmark & Visual corridor)
กำหนดมุมมองที่หมายตา และช่องนำสายตา เพื่อสร้างภาพลักษณ์ทางกายภาพที่สวยงาม เป็นที่จดจำและเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย สร้างความรับรู้เกี่ยวกับทิศทางและเส้นทาง ตลอดจนสร้างทัศนียภาพที่ร่มรื่น
ผังแสดงมุมมอง ที่หมายตา และช่องนำสายตา
2.3 พื้นที่สำหรับกิจกรรม (Social Activity Node & Facility Node)
การออกแบบพื้นที่ภายนอกอาคารเพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาคมในมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมให้ประชาคมได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น โดยลักษณะของพื้นที่กิจกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ลานกิจกรรม ทางเดินกิจกรรม และจุดบริการ
2.4 โครงข่ายพื้นที่สีเขียว (Green Network)
การเชื่อมต่อพื้นที่สวนสาธารณะประเภทต่าง ๆ ด้วยแนวเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียว (Green Circulation) ในลักษณะสวนทางเดิน ทำให้เกิดเป็นพื้นที่สีเขียวต่อเนื่องขนาดใหญ่
ผังแสดงพื้นที่กิจกรรมและโครงข่ายพื้นที่สีเขียว
2.5 ระบบพื้นที่เพื่อการกีฬาและนันทนาการ (Sport and recreation area system)
การจัดพื้นที่สำหรับกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกายแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ พื้นที่สนามกีฬาหลัก พื้นที่สนามหญ้าเพื่อการออกกำลังกาย สระน้ำสำหรับพายเรือเล่น และเส้นทางจักรยานเพื่อการพักผ่อนและออกกำลังกาย
ผังแสดงพื้นที่เพื่อการกีฬาและนันทนาการ
2.6 ระบบการใช้ต้นไม้ เพื่อการใช้ประโยชน์ (Planting Use System)
การคำนึงถึงระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระดับเรือนยอดต้นไม้ โดยการเชื่อมโยงระบบนิเวศ ทั้งที่มีอยู่เดิมและที่สร้างขึ้นใหม่ ให้มีความเขียวร่มรื่นเป็นธรรมชาติ เข้าด้วยกันด้วยแนวคิด Tree Canopy Landscape Ecology โดยการพิจารณาขนาดของต้นไม้ทั้ง 3 ขนาด ได้แก่ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน
แสดงแนวคิด Tree Canopy Landscape Ecology
ผังแสดงระบบการใช้ต้นไม้ (Planting System)
2.7 แนวคิดการเลือกพรรณไม้ (Landscapes Planting Concept)
เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น การเลือกพรรณไม้ภายในมหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีลักษณะเฉพาะตามสายพันธุ์ โดยอ้างอิงตามแนวคิดที่สำคัญสองประการ คือ เลือกพรรณไม้แบ่งตามความสำคัญของถนนแต่ละเส้น และเลือกพรรณไม้แบ่งตามลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่สวน ตลอดจนคำนึงถึงความอดทนต่อสภาพภูมิอากาศและลดการใช้น้ำของแต่ละพรรณไม้ ตัวอย่างพรรณไม้ที่ปลูกภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้อยติ่ง กระดุมทองเลื้อย พุทธรักษา บัวดิน เป็นต้น
ผังแสดงพื้นที่สีเขียวและแนวคิดการเลือกพรรณไม้
ต้อยติ่ง |
บัวดิน |
พุทธรักษา |
กระดุมทองเลื้อย |
ตัวอย่างพรรณไม้
2.8 การให้แสงสว่าง (Lighting Concept)
นอกจากแนวคิดการออกแบบสวนประเภทต่าง ๆ แล้ว การคำนึงถึงพื้นที่ใช้งานยามค่ำคืน ก็เป็นสิ่งสำคัญซึ่งต้องมีการกำหนดแนวทางการออกแบบ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สอดคล้องกับการใช้งาน โดยมีหลักแนวคิด คือ การพิจารณาความสว่างของพื้นที่ ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะแต่ละพื้นที่ ซึ่งผังแม่บทได้กำหนดค่าความสว่างที่เหมาะสมตามมาตรฐานการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม
ผังแสดงระบบแสงสว่างในงานภูมิทัศน์
การพัฒนาระบบการสัญจร
1. แนวคิดในการการพัฒนาระบบการสัญจร
ส่งเสริมการพัฒนาระบบถนนและที่จอดรถ ระบบทางจักรยาน และระบบทางเดินเท้าให้สอดคล้องกับแนวคิดของมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ประกอบด้วย ความปลอดภัย (Safety) ความเป็นระเบียบเรียบร้อย (Tidiness) ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmentally Sound) ความพึงพอใจของชุมชน (Community Satisfaction) โดยมีแนวคิดในการการพัฒนา ดังนี้
2. ระบบถนนและที่จอดรถยนต์
2.1 เส้นทางโครงข่ายคมนาคม จำแนกเป็น
ผังแสดงถนนสายหลัก-สายรอง
2.2 การเข้าออกและทิศทางการสัญจร
กำหนดให้มีประตูทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัย 7 ประตู
2.3 ระบบการจอดรถและที่จอดรถยนต์
เสนอให้ก่อสร้างอาคารจอดรถขึ้น 4 อาคาร เพื่อรองรับจำนวนรถยนต์ประมาณ 2,000 คันในอนาคต พร้อมกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อขนส่งผู้ใช้รถยนต์ไปยังส่วนต่าง ๆ โดยในระยะเร่งด่วนในระหว่างที่ยังไม่ก่อสร้างอาคารจอดรถ ให้ก่อสร้างที่จอดรถชั่วคราว
ผังแสดงถนน ทางเดินรถ อาคารจอดรถ
2.4 ระบบเส้นทางจักรยาน และที่จอดจักรยาน
ประกอบด้วยเส้นทางจักรยานสายหลักและสายรองขนานไปกับทางเดิน โดยแยกช่องทางเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและร่มรื่น กระตุ้นให้เกิดการใช้จักรยานในการสัญจรมากขึ้น
ผังแสดงแสดงเส้นทางจักรยาน
ผังแสดงทางจักรยานและจุดจอดจักรยาน
2.5 ระบบทางเดินเท้า
ประกอบด้วยทางเดินสายหลักและสายรอง มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของทางเท้าที่สอดคล้องกับกิจกรรมและการเชื่อมต่อกับระบบภูมิทัศน์ โดยคำนึงถึงความสะดวกในการเข้าถึง ความปลอดภัย และการเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ผังแสดงทางเดินเท้า
ผังแสดงทางเดินเท้ามีหลังคาคลุม
3. ขนาดของถนน
การพัฒนาระบบการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย ตามผังแม่บท ฉบับปี 2551 ได้กำหนดขนาดของเส้นทางการจราจร ถนนสายหลัก ถนนสายรอง และถนนบริการและสัญจรภายในหน่วยงาน
ตัวอย่างภาพแสดงขนาดของเส้นทางการจราจร
4. ระบบขนส่งมวลชนภายใน (Shuttle bus)
แนวคิดหลักในการจัดระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดการใช้รถยนต์ภายในมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งสนับสนุนการเดินเท้าและการใช้จักรยาน
ผังแสดงเส้นทางรถขนส่งสาธารณะ
การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ
การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค อันได้แก่ ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสุขาภิบาล ศูนย์การบริการ ระบบสื่อสาร ระบบโทรศัพท์ ระบบการจัดการขยะ และแนวคิดระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต โดยคำนึงถึงการลดการใช้พลังงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม การลดการใช้ทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัย การใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เป็นตัวอย่างแก่ชุมชน
ผังแสดงแนวระบบไฟฟ้า
ผังแสดงแนวเมน DUCT BANK ระบบสื่อสาร
ผังแสดงระบบท่อจ่ายน้ำประปา
ผังแสดงแนวคิดการปรับปรุงระบำบัดน้ำเสีย
ผังแสดงแนวคิดปรับปรุงระบบระบายน้ำฝน ป้องกันน้ำท่วม
ผังแสดงจุดบริการสาธารณะภายในมหาวิทยาลัย
ผังแสดงเส้นทางรถขยะและจุดพักขยะ
การควบคุมอาคารและสิ่งก่อสร้าง
เพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารในอนาคต โดยการควบคุมระบบการวางผังอาคารและสิ่งก่อสร้าง ให้มีการใช้ที่ดินที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม และมีลักษณะอาคารสอดคล้องกับอาคารข้างเคียงอย่างเป็นระบบ เพื่อความงดงามและลดความแออัดของอาคารในพื้นที่ มีการกำหนดทางเข้าออกอาคาร ทางบริการ การเปิดมุมมองและทางสัญจรจากภายในสู่ภายนอกอาคารเพื่อเชื่อมธรรมชาติกับอาคารให้เป็นหนึ่งเดียว โดยกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเกิดอาคาร และการออกแบบอาคารในอนาคต ดังนี้
1. รูปผังอาคาร
รูปแบบอาคารในแผนอนาคตจะต้องมีการพิจารณาถึงลักษณะผังอาคาร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบ เช่น ช่องเปิด มุมมอง พื้นที่เปิดโล่ง รูปแบบอาคารเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และการเชื่อมต่อในการใช้งาน
ผังแสดงแผนการก่อสร้างอาคาร ตามผังแม่บท
ภาพแสดงแปลนตัวอย่างการเปิดชั้นล่างโล่งสู่พื้นที่ว่างรอบ การเว้นที่ว่างและเปิดช่องว่าง
ภาพแสดงภาพตัดตัวอย่างการเว้นที่ว่างระหว่างอาคารและภูมิทัศน์รอบอาคาร
2. ความสูงอาคาร
กำหนดแนวทางควบคุมความสูงของอาคาร โดยพิจารณาในแต่ละพื้นที่ บริบท อาคารข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากอาคารสูงบดบังทัศนียภาพต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และปฏิบัติตามกฎหมาย
การกำหนดความสูง (จำนวนชั้น) ของอาคารสร้างใหม่ตามผังแม่บท
พื้นที่ควบคุมความสูงอาคาร ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2549
3. ระยะถอยร่นอาคาร
กำหนดแนวถอยร่นอาคารเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของแนวอาคารให้มีความต่อเนื่องกับอาคารเดิม ป้องกันการเกิดปัญหาความแออัดของอาคาร และพื้นที่เปิดโล่งทำให้อาคารได้รับแสงธรรมชาติ ช่องมองทางสายตา และพื้นที่กิจกรรมเพิ่มขึ้น
ผังระยะร่นอาคาร
4. ระยะร่นระหว่างอาคาร
การพัฒนาและการขยายตัวต่อไปในอนาคต ต้องการพื้นที่ก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องการพื้นที่ว่างระหว่างอาคารเพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ดังนั้น ระยะห่างระหว่างอาคาร จึงควรกำหนดตามความเหมาะสมของกิจกรรม ของบริเวณการใช้ประโยชน์ที่ดิน และความต้องการเพิ่มคุณภาพทางสิ่งแวดล้อม โดยระยะร่นระหว่างอาคาร น้อยที่สุดไม่ควรต่ำกว่า 8 เมตร
ภาพแสดงระยะห่างระหว่างอาคาร
-