Life On Land

ปกป้องฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดิน และฟื้นฟูสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

มหาวิทยาลัยมหิดลมีเป้าหมายในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้นโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ซึ่งได้รับการรับรองจาก Botanic Gardens Conservation International (BGCI) ให้เป็น “สวนพฤกษศาสตร์ที่มีมาตราฐานระดับสากลแห่งแรกในประเทศไทย” และยังได้รับรางวัล Museum Thailand Awards 2021 ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “รางวัลดีเด่น ด้านการอนุรักษ์และสืบสาน” จากการรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรจากตำรายาที่มีคุณค่าและหายากมากว่า 900 ชนิด และยังค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก ได้แก่ • ชมพูราชสิริน ชาฤาษีไทรโยค และดาดดารารัศมี (โดยผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์) • ดาดสังขละบุรี (โดยผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย และนายสุภัทร ประสพศิลป์ นักวิทยาศาสตร์วิทยาเขตกาญจนบุรี) • ดอกดินทยา (โดยนักศึกษาปริญญาเอก และ ผศ.ดร. ทยา เจนจิตติกุลคณะวิทยาศาสตร์) • หญ้าค้อนกลอง สามสิบกีบน้อย ถั่วนกเขาใหญ่ จิกดง และ ดูกเขียว (โดยอาจารย์วงศ์สถิต ฉั่วกุลคณะเภสัชศาสตร์) ซึ่งเป็นความก้าวหน้าในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพไว้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักศึกษาด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เภสัชศาสตร์ และประชาชนทั่วไป เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายาจากสมุนไพรไทย รวมทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศซึ่งเป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ด้วย สำหรับสัตว์มีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร โรงพยาบาล ปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน และคลินิก ม.มหิดลคนรักสัตว์ สำหรับศึกษาและรักษาสัตว์ โดยในปี พ.ศ. 2563 ได้ทำการรักษาสัตว์ไปทั้งสิ้น จำนวน 83,966 ตัว และได้จัดตั้งศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อเฝ้าระวังโรคระบาด โดยมีการเก็บตัวอย่างเชื้อโรคจากสัตว์ 4,493 ตัวอย่าง ผ่านการตรวจวินิจฉัยตามมาตรฐานคุณภาพห้องปฏิบัติการ ISO15189:2012 และความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ISO15190:2003 โดยศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งชาติ ได้ส่งข้อมูลผลการวินิจฉัยจากการเก็บตัวอย่างเชื้อโรคไปยังภาครัฐ เพื่อใช้วางมาตราการป้องกันและควบคุมโรคในสัตว์ ป้องกันโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน และโรคสำคัญอื่น ๆ และได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งสหรัฐอเมริกา The USGS – National Wildlife Health Center ในโครงการ OIE Twinning program เพื่อพัฒนาศักยภาพในการรับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งโรคอุบัติใหม่เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตสัตว์ในอนาคต ความร่วมมือนี้จะเป็นการพัฒนาแนวทางการรักษาที่ดีขึ้น เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าต่อไป นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยได้ดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านทาง 3 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตกาญจนบุรีสร้างฝายชะลอน้ำที่ลดความรุนแรงของน้ำไหลบ่าหน้าดิน ทำให้พบการกลับมาของสัตว์ป่า สัตว์สงวน และการเกิดพืชสมุนไพร ส่งเสริมให้เกิดรายได้แก่ชุมชนในท้องถิ่น วิทยาเขตนครสวรรค์ดูแลพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างความร่วมมือกับชุมชนในการใช้น้ำและจัดการป่าอย่างมีประสิทธิภาพ และวิทยาเขตอำนาจเจริญจัดการด้านป่าชุมชนเป็นแนวทางในการรักษาพื้นที่ป่าและพัฒนา สำรวจความหลากหลายของทรัพยากร ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้การดำรงชีพอย่างสมดุลกับธรรมชาติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    13 11 15
    1 พ.ย. 2566
    สวนมุมสวย
    กระตุ้นการพัฒนา/ปรับปรุงพื้นที่ว่างที่ไม่มีการใช้ประโยชน์หรือพื้นที่สีเขียวเดิมที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อกิจกรรมการศึกษา กีฬาหรือนันทนาการ รวมทั้งเพิ่มการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งช่วยเพิ่มการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากกิจกรรมต่างๆ
  • thumb
    25 ก.ย. 2566
    แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน
    การนำแนวคิด ความรู้ และหลักการทางนิเวศวิทยาในการบริหารจัดการเกษตรกรรมด้วยระบบวนเกษตร สู่แผนนโยบายขับเคลื่อนชี้นำสังคม เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
  • thumb
    13 15
    11 ก.ย. 2566
    อิทธิพลของสภาพภูมิอากาศต่อสัณฐานวิทยาของไซเลมตลอดฤดูกาลเติบโต: ข้อมูลเชิงลึกจากกายวิภาคของวงปีไม้ในระยะยาวในไม้สนเขตร้อนชื้นของประเทศไทย
    ป่าฝนเขตร้อนถูกคุกคามอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษานี้จะศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคของในลำต้นของต้นสนเขตร้อน ประเมินการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของปัจจัยแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดเซลล์ที่สังเกตจากวงปีไม้สน รวมถึงวิเคราะห์ค่าออกซิเจนไอโซโทปในเซลลูโลสของไม้ และหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าออกซิเจนไอโซโทปกับสภาพภูมิอากาศ เพื่อที่จะประเมินให้ชัดเจนขึ้นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อต้นไม้ ป่าไม้ วัฏจักรชีวเคมี อย่างไร
  • thumb
    15
    11 ก.ย. 2566
    การปรากฏและการกระจายของละองละมั่งภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี
    การศึกษาการปรากฏและการกระจายของละองละมั่งที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี มาเป็นเวลา 10 ปี โดยใช้การวางกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า และวิเคราะห์การปรากฏและการกระจายของละองละมั่งโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เพื่อเป็นการติดตามความสำเร็จในการปล่อยละองละมั่งและใช้เป็นแนวทางในการจัดการพื้นที่ เพื่อการอนุรักษ์ประชากรละองละมั่งภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับประเทศไทยต่อไป
  • thumb
    15
    11 ก.ย. 2566
    โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์วัวแดง (Bos javanicus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการนี้เน้นสภาพปัจจุบันของวัวแดงในพื้นที่ต่าง ๆ เทียบกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระที่เป็นต้นแบบในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และศึกษาธรรมชาติ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการเรียนรู้ของเยาวชน ประชาชน และชุมชนบนพื้นฐานจากงานวิจัยด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจการจัดการอนุรักษ์วัวแดงในพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ต่อไป
  • thumb
    11 13 15
    8 ก.ย. 2566
    โครงการวิจัย “การจัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง”
    พื้นที่แหล่งมรดกทางธรรมชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ใน พ.ศ.2534 ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นมรดกโลก โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ข้อที่ 7, 9 และ 10 ซึ่งมีรายละเอียด คือ ข้อที่ 7 ประกอบด้วยปรากฎการณ์ทางธรรมชาติชั้นเยี่ยม หรือพื้นที่ซึ่งมีความงามทางธรรมชาติที่ยอดเยี่ยม และมีความสำคัญทางสุนทรียะ ข้อที่ 9 เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นที่สะท้อนถึงกระบวนการสำคัญที่ดำเนินอยู่ทางนิเวศวิทยาและชีววิทยา ในวิวัฒนาการและการพัฒนาของระบบนิเวศบนบก น้ำจืด ชายฝั่งและท้องทะเล และสังคมพืชและสัตว์และข้อที่ 10 บรรจุไว้ซึ่งถิ่นที่อาศัยทางธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่ง และถิ่นอาศัยที่มีนัยสำคัญในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่น รวมถึงที่รวบรวมไว้ซึ่งชนิดพันธ์ของคุณค่าโดดเด่นเป็นสากลที่ถูกคุกคามจากมุมมองของวิทยาศาสตร์หรือการอนุรักษ์
  • thumb
    15 13
    6 ก.ย. 2566
    การกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
    การประเมินการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้จำนวน 209.87 ไร่ โดยการวางแปลงชั่วคราวสำรวจทรัพยากรป่าไม้ขนาด 40x40 เมตร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบประเภท
  • thumb
    4 ก.ย. 2566
    การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย
    บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการ รวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที
  • thumb
    4 ก.ย. 2566
    การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ปี 2566
    “บึงบอระเพ็ด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลาย ทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ 7 ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว
  • thumb
    1 ก.ย. 2566
    โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”
    การทำธุรกิจเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้ และรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะวิกฤตการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และกระแสคนรักสุขภาพ ความรู้และทักษะการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎียิ่งจำเป็นมากขึ้นต่อการขับเคลื่อนการเกษตรได้ท่ามกลางฤดูกาลผิดปกติ และส่งมอบสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้ผู้บริโภค
  • thumb
    15
    30 ส.ค. 2566
    นิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 5 Botanical Art Thailand 2023
    นิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 5” สานร้อยความงามของพืชพรรณผ่านการเรียนรู้พฤกษศาสตร์ สร้างสรรค์เป็นภาพวาดงดงาม จัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพร่วมกับเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ และพันธมิตรหลายหน่วยงาน
  • thumb
    13 15
    20 ก.ค. 2566
    การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อลดการเผาอ้อยและเศษวัสดุในไร่อ้อย ในจังหวัดกาญจนบุรี
    ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาวัสดุการเกษตรในที่โล่ง จากข้อมูลสถิติในช่วงปี ค.ศ. 1960-2015 แสดงให้เห็นว่าถึงแม้ปริมาณเศษวัสดุของข้าวที่ถูกเผาจะสูงกว่าอ้อย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 พบปริมาณเศษวัสดุของข้าวมีแนวโน้มที่ลดลง ในทางกลับกันเศษวัสดุของอ้อยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะเกี่ยวข้องกับนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการใช้พลังงานจากพืชมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงปิโตรเลียม จึงทำให้พื้นที่การเพาะปลูกข้าวลดลงและเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยเพื่อผลิตและกลั่นเป็นเอทานอลที่นำมาผสมกับน้ำมันปิโตรเลียมเพื่อผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์มากขึ้น (Kumar, Feng, Sun, & Bandaru, 2022) รวมทั้งนโยบายของรัฐที่สนับสนุนการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกข้าวไปปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่นแทน ซึ่งรวมถึงอ้อยด้วย กาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่มีการทำไร่อ้อยเป็นวงกว้าง และมีโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ถึง 8 แห่งจาก 20 แห่งทั่วภาคกลาง และจาก 56 แห่งทั่วประเทศ ในด้านสถิติการปลูกอ้อยปี 2563 กาญจนบุรีมีพื้นที่ในการปลูกอ้อยทั้งสิ้น 753,424 ไร่ นับเป็นอันดับสามในประเทศ หรือมีพื้นที่ผลิตอ้อยมากกว่าพื้นที่ในการผลิตโดยรวมในภาคตะวันตกซึ่งมีการปลูกอ้อยทั่วทั้งภูมิภาค จำนวน 659,249 ไร่ กาญจนบุรีจึงถูกนับเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลขนาดใหญ่ของประเทศ (ณิชภัทร์ กิจเจริญ, 2563) ปัญหาการเกิดฝุ่นควันในจังหวัดกาญจนบุรีเกิดขึ้นจากสองส่วนหลักๆ คือ ได้แก่ ส่วนแรก คือควันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเฉพาะไฟป่าในฤดูหนาวและฤดูแล้ง ซึ่งเอื้อให้เกิดสภาพดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่นอกตัวเมืองตั้งแต่อำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ รวมทั้งอำเภอสังขละบุรี ส่วนที่สองคือ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งสาเหตุนี้ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 มากกว่าควันจากธรรมชาติ และปฏิเสธไม่ได้ว่า ฝุ่นควันและเขม่าส่วนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรีเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำตาลและการปลูกอ้อย ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลเชื่อมโยงต่อการเผาอ้อย ได้แก่ รถตัดอ้อย แรงงานรับจ้างตัดอ้อย และโรงงานน้ำตาลที่รับซื้ออ้อย ซึ่งมาตรการของภาครัฐที่ออกมายังมีไม่มีประสิทธิผลมากพอที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เคยปฏิบัติเป็นประจำ โดยกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยน้อยกว่า 20 ไร่ ถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้การบังคับใช้มาตรการจากภาครัฐอาจจะยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เนื่องด้วยพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่มีขนาดเล็กทำให้รถตัดอ้อยซึ่งมีต้นทุนที่ถูกที่สุดต่อหน่วยพื้นที่การปลูกอ้อยไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ การจ้างรถตัดอ้อยด้วยเกษตรกรรายย่อยเพียงไม่กี่รายมักถูกปฏิเสธจากรถตัดเพราะได้ค่าตัดไม่คุ้ม นอกจากนี้เกษตรกรรายย่อยมักมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ต้องเร่งรีบตัดและขายอ้อยให้กับโรงงานเพื่อให้ทันการปิดหีบ ประเด็นเรื่องอ้อยไฟไหม้มีความซับซ้อน มีผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก อีกทั้งเกษตรกรที่ทำไร่อ้อยก็มีความแตกต่างกัน ทั้งกลุ่มที่ทำไร่ขนาดใหญ่มีทุนสูง หรือเกษตรรายย่อยทำในพื้นที่ขนาดเล็กที่ไม่มีเครื่องมือหรือเงินทุนน้อย ซึ่งมีโอกาสและข้อจำกัดไม่เหมือนกัน จึงมักจะสังเกตได้ว่า แม้จะมีมาตรการต่าง ๆ ออกมามากมาย แต่ไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ดังนั้น การศึกษานี้ จึงมีเป้าหมายที่จะอธิบายกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทตลอดห่วงโซ่ของการปลูกอ้อยอย่างเป็นระบบ รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานในแต่ละระดับที่มีส่วนดูแลป้องกันและแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ ว่าแต่ละส่วนมีบทบาทอย่างไร มาตรการใดที่ได้ผล และไม่ได้ผล ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปสู่การค้นหาแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่ซึ่งถูกพัฒนาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการลดการเผาลง โดยการวิเคราะห์ปัญหาและความเชื่อมโยงของเหตุและผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบของการเผาอ้อยในจังหวัดกาญจนบุรีจะถูกวิเคราะห์และนำเสนอผ่านเครื่องมือ “วงรอบเหตุและผล” (causal loop diagram)
จำนวนทั้งหมด 36 รายการ