Life On Land

ปกป้องฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดิน และฟื้นฟูสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

มหาวิทยาลัยมหิดลมีเป้าหมายในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้นโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ซึ่งได้รับการรับรองจาก Botanic Gardens Conservation International (BGCI) ให้เป็น “สวนพฤกษศาสตร์ที่มีมาตราฐานระดับสากลแห่งแรกในประเทศไทย” และยังได้รับรางวัล Museum Thailand Awards 2021 ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “รางวัลดีเด่น ด้านการอนุรักษ์และสืบสาน” จากการรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรจากตำรายาที่มีคุณค่าและหายากมากว่า 900 ชนิด และยังค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก ได้แก่ • ชมพูราชสิริน ชาฤาษีไทรโยค และดาดดารารัศมี (โดยผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์) • ดาดสังขละบุรี (โดยผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย และนายสุภัทร ประสพศิลป์ นักวิทยาศาสตร์วิทยาเขตกาญจนบุรี) • ดอกดินทยา (โดยนักศึกษาปริญญาเอก และ ผศ.ดร. ทยา เจนจิตติกุลคณะวิทยาศาสตร์) • หญ้าค้อนกลอง สามสิบกีบน้อย ถั่วนกเขาใหญ่ จิกดง และ ดูกเขียว (โดยอาจารย์วงศ์สถิต ฉั่วกุลคณะเภสัชศาสตร์) ซึ่งเป็นความก้าวหน้าในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพไว้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักศึกษาด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เภสัชศาสตร์ และประชาชนทั่วไป เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายาจากสมุนไพรไทย รวมทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศซึ่งเป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ด้วย สำหรับสัตว์มีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร โรงพยาบาล ปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน และคลินิก ม.มหิดลคนรักสัตว์ สำหรับศึกษาและรักษาสัตว์ โดยในปี พ.ศ. 2563 ได้ทำการรักษาสัตว์ไปทั้งสิ้น จำนวน 83,966 ตัว และได้จัดตั้งศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อเฝ้าระวังโรคระบาด โดยมีการเก็บตัวอย่างเชื้อโรคจากสัตว์ 4,493 ตัวอย่าง ผ่านการตรวจวินิจฉัยตามมาตรฐานคุณภาพห้องปฏิบัติการ ISO15189:2012 และความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ISO15190:2003 โดยศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งชาติ ได้ส่งข้อมูลผลการวินิจฉัยจากการเก็บตัวอย่างเชื้อโรคไปยังภาครัฐ เพื่อใช้วางมาตราการป้องกันและควบคุมโรคในสัตว์ ป้องกันโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน และโรคสำคัญอื่น ๆ และได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งสหรัฐอเมริกา The USGS – National Wildlife Health Center ในโครงการ OIE Twinning program เพื่อพัฒนาศักยภาพในการรับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งโรคอุบัติใหม่เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตสัตว์ในอนาคต ความร่วมมือนี้จะเป็นการพัฒนาแนวทางการรักษาที่ดีขึ้น เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าต่อไป นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยได้ดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านทาง 3 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตกาญจนบุรีสร้างฝายชะลอน้ำที่ลดความรุนแรงของน้ำไหลบ่าหน้าดิน ทำให้พบการกลับมาของสัตว์ป่า สัตว์สงวน และการเกิดพืชสมุนไพร ส่งเสริมให้เกิดรายได้แก่ชุมชนในท้องถิ่น วิทยาเขตนครสวรรค์ดูแลพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างความร่วมมือกับชุมชนในการใช้น้ำและจัดการป่าอย่างมีประสิทธิภาพ และวิทยาเขตอำนาจเจริญจัดการด้านป่าชุมชนเป็นแนวทางในการรักษาพื้นที่ป่าและพัฒนา สำรวจความหลากหลายของทรัพยากร ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้การดำรงชีพอย่างสมดุลกับธรรมชาติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    01 08 15
    14 ก.ย. 2565
    โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
    โครงการ U2T for BCG จัดสรรบุคลากรที่อยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบล นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ
  • thumb
    1 ก.ย. 2566
    โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”
    หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) มีเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะด้านการประกอบการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสนใจในสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทักษะในการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎีและปฏิบัติกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการช่วยให้การเกษตรเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน และสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้
  • thumb
    15
    11 ก.ย. 2566
    โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์วัวแดง (Bos javanicus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการนี้เน้นสภาพปัจจุบันของวัวแดงในพื้นที่ต่าง ๆ เทียบกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระที่เป็นต้นแบบในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และศึกษาธรรมชาติ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการเรียนรู้ของเยาวชน ประชาชน และชุมชนบนพื้นฐานจากงานวิจัยด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจการจัดการอนุรักษ์วัวแดงในพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ต่อไป
  • thumb
    13 15
    11 ก.ย. 2566
    อิทธิพลของสภาพภูมิอากาศต่อสัณฐานวิทยาของไซเลมตลอดฤดูกาลเติบโต: ข้อมูลเชิงลึกจากกายวิภาคของวงปีไม้ในระยะยาวในไม้สนเขตร้อนชื้นของประเทศไทย
    ป่าฝนเขตร้อนถูกคุกคามอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษานี้จะศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคของในลำต้นของต้นสนเขตร้อน ประเมินการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของปัจจัยแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดเซลล์ที่สังเกตจากวงปีไม้สน รวมถึงวิเคราะห์ค่าออกซิเจนไอโซโทปในเซลลูโลสของไม้ และหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าออกซิเจนไอโซโทปกับสภาพภูมิอากาศ เพื่อที่จะประเมินให้ชัดเจนขึ้นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อต้นไม้ ป่าไม้ วัฏจักรชีวเคมี อย่างไร
  • thumb
    11 ก.ย. 2566
    การปรากฏและการกระจายของละองละมั่งภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี
    การติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ติดตามรูปแบบการปรากฏและการกระจายของประชากรละองละมั่งที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี มาเป็นเวลา 10 ปี เพื่อเป็นการติดตามความสำเร็จในการปล่อยละองละมั่งและใช้เป็นแนวทางในการจัดการพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ประชากรละองละมั่ง
  • thumb
    11 13 15
    8 ก.ย. 2566
    โครงการวิจัย “การจัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง”
    พื้นที่แหล่งมรดกทางธรรมชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ใน พ.ศ.2534 ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นมรดกโลก โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ข้อที่ 7, 9 และ 10 ซึ่งมีรายละเอียด คือ ข้อที่ 7 ประกอบด้วยปรากฎการณ์ทางธรรมชาติชั้นเยี่ยม หรือพื้นที่ซึ่งมีความงามทางธรรมชาติที่ยอดเยี่ยม และมีความสำคัญทางสุนทรียะ ข้อที่ 9 เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นที่สะท้อนถึงกระบวนการสำคัญที่ดำเนินอยู่ทางนิเวศวิทยาและชีววิทยา ในวิวัฒนาการและการพัฒนาของระบบนิเวศบนบก น้ำจืด ชายฝั่งและท้องทะเล และสังคมพืชและสัตว์และข้อที่ 10 บรรจุไว้ซึ่งถิ่นที่อาศัยทางธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่ง และถิ่นอาศัยที่มีนัยสำคัญในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่น รวมถึงที่รวบรวมไว้ซึ่งชนิดพันธ์ของคุณค่าโดดเด่นเป็นสากลที่ถูกคุกคามจากมุมมองของวิทยาศาสตร์หรือการอนุรักษ์
  • thumb
    15 13
    6 ก.ย. 2566
    การกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
    การประเมินการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้จำนวน 209.87 ไร่ โดยการวางแปลงชั่วคราวสำรวจทรัพยากรป่าไม้ขนาด 40x40 เมตร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบประเภท
  • thumb
    4 ก.ย. 2566
    การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย
    บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการ รวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    มาตรฐาน MU Organic
    เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์
  • thumb
    15
    30 ส.ค. 2566
    นิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 5 Botanical Art Thailand 2023
    นิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 5” สานร้อยความงามของพืชพรรณผ่านการเรียนรู้พฤกษศาสตร์ สร้างสรรค์เป็นภาพวาดงดงาม จัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพร่วมกับเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ และพันธมิตรหลายหน่วยงาน
  • thumb
    12 13 15
    7 ต.ค. 2565
    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)
    ถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
    ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต
จำนวนทั้งหมด 42 รายการ