Decent work and Economic Growth

ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืนการจ้างงานเต็มที่ และมีผลิตภาพและการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน

มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ยอมรับในการผลิตบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ และยังผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับในตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดลยังคำนึงถึงความเป็นอยู่ของบุคลากรโดยสนับสนุนสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ครอบคลุมในทุกด้าน เช่น การรักษาพยาบาล การได้รับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย สำหรับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มหาวิทยาลัยสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพ โดยแบ่งเป็น สายวิชาการ (อาจารย์และนักวิจัย) สามารถเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ เช่น นักวิจัยระดับ 1-4 ศาสตราจารย์วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ และสายสนับสนุน (พนักงานมหาวิทยาลัย) สามารถเลื่อนตำแหน่งสายสนับสนุน เช่น ชำนาญงาน ชำนาญการ เชี่ยวชาญ ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ มีการสนับสนุนสวัสดิการด้านการเงิน เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมหาวิทยาลัยมหิดลและเงินช่วยเหลือต่าง ๆ มีนโยบายการเลื่อนเงินเดือนที่เป็นธรรม จากการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2 ครั้ง/ปี ในทุกระดับ โดยยึดตามคุณภาพงานและใช้หลักธรรมาภิบาลครอบคลุมทุกกระบวนการ บทบาทของมหาวิทยาลัยที่มีต่อสังคมในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในด้านการสร้างทักษะแก่ร้านค้าหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบ ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ ส่งผลให้อัตราการตกงานเพิ่มขึ้นมหาวิทยาลัยมหิดลจึงจัดการฝึกอบรมระยะสั้นรูปแบบออนไลน์เพื่อ Upskill Reskill เกี่ยวกับการค้าขายออนไลน์และการสร้างอาชีพในรูปแบบใหม่ให้กับประชาชนทั่วไป เช่น การสร้างแบรนด์ขั้นพื้นฐาน การระดมทุนของธุรกิจสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการและนวัตกรรมสำหรับธุรกิจผู้สูงวัย การจัดการท่องเที่ยว และการบริการในยุค 4.0 เป็นต้น ทำให้เกิดช่องทางธุรกิจออนไลน์เพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง

Highlights
  • thumb
    10 ส.ค. 2565
    สร้างฝายชะลอน้ำ (CHECK DAM) แล้วได้ประโยชน์อย่างไร
    วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดลเดิมประสบปัญหาการพังทลายของหน้าดิน เนื่องจากการชะล้างของน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนได้ไหลเข้าท่วมสู่อำเภอไทรโยค เนื่องจากสถานที่ตั้งของวิทยาเขตกาญจนบุรีอยู่บนที่ราบเชิงเขา ทำให้สถานที่ราชการ บ้านเรือนประชาชน ถนน ได้รับความเสียหายส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนของชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลวังโพ อำเภอไทรโยค ในปี 2553 วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้มีความร่วมมือกับ SCGP โรงงานวังศาลา ได้เข้ามาศึกษาและสำรวจการพังทลายของชั้นดินบริเวณวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยเห็นควรให้มีการจัดสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้วิทยาเขตกาญจนบุรีจึงได้มีความร่วมมือกับทาง SCGP โรงงานวังศาลา และทุกภาคส่วนในอำเภอไทรโยค ในการเริ่มสร้างฝายชะลอน้ำขึ้นในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มาเป็นลำดับในทุกปี โดย ณ ปัจจุบัน มีฝายชะลอน้ำทั้งหมดจำนวน 427 ฝาย วัตถุประสงค์หลักของการสร้างฝายในพื้นที่มิได้เพื่อการกักเก็บน้ำเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเขาหินปูน มีรูพรุนใต้พื้นดินเป็นจำนวนมากไม่สามารถเก็บน้ำได้ แต่การสร้างฝายเพือชะลอน้ำ และลดความรุนแรงของน้ำเพื่อไม้ให้สูญเสียหน้าดิน อีกทั้งยังต้องการให้พื้นป่ามีความชุ่มชื้นที่ยาวนานขึ้น โดยส่วนใหญ่ฝายชะลอน้ำสร้างจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เศษไม้ ปลายไม้ หิน สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและไม่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ
  • thumb
    5 เม.ย. 2567
    กลไกการพัฒนาระบบการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม
    พัฒนาระบบที่เป็นแหล่งรวมงานที่เป็นความต้องการคนพิการ และสถานประกอบการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ มีระบบทีมสนับสนุน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนพิการและสถานประกอบการ รวมทั้งการ การสร้างการตระหนักรู้ในสถานประกอบการ และพัฒนาระบบองค์กรตัวกลาง โดยมีเครือข่ายความร่วมมือ
  • thumb
    03 04 08
    20 ก.ค. 2566
    HAPPINOMETER
    HAPPINOMETER คือ นวัตกรรมทางด้านสังคมศาสตร์ในการสนับสนุนการสร้างเสริม คุณภาพชีวิต ความผูกพันองค์กร ความสุข และ สมดุลชีวิต ระดับคนวัยทำงาน และ ระดับองค์กร ไปจนถึง ภาพรวมคุณภาพชีวิตและความสุขคนวัยทำงานระดับประเทศ และ ภาพรวมองค์กรแห่งความสุขระดับประเทศ
  • thumb
    24 ส.ค. 2565
    การพัฒนามันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ
    พัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์มันสำปะหลังให้มีปริมาณแป้งและผลผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความต้านทานต่อโรคใบด่าง โดยการคัดเลือกนั้นจะเป็นการผสมผสานการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังแบบดั้งเดิม ร่วมกับการนำเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการคัดเลือก
  • thumb
    02 06 08
    24 ส.ค. 2565
    งานวิจัย เรื่อง "กุ้งก้ามกรามแปลงเพศ MU1"
    เป็นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีด้านชีวโมเลกุล โดยการนำกุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่ปลอดโรค สุขภาพดี โตเร็ว มากระตุ้นให้เกิดการแปลงเพศเป็นเพศเมียด้วยสารประกอบชีวโมเลกุล (คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 181006124) ผ่านกรรมวิธีการการผลิตกุ้งแปลงเพศ (คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 181006125) สำหรับกระตุ้นการแปลงเพศ จนกระทั่งได้กุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่มีเพศสภาพภายนอกเป็นเพศเมีย เมื่อนำไปผสมกับพ่อพันธุ์กุ้งก้ามกราม ก็จะให้ลูกก้ามกรามเพศผู้
  • thumb
    16 08 10
    31 ส.ค. 2565
    สื่อสร้างสรรค์ป้องกันการค้ามนุษย์ในเด็ก
    ทีมวิจัยของเราได้ผลิตเครื่องมือการสอนต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการค้าเด็ก เพราะเราเชื่อว่าเด็กทุกคนรวมถึงนักเรียนข้ามชาติมีสิทธิเท่าเทียมกันในสิทธิมนุษยชน ดังนั้น พวกเขาจึงควรได้รับการปกป้องจากการแสวงประโยชน์จากมนุษย์ในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ชาติกำเนิด ชาติพันธุ์หรือสังคม ความเห็นทางการเมืองหรืออื่นใด ทรัพย์สิน ความทุพพลภาพ กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ ของผู้ปกครองหรือผู้ปกครอง
  • thumb
    04 08
    19 ส.ค. 2565
    งานอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน
    สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (NICFD) และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บ (CSIP) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลเล็งเห็นว่าเด็กวัยเรียน/นักเรียน ควรมีความสมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม ที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลรวมทั้งได้รับการดูแล ความคุ้มครองและสร้างทักษะความสามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น ให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ถูกทำร้ายและปลอดจากภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจึงจัดโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนและการรับรองโรงเรียนปลอดภัย ในนาม “MU Safe School” ขึ้น เพื่อพัฒนาสุขภาวะและความปลอดภัยของนักเรียนในโรงเรียน พัฒนาความรู้และทักษะความปลอดภัยแก่บุคลากรและครู สนับสนุนรูปแบบการดำเนินงานและยกระดับการรับรองโรงเรียนปลอดภัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ สถานศึกษา-โรงเรียน ผู้บริหารบุคลากรและครูในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนละแวกโรงเรียน
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน
    การสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ให้ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมร่วมกันทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ มีกลไกคณะทำงานในการบริหารจัดการศูนย์ดูแลกลางวัน โดยมีครูอาสาในการสร้างการเรียนรู้ 12 ฐาน และมีกองทุนศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม
  • thumb
    08 12
    8 ก.ย. 2566
    แผนงานการศึกษากลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวบนความยั่งยืน Study of Financial Mechanism for Natural Heritage Management on Sustainable Tourism Perspective
    การปิดอุทยานแห่งชาติเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้นฟู อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ การจัดการกลไกทางการเงินเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเสนอแหล่งที่มาของรายได้และวิธีการจัดสรรด้านการเงินเพื่อชดเชยกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  • thumb
    01 08 15
    14 ก.ย. 2565
    โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
    โครงการ U2T for BCG จัดสรรบุคลากรที่อยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบล นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ
  • thumb
    29 ก.ย. 2566
    การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG
    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ด้วยการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในประเทศไทยขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG และเพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ
  • thumb
    14 03 08
    18 ต.ค. 2565
    การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล : การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่
    โครงการได้รวบรวมองค์ความรู้ทั้งในระดับสากลและระดับชาติ และจัดการประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อันจะนำมาซึ่งข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการวางแผนการใช้ประโยชน์ทางทะเลสำหรับประเทศไทย และสามารถต่อยอดผลการศึกษาไปสู่การวิจัยในพื้นที่นําร่องต่อไป
จำนวนทั้งหมด 23 รายการ