HAPPINOMETER

detail

HAPPINOMETER Model ใช้ควบคู่กับการพัฒนา ศักยภาพ ทักษะ กรอบความคิด การเป็นพลเมืองดิจิตอล และ Capital Leadership มีความจำเป็นและสำคัญมาก โดยเฉพาะเพื่อเพิ่มผลผลิตและขีดความสามารถให้กับพนักงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่หน่วยงานหรือองค์กรให้ความสำคัญ

 HAPPINOMETER คืออะไร?

                                                                                                                               

  • HAPPINOMETER คือ นวัตกรรมทางด้านสังคมศาสตร์ในการสนับสนุนการสร้างเสริม คุณภาพชีวิต ความผูกพันองค์กร ความสุข และ สมดุลชีวิต ระดับคนวัยทำงาน และ ระดับองค์กร ไปจนถึง ภาพรวมคุณภาพชีวิตและความสุขคนวัยทำงานระดับประเทศ และ ภาพรวมองค์กรแห่งความสุขระดับประเทศ
  • พัฒนาขึ้นเมื่อปี 2551 โดย คณะวิจัยจาก สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • ประกอบด้วย 11 มิติ ได้แก่ Happy Body, Happy Relax, Happy Heart, Happy Soul, Happy Family, Happy Society, Happy Brain, Happy Money, Happy Work-Life, Work-Life Balance, Engagement และ Work-Life Balance นับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา
  • เป็น เครื่องมือวัดความสุขด้วยตนเอง เป็นเครื่องมือที่มีความก้าวหน้า ทันสมัย ผสมผสานวิทยาการเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทั้งแบบ paper-based, online-based และ application-based ที่คนวัยทำงานทุกคนสามารถวัดความสุขได้ด้วยตนเอง ทราบผลระดับความสุขทันที นำผลการวัดไปบริหารจัดการคุณภาพชีวิตและความสุข ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
  • ได้รับการยอมรับและนำไปใช้ ในองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กระจายไปทั่วไประเทศ และ มีการสำรวจ คุณภาพชีวิต ความผูกพันองค์กร ความสุข และ องค์กรแห่งความสุข เป็นรายปีทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2555 สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน
  • จุดเด่นของเครื่องมือ HAPPINOMETER คือ สามารถเลือกใช้แบบวัดได้ตามความต้องการ เพราะมีทั้งแบบสั้น ไม่เกิน 30 ข้อ คำถาม และ แบบมาตรฐาน มีข้อคำถาม 78 ข้อ 
  • มี 10 ภาษา ให้เลือกใช้ ประกอบด้วยภาษา ไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย พร้อมสำหรับการวัดคุณภาพชีวิต ความผูกพันองค์ ความสุขคนวัยทำงาน และ องค์กรแห่งความสุข ขององค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาค ASEAN
  • มีคู่มืออธิบายพร้อมใช้ พร้อมวิเคราะห์ ใช้ง่าย สะดวก ประหยัด เป็นมาตรฐาน ทราบผลทันที
  • ใช้เป็นเครื่องมือติดตามประเมินผลได้อย่างต่อเนื่อง ใช้เทียบเคียง เพื่อนำไปสู่ การปฏิบัติที่ดีเลิศ
  • องค์กรที่ใช้   สามารถเสนอเพิ่มข้อคำถามที่เป็นความต้องการพิเศษขององค์กร ตามความจำเป้นและเหมาะสม เข้ามาในแบบ HAPPINOMETER ร่วมในการสำรวจได้ด้วย
  • เป็นเครื่องมือของผู้บริหารองค์กรใช้เป็นกรอบในการวางแผน ดำเนินการ ติดตาม ประเมินผล นำไปบริหารจัดการ คุณภาพชีวิต ความผูกพันองค์กร ความสุขของคนในองค์กร และ องค์กรแห่งความสุข ได้ทุกระดับอย่างถูกจุดและถูกใจ

                                                 

กรอบแนวคิดของ HAPPINOMETER

            

HAPPINOMETER MODEL

                                                                                                                                    

   

กลุ่มเป้าหมาย

ได้แก่ คนทำงาน (ลูกจ้าง หรือ พนักงาน) อายุ 18 ปีขึ้นไป ในองค์กรหรือสถานประกอบการในประเทศไทย (ไม่รวม คนทำงานภาคเกษตรกรรมและป่าไม้ การทำเหมืองหรือกิจกรรมการจ้างงานในครัวเรือนที่ไม่เป็นลักษณะองค์กรหรือสถานประกอบการ, ผู้ประกอบอาชีพส่วนตัว, เจ้าของกิจการ) เพื่อให้ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาสามารถใช้เป็นตัวแทน (representative) ข้อมูลความสุขของคนทำงานในระดับประเทศ และระดับประเภทอุตสาหกรรม การสำรวจความสุขคนทำงานโดยเครื่องมือ HAPPINOMETR ออกแบบให้ครอบคลุมคนทำงาน (ในองค์กร) ในทุกประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย (Thailand Standard Industrial Classification-TSIC) ซึ่งกำหนดไว้ทั้งสิ้น 21 หมวดใหญ่ อย่างไรก็ตาม  เนื่องจาก บริบทการทำงานในอุตสาหกรรมจำนวน 4 ประเภทมีลักษณะที่ไม่เข้าข่าย “องค์กร หรือ สถานประกอบการ” ได้แก่ ประเภทเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง, ประเภทการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน, ประเภทกิจกรรมการจ้างงานในครัวเรือนส่วนบุคคล, ประเภทกิจกรรมขององค์การระหว่างประเทศและภาคีสมาชิก การสำรวจฯ นี้จึงครอบคลุม 17 ประเภทอุตสาหกรรม ประกอบด้วย

ประเภท  C  :  การผลิต

ประเภท  D  :  ไฟฟ้า  ก๊าซ  ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ

ประเภท  E  :  การจัดหาน้ำ การจัดการ และการบำบัดน้ำเสีย ของเสีย และสิ่งปฏิกูล

ประเภท  F  :  การก่อสร้าง

ประเภท  G  :  การขายส่ง  และการขายปลีก  การซ่อมยานยนต์  และรถจักรยานยนต์

ประเภท  H  :  การขนส่ง  และสถานที่เก็บสินค้า 

ประเภท  I  :  ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

ประเภท  J  :  ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

ประเภท  K  :  กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย

ประเภท  L  :  กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 

ประเภท  M  : กิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และเทคนิค

ประเภท  N  :  กิจกรรมการบริหารและการบริการสนับสนุน

ประเภท  O  :  การบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ

ประเภท  P  :  การศึกษา

ประเภท  Q  :  กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์

ประเภท  R  :  ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ

ประเภท  S  :  กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ

 

ผลการสำรวจ ปี2564 และ 2565 

                                                                                                                        

                                                                                                                  

 

ความก้าวหน้าของ HAPPINOMETER

ปัจจุบันมีโครงการจำนวนมากที่ได้ใช้เครื่องมือ HAPPINOMETER ในการวัดความสุขของคนในองค์กร ได้แก่

       1.Happy University Thailand

ในระยะโครงการช่วง ปี พ.ศ. 2563 – 2565

ได้มีมหาวิทยาลัยภาคีเครือข่ายที่ร่วมเซ็น MOU จำนวน 51 แห่ง  จำนวนมหาวิทยาลัย ที่ร่วมวัดความสุขกับเครื่องมือของเรา ในส่วนของบุคลากร มีจำนวน 36 แห่ง ส่วนของนักศึกษา จำนวน 30 แห่ง

จำนวน มหาวิทยาลัย ที่เข้ากิจกรรมอบรม R2H (Routine to Happiness) ทั้งสิ้นจำนวน 41 แห่ง และเกิดนักสร้างสุขจำนวน 954 คน

จำนวนมหาวิทยาลัยต้นแบบ มีศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยแห่งความสุข จำนวน 9 แห่ง 8 โมเดล ในการสร้างสุขภาวะทั้งในกลุ่มบุคลากรและนิสิตนักศึกษา

ในระยะโครงการช่วง ปี พ.ศ. 2566 – 2568

ปัจจุบันได้มีมหาวิทยาลัยภาคีเครือข่ายที่ร่วมเซ็น MOU จำนวน 35 แห่ง  จำนวนมหาวิทยาลัย ที่ร่วมวัดความสุขกับเครื่องมือของเรา ในส่วนของบุคลากร มีจำนวน 12 แห่ง ส่วนของนักศึกษา จำนวน 7 แห่ง (ยังคงมีบางมหาวิทยาลัยอยู่ในระหว่างการสำรวจ)

จำนวน มหาวิทยาลัย ที่เข้ากิจกรรมอบรม AR2H (Advanced Routine to Happiness) ทั้งสิ้นจำนวน 7 แห่ง และเกิดนักสร้างสุขจำนวน 480 คน ณ ปัจจุบัน

       2.SHAP

โครงการ SHAP เริ่ม มีนาคม – สิงหาคม 2566 มีสถานประกอบการที่ได้ดำเนินการภายใต้โครงการฯ

ปี 2564 จำนวน 80 องค์กร

ปี 2565 จำนวน 130 องค์กร

องค์กรที่เป็น Wellness Center จำนวน 13 องค์กร

ยกตัวอย่าง องค์กรดีเด่นระดับเพชร

1.บริษัท ซี เอส ซู (2008) จำกัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.บริษัท เอสเธติค พลัส จำกัด

3.บริษัทอ่าวนาง พลาซ่า จำกัด (โรงแรมอ่าวนางปริ้นซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา)

       3. Happy Family

โครงการการสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่นและมีสุขเพื่อคนทำงานองค์กร (ปี 2561 -2564)

วัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการคือ
1. ขับเคลื่อน “ครอบครัวอบอุ่น” ไปสู่ “ครอบครัวมีสุข” จำนวน 100 องค์กรในปี 2563 โดย ดำเนินมาตรการ

2. เสริมสร้าง “นวัตกรรมครอบครัวมีสุขคนทำงานองค์กรในประเทศไทย” เพื่อใช้เป็น ต้นแบบ การบริหารจัดการ “แผนปฏิบัติการครอบครัวมีสุข” ในสังคมไทย

มีพี่เลี้ยงองค์กรต้นแบบ ถึง 20 องค์กร

 

                                                         

การสัมมนาและมอบรางวัล
องค์กรต้นแบบ ครอบครัวมีสุข ประจำปี 2563 (Happy Family Award 2020

นอกจากนี้ยังมี รายชื่อองค์กรภาคีเครือข่าย HAPPINOMETER อีกกว่า 500 แห่ง ยกตัวอย่างดังนี้

กรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม

โรงพยาบาลหนองฉาง จังหวัด อุทัยธานี

Partners/Stakeholders

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ผู้ดำเนินการหลัก
รศ.ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส.