Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 12 รายการ
  • thumb
    03 04 08
    20 ก.ค. 2566
    HAPPINOMETER
    HAPPINOMETER คือ นวัตกรรมทางด้านสังคมศาสตร์ในการสนับสนุนการสร้างเสริม คุณภาพชีวิต ความผูกพันองค์กร ความสุข และ สมดุลชีวิต ระดับคนวัยทำงาน และ ระดับองค์กร ไปจนถึง ภาพรวมคุณภาพชีวิตและความสุขคนวัยทำงานระดับประเทศ และ ภาพรวมองค์กรแห่งความสุขระดับประเทศ
  • thumb
    03 04 17
    27 ต.ค. 2565
    โรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเทศไทย
    การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนให้เป็นไปได้ตามเป้าหมายสูงสุด คือ “เด็กนักเรียนทุกคนได้รับโอกาสและมีกิจกรรมทางกายอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ”
  • thumb
    03 01 17
    1 ก.ย. 2566
    การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทยอย่างรอบด้านโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่เทศบาลเมืองกาญจนบุรี และองค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม
    ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในยุค “เกิดน้อย อายุยืน” จำนวนเด็กเกิดของประเทศไทยที่เคยสูงเกินหนึ่งล้านคนในช่วงระหว่างปี 2506-2526 หรือเรียกว่าเป็น “ประชากรรุ่นเกิดล้าน” (ปราโมทย์ ประสาทกุล และปัทมา ว่าพัฒนวงศ์, 2554) ในปี 2564 การเกิดของประเทศไทยลดต่ำลงมากเหลือเพียง 5 แสน 4 หมื่นรายเท่านั้น (สำนักบริหารการทะเบียน, 2565) ในขณะเดียวกันผู้คนเริ่มมีอายุยืนยาวขึ้น อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของคนไทยได้เพิ่มขึ้นจากในอดีตเมื่อ 50 ปีก่อน ประชากรไทยนับตั้งแต่แรกเกิดคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 50 ปีเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 70 ปี โดยผู้หญิงจะมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดสูงถึง 80.5 ปี และในชาย 73.5 ปี (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2565) ดังนั้นการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลายชีวิต จึงเป็นเป้าหมายสำคัญของหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยผู้สูงอายุ (The Madrid International Plan of Action on Ageing : MIPAA) ใน 3 ประเด็นเรื่อง 1) ผู้สูงอายุและการพัฒนา (Older Persons and Development) (2) สูงวัยอย่างสุขภาพดีและมีสุขภาวะ (Advancing Health and Well-being into Old Age) และ (3) สร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนและเหมาะสม ทั้งนี้ในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นับเป็นหน่วยงานสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่ และเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชากรมากที่สุด โครงการนี้เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม คือ คณะวิจัย ชุมชน เครือข่ายในพื้นที่ ร่วมกันค้นหาปัญหา หาวิธีการแก้ไขปัญหา สะท้อนกลับซึ่งกันและกัน และสุดท้าย เกิดต้นแบบการทำงานร่วมกันผ่านเวทีการถอดบทเรียนในทุกแต่ละพื้นที่ มีวัตถุประสงค์หลักการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างรอบด้านทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม โดยนักวิจัยเข้าไปร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในทุกกระบวนการตั้งแต่การศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมการวิจัยในปัจจุบันของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) มาต่อยอดและขยายผลกับพื้นที่ที่ศึกษา ได้แก่ การใช้เครื่องมือประเมินภาวะ Active aging แนวทางในการดูแลระยะกลางและระยะท้าย การคัดกรองผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม การส่งเสริมการมีงานทำ การส่งเสริมการสูงวัยในถิ่นเดิมตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถอาศัยอยู่ในท้องถิ่นได้ตราบจนชั่วชีวิตด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี
  • thumb
    03 02
    4 ก.ย. 2566
    กลุ่มงานวิจัยนโยบายอาหารและการติดตามและประเมินผล (Food Policy and Monitoring and Evaluation: Food ME)
    Food ME ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม เริ่มต้นในปี 2560 มุ่งมั่นผลิตข้อมูลวิจัยเพื่อใช้ชี้ทิศนโยบายด้านอาหารและโภชนาการของประเทศ และสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานรัฐและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนให้ประชากรไทยบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีความมั่นคงทางอาหาร และสามารถพึ่งพาตนเองด้านอาหารได้ทั้งในภาวะปกติและวิกฤติ รวมถึงส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่และประเทศ
  • thumb
    03
    20 ก.ค. 2566
    โครงการการศึกษาสถานการณ์ด้านสุขภาวะของคนไทยเพื่อจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย 2566-2568
    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินโครงการจัดทำรายงานสุขภาพคนไทยประจำปี โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่ปี 2546 มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 19 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รายงานสุขภาพคนไทย มีบทบาทในการรวบรวม และนำเสนอข้อมูล สถานการณ์ รวมถึง บทวิเคราะห์ประเด็นสำคัญต่างๆ ด้านสุขภาพที่ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยข้อมูลและองค์ความรู้ที่จัดทำและเผยแพร่ในแต่ละปีทำหน้าที่ในการชี้ประเด็นปัญหาและปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนไทยที่กำลังเกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มเป็นเรื่องที่มีความสำคัญของประเทศ รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการติดตามแก้ไขปัญหา หน่วยงานผู้กำหนดนโยบาย รวมถึงภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลสถิติ บันทึกสถานการณ์และบทวิเคราะห์จากเนื้อหาในทุกส่วน ไปใช้ในการอ้างอิงและวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางนโยบายในอนาคต สำหรับประชาชนผู้อ่านทั่วไป ข้อมูลเนื้อหาในเล่มรายงานช่วยเพิ่มความตระหนักต่อสถานการณ์ด้านสุขภาพในประเทศและเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ นักวิชาการสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านการเรียนการสอน เป็นแหล่งข้อมูลการอ้างอิงสถานการณ์ทางสุขภาพที่เป็นปัจจุบัน มีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้ในการกำหนดประเด็นปัญหาและหัวข้อในการศึกษาวิจัย รวมถึงวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาทางสุขภาพของคนไทยเชิงลึกได้ต่อไป โครงสร้างเนื้อหาของรายงานสุขภาพคนไทยประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนตัวชี้วัดสุขภาพ 2) ส่วนสถานการณ์เด่นและผลงานดีๆ ทางสุขภาพในรอบปี และ 3) ส่วนสุดท้ายซึ่งเป็นหัวข้อหลัก (theme) ประจำฉบับ คือ ส่วนเรื่องพิเศษประจำฉบับ องค์ประกอบโครงสร้างเนื้อหาทั้ง 3 ส่วนนี้ เป็นประโยชน์กับผู้อ่านหลากหลายกลุ่มโดยนำเสนอข้อมูลและบทวิเคราะห์ต่างๆ ที่มีจุดเน้นและรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกันแต่สามารถสื่อสารได้กับคนทุกกลุ่ม โดยส่วนแรกหรือตัวชี้วัดสุขภาพเป็นประโยชน์กับผู้กำหนดนโยบาย ภาคีเครือข่ายการขับเคลื่อนงานทางสุขภาพ รวมถึงนักวิชาการ กลุ่มนักเรียนและนักศึกษาในการใช้ประโยชน์เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลสุขภาพในแต่ละเรื่อง ส่วนสถานการณ์เด่นทางสุขภาพเป็นประโยชน์กับประชาชนผู้อ่านทั่วไปที่จะได้รับทราบสถานการณ์ทางสุขภาพสำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละปี บนพื้นฐานของการนำเสนอข้อมูลและบทวิเคราะห์ที่รอบด้านและเป็นกลาง และส่วนเรื่องพิเศษประจำฉบับเป็นประโยชน์แก่ผู้กำหนดนโยบาย และผู้อ่านทุกกลุ่มจากเนื้อหาที่มีการรวบรวมในประเด็นที่นำเสนอเป็นเรื่องพิเศษแต่ละปีอย่างเป็นระบบ มีบทวิเคราะห์ถึงประเด็นที่อาจเป็นทั้งปัญหาหรือโอกาสต่อสุขภาพของคนไทย เสนอแนะแนวทางที่เกี่ยวข้องในการจัดการหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ ที่สามารถนำไปวิเคราะห์เชิงลึกและใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงนโยบาย การขับเคลื่อนงาน หรือสร้างความตระหนักรอบรู้ทางสุขภาพในระดับบุคคลได้
  • thumb
    13 15
    20 ก.ค. 2566
    การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อลดการเผาอ้อยและเศษวัสดุในไร่อ้อย ในจังหวัดกาญจนบุรี
    ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาวัสดุการเกษตรในที่โล่ง จากข้อมูลสถิติในช่วงปี ค.ศ. 1960-2015 แสดงให้เห็นว่าถึงแม้ปริมาณเศษวัสดุของข้าวที่ถูกเผาจะสูงกว่าอ้อย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 พบปริมาณเศษวัสดุของข้าวมีแนวโน้มที่ลดลง ในทางกลับกันเศษวัสดุของอ้อยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะเกี่ยวข้องกับนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการใช้พลังงานจากพืชมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงปิโตรเลียม จึงทำให้พื้นที่การเพาะปลูกข้าวลดลงและเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยเพื่อผลิตและกลั่นเป็นเอทานอลที่นำมาผสมกับน้ำมันปิโตรเลียมเพื่อผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์มากขึ้น (Kumar, Feng, Sun, & Bandaru, 2022) รวมทั้งนโยบายของรัฐที่สนับสนุนการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกข้าวไปปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่นแทน ซึ่งรวมถึงอ้อยด้วย กาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่มีการทำไร่อ้อยเป็นวงกว้าง และมีโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ถึง 8 แห่งจาก 20 แห่งทั่วภาคกลาง และจาก 56 แห่งทั่วประเทศ ในด้านสถิติการปลูกอ้อยปี 2563 กาญจนบุรีมีพื้นที่ในการปลูกอ้อยทั้งสิ้น 753,424 ไร่ นับเป็นอันดับสามในประเทศ หรือมีพื้นที่ผลิตอ้อยมากกว่าพื้นที่ในการผลิตโดยรวมในภาคตะวันตกซึ่งมีการปลูกอ้อยทั่วทั้งภูมิภาค จำนวน 659,249 ไร่ กาญจนบุรีจึงถูกนับเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลขนาดใหญ่ของประเทศ (ณิชภัทร์ กิจเจริญ, 2563) ปัญหาการเกิดฝุ่นควันในจังหวัดกาญจนบุรีเกิดขึ้นจากสองส่วนหลักๆ คือ ได้แก่ ส่วนแรก คือควันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเฉพาะไฟป่าในฤดูหนาวและฤดูแล้ง ซึ่งเอื้อให้เกิดสภาพดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่นอกตัวเมืองตั้งแต่อำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ รวมทั้งอำเภอสังขละบุรี ส่วนที่สองคือ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งสาเหตุนี้ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 มากกว่าควันจากธรรมชาติ และปฏิเสธไม่ได้ว่า ฝุ่นควันและเขม่าส่วนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรีเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำตาลและการปลูกอ้อย ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลเชื่อมโยงต่อการเผาอ้อย ได้แก่ รถตัดอ้อย แรงงานรับจ้างตัดอ้อย และโรงงานน้ำตาลที่รับซื้ออ้อย ซึ่งมาตรการของภาครัฐที่ออกมายังมีไม่มีประสิทธิผลมากพอที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เคยปฏิบัติเป็นประจำ โดยกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยน้อยกว่า 20 ไร่ ถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้การบังคับใช้มาตรการจากภาครัฐอาจจะยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เนื่องด้วยพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่มีขนาดเล็กทำให้รถตัดอ้อยซึ่งมีต้นทุนที่ถูกที่สุดต่อหน่วยพื้นที่การปลูกอ้อยไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ การจ้างรถตัดอ้อยด้วยเกษตรกรรายย่อยเพียงไม่กี่รายมักถูกปฏิเสธจากรถตัดเพราะได้ค่าตัดไม่คุ้ม นอกจากนี้เกษตรกรรายย่อยมักมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ต้องเร่งรีบตัดและขายอ้อยให้กับโรงงานเพื่อให้ทันการปิดหีบ ประเด็นเรื่องอ้อยไฟไหม้มีความซับซ้อน มีผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก อีกทั้งเกษตรกรที่ทำไร่อ้อยก็มีความแตกต่างกัน ทั้งกลุ่มที่ทำไร่ขนาดใหญ่มีทุนสูง หรือเกษตรรายย่อยทำในพื้นที่ขนาดเล็กที่ไม่มีเครื่องมือหรือเงินทุนน้อย ซึ่งมีโอกาสและข้อจำกัดไม่เหมือนกัน จึงมักจะสังเกตได้ว่า แม้จะมีมาตรการต่าง ๆ ออกมามากมาย แต่ไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ดังนั้น การศึกษานี้ จึงมีเป้าหมายที่จะอธิบายกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทตลอดห่วงโซ่ของการปลูกอ้อยอย่างเป็นระบบ รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานในแต่ละระดับที่มีส่วนดูแลป้องกันและแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ ว่าแต่ละส่วนมีบทบาทอย่างไร มาตรการใดที่ได้ผล และไม่ได้ผล ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปสู่การค้นหาแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่ซึ่งถูกพัฒนาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการลดการเผาลง โดยการวิเคราะห์ปัญหาและความเชื่อมโยงของเหตุและผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบของการเผาอ้อยในจังหวัดกาญจนบุรีจะถูกวิเคราะห์และนำเสนอผ่านเครื่องมือ “วงรอบเหตุและผล” (causal loop diagram)
  • thumb
    03
    20 ก.ค. 2566
    การบูรณาการการเรียนการสอน Healthy School และปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดความเสี่ยงโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs)
    จากสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรังที่เพิ่มสูงขึ้น ประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาสำคัญที่ส่งผลเสียและเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพนี้ และถือว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่วางแผนการดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ และยุทธศาสตร์สุขภาพที่ดีวิถีชีวิตไทย เป็นต้น โดยใช้แนวทางการทำงานหลายภาคส่วนในการร่วมกัน (multi-sectoral collaboration) ผลักดันให้เกิดแนวทางแก้ไขปัญหา รวมถึงมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมและหาแนวทางการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค NCDs โดยมีกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการคลังที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่สำคัญและจำเป็นในการดำเนินงาน ทั้งนี้ประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนการป้องกัน NCDs อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นตามกรอบการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในปี 2030 เพื่อให้ผลของการขับเคลื่อนการป้องกันและควบคุมโรค NCDs มีความยั่งยืน สร้างองค์ความรู้ให้ประชาชน ให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ส่งผลต่อการป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรค NCDs แก่เด็ก และการเกิดโรค NCDs เมื่ออายุมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพของกลุ่มวัยเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 4 ที่เน้นคุณภาพทางการศึกษา (Goal 4: Quality Education) เพราะการศึกษามีอิทธิพลต่อการป้องกันและควบคุมโรค NCDs โดยเฉพาะในช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น ซึ่งจากอดีตจนถึงปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้พยายามดำเนินการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และกิจกรรมโครงการเกี่ยวกับสุขภาพในโรงเรียนต่าง ๆ ร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีศักยภาพอย่างเต็มที่ในการที่จะเชื่อมโยงเนื้อหาที่เป็นเหตุปัจจัยและผลของพฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม หากมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีกลไกในการเพิ่มองค์ความรู้ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงภายใน สพฐ. ดังนั้นเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพสู่การบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน และให้การเรียนการสอนสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กเป็นการเรียนการสอนเพียงแค่ในตำรา แต่ปรับรูปแบบนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยให้ความสำคัญมุ่งเน้นไปที่การทำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้ผู้บริหาร (Knowledge Translation) นำไปผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งการเรียนการสอนไม่ใช่หน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานองค์กรเดียว แต่เป็นการนำแนวคิดของความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการ (multi-sectoral collaboration) เพื่อมุ่งเตรียมทรัพยากรที่มีคุณภาพในอนาคต ด้วยการบูรณาการรวมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง และเด็ก เพราะกิจกรรมไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะเด็กอย่างเดียว แต่ต้องดำเนินการกิจกรรมผสานกันระหว่างโรงเรียนและบ้าน จึงนำมาสู่แนวทางการศึกษาในครั้งนี้ด้วยการทบทวนและสังเคราะห์กระบวนการทางนโยบาย และการนำไปใช้ประโยชน์ของการป้องกันโรค NCDs รวมถึงการสร้างต้นแบบกิจกรรม (Showcase) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาคู่มือสุขภาพเด็กนักเรียนที่จะนำไปสู่การป้องกันโรค NCDs อย่างยั่งยืน และสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง
  • thumb
    02 03
    2 ก.ย. 2565
    โครงการสำรวจติดตามพฤติกรรมบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานฯ
    โครงการวิจัย การสำรวจติดตามพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทย ภายหลังการออกมาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ปีที่ 3 พ.ศ. 2564 ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการขับเคลื่อนนโยบาย เครือข่ายลดบริโภคหวาน และสื่อสารสร้างความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 (ปี 2564) ภายหลังจากที่มาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน พร้อมทั้งศึกษาการรับรู้ของคนไทยต่อการออกมาตรการทางภาษีนี้ โดยมีการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิย. 2564-มิย.2565 ทั้งหมด 9 จังหวัด เพื่อเป็นตัวแทนระดับประเทศ แต่ละภาคของประเทศจะนำเสนอผลจำแนกตามเขตการปกครอง คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล ซึ่งเก็บข้อมูลทุกคนที่อยู่ในครัวเรือนที่ถูกสุ่ม โดยเก็บจากบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ 1) อายุ 6-14 ปี 2) อายุ 15-59 ปี และ 3) อายุ 60 ปีขึ้นไป และในแต่ละกลุ่มอายุได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ เพศชาย และเพศหญิง ผลการศึกษาสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทย ภายหลังการออกมาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ปีที่ 3 พ.ศ. 2564 พบว่า แนวโน้มการดื่มโดยรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2562 (356.9 มิลลิลิตร และ 395.6 มิลลิลิตร ตามลำดับ) โดยเพศชายมีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมมากกว่าเพศหญิงทั้งสามปี หากพิจารณาตามกลุ่มอายุ พบว่า ทุกกลุ่มอายุมีการดื่มเพิ่มขึ้นจากปี 2562 โดยกลุ่มวัยทำงานตอนต้นจะมีปริมาณการดื่มทั้งสามปีมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ สำหรับเขตที่อยู่อาศัย พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลมีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมมากที่สุดในปี 3 และผู้ที่อาศัยอยู่ในภาคกลางจะมีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานในทั้งสามปีมากที่สุด ถ้าพิจารณาด้านอาชีพ พบว่า ผู้ที่ไม่ได้ทำงาน อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ และอาชีพรับจ้าง มีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมลดลงตั้งแต่ปี 2561 ถึงปี 2564 ส่วนอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขายมีแนวโน้มปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้นทุกปี สำหรับรายได้ พบว่า ผู้ที่มีรายได้ส่วนใหญ่มีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมลดลงในปี 2562 และเพิ่มขึ้นในปี 2564 ยกเว้นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นในปี 2562 และลดลงในปี 2564 นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่อาจมีอิทธิพลต่อการดื่ม ได้แก่ การโฆษณา และราคาเครื่องดื่ม โดยพบว่า เกือบ 1 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างเห็นโฆษณาเครื่องดื่มแล้วส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 18.3) โดยกลุ่มเด็กเล็กเกือบครึ่งเป็นกลุ่มที่เห็นโฆษณาเครื่องดื่มแล้วส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มมากที่สุด (ร้อยละ 46.8) ส่วนพฤติกรรมการดื่ม ถ้าหากมีการปรับราคาเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 กลุ่มตัวอย่างกว่า 3 ใน 5 ยังคงไม่เปลี่ยนพฤติกรรมยังคงดื่มเหมือนเดิม (ร้อยละ 60.6) และความรู้เรื่อง “ปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคต่อวัน คือ ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน” กลุ่มตัวอย่างกว่า 4 ใน 5ยังไม่ทราบข้อมูลการบริโภคที่ถูกต้อง (ร้อยละ 82.9) จากผลการสํารวจในปีที่ 3 นี้ ชี้ให้เห็นว่า แต่กลุ่มที่มีการดื่มสูงยังคงเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น และเด็กส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน และวัยทำงานยังคงมีการทำงานที่บ้าน ทำให้มีโอกาสดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับอิทธิพลของสื่อที่อาจจะส่งผลต่อการบริโภค โดยสอดคล้องกับการเรื่องอิทธิพลจากการโฆษณาที่เกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มเด็กวัยเรียนที่ตอบว่าโฆษณาเครื่องดื่มส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มวัยทำงานตอนต้น การเปลี่ยนแปลงปริมาณการดื่มในภาวะวิกฤติเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะปกติในปีที่ 1 และ 2 การชะลอการขึ้นภาษีเครื่องดื่มในรอบที่ 3 อาจส่งผลต่อความต่อเนื่องการประสิทธิผลของการใช้มาตรการภาษีของรัฐในการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มได้เช่นกัน ซึ่งผลการศึกษานี้พบว่า หากราคาเครื่องดื่มเพิ่มไปถึงร้อยละ 20 กลุ่มตัวอย่าง 2 ใน 5 ของคนที่ดื่มจะลดหรือเลิกการดื่มนี้
  • thumb
    10 11
    22 ส.ค. 2565
    รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564
    รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย เป็นรายงานประจำปีที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) มีหน้าที่จัดทำขึ้นตามที่พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 9 (10) เพื่อเสนอรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ได้มอบหมายให้มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ดำเนินการจัดทำรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2563 ฉบับนี้ ได้รวบรวมสถิติข้อมูลสถานการณ์การสูงอายุของประชากรไทยในปัจจุบัน และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของประชากรที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อฉายภาพสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
  • thumb
    17 03
    22 ส.ค. 2565
    Parenting in Displacement Study on Thailand-Myanmar Border
    Parenting in Displacement: Testing a wraparound model of support for migrant and displaced families from Myanmar This Scope of Work relates to research activities conducted by the Institute for Population and Social Research (IPSR) at Mahidol University as part of the GPI study, “Parenting in Displacement: Testing a wraparound model of support for migrant and displaced families from Myanmar” The study will test a wraparound approach to improving systems, population, and individual caregiver and child level outcomes among migrant and displaced families on the Thai-Myanmar border. Study objectives are to: 1. Evaluate the effectiveness and cost-effectiveness of a population-level media campaign adapted from PLH to increase knowledge and skills around positive and playful parenting, reduce acceptance of violence against children, decrease harsh parenting, and promote caregiver and child wellbeing. 2. Evaluate the effectiveness and cost effectiveness of a trauma-informed adaptation of PLH for higher-need caregivers whose outcomes do not improve after delivery of the media campaign. 3. Design, implement, and evaluate strategies to strengthen formal and informal systems for service delivery and sustainability in a volatile displacement context.
  • thumb
    03 11
    31 ส.ค. 2565
    ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค)
    ศูนย์การศึกษาวิจัยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายในมิติทางประชากรและสังคมที่มุ่งเน้นการศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์และพฤติกรรม โดยใช้องค์ความรู้และระเบียบวิธีวิจัยที่มีมาตรฐานระดับสากลเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พันธกิจ (Mission) 1. ทบทวนสถานการณ์และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านกิจกรรมทางกายเพื่อใช้ในประกอบการจัดทำแผนและแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรไทย 2. เชื่อมประสานภาคีทำงานด้านกิจกรรมทางกาย ตลอดจนวิเคราะห์ประเด็น และโจทย์การวิจัยเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. พัฒนาฐานข้อมูล เครื่องมือรวบรวมข้อมูลทางสังคม การติดตามและประเมินผล ตลอดจนการวิเคราะห์แนวโน้ม ด้านกิจกรรมทางกายที่มีมาตรฐานทางวิชาการระดับสากล เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และศึกษาเปรียบเทียบ ตลอดจนเฝ้าระวังกิจกรรมทางกาย 4. พัฒนาและเผยแพร่ผลผลิตทางวิชาการ ตลอดจนนวัตกรรมทางด้านสังคมศาสตร์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนไทยทุกช่วงวัย การดำเนินกิจกรรมทางวิชาการของศูนย์ได้มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และผลผลิตทางวิชาการด้านกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพและมาตรฐานเพื่อนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยมุ่งเน้นที่ผลผลิตหลัก 4 มิติ ประกอบด้วย 1) T: Tool คือ เครื่องมือและต้นแบบสำหรับการวิจัย 2) P: Publication คือ ผลการวิจัยที่เผยแพร่ 3) A: Analysis คือ ชุดข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ 4) K: Knowledge คือ ความรู้สู่การปฏิบัติ โดยตั้งเป้าหมายให้เกิดรูปธรรมภายใต้ขอบเขตดังกล่าวทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว