เป้าหมายและความเป็นมาของ FOOD ME
Food ME มุ่งเน้นผลิตงานวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านอาหารของประชากรไทยทั้งในระดับบุคคล (individual) และสิ่งแวดล้อมทางอาหาร ทั้งเชิงสังคมและกายภาพ (social and physical environments) และวิเคราะห์นโยบายรัฐ รวมการติดตามและประเมินผล (policy analysis and monitoring and evaluation)
Food ME ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม เริ่มต้นในปี 2560 มุ่งมั่นผลิตข้อมูลวิจัยเพื่อใช้ชี้ทิศนโยบายด้านอาหารและโภชนาการของประเทศ และสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานรัฐและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนให้ประชากรไทยบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีความมั่นคงทางอาหาร และสามารถพึ่งพาตนเองด้านอาหารได้ทั้งในภาวะปกติและวิกฤติ รวมถึงส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่และประเทศ โดยโครงการวิจัยภายใต้กลุ่มงานวิจัยนโยบายอาหารและการติดตามประเมินผล สามารถจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วยโครงการวิจัยต่างๆ ดังนี้
(1) โครงการวิจัยด้านนโยบายอาหารและการติดตามประเมินผล มีการดำเนินการต่อเนื่อง 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 โครงการวิจัยด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านอาหารและโภชนาการในประเทศไทย (2564-2565) ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 6 โครงการ ได้แก่ (1) การศึกษาระบบอาหารของประเทศไทย (2) การคาดประมาณผลกระทบทางสุขภาพจากมาตรการขึ้นภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในประเทศไทย (3) การประเมินประสิทธิผลการใช้เกณฑ์จำแนกอาหารในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคนไทย (4) การติดตามการตลาดที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็กและเยาวชนผ่านสื่อโทรทัศน์และยูทูป และ (5) การจัดทำข้อเสนอการพัฒนาแผนติดตามประเมินผลสำหรับแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ 2565-2574
ระยะที่ 2 โครงการวิจัยระบบการจัดการอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ และมาตรการลดการเข้าถึงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของคนไทย (2566- 2567) ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 5 โครงการ ได้แก่ (1) การวิเคราะห์วิธีปฏิบัติจัดซื้อจัดจ้างโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนเพื่อเชื่อมโยงระบบอาหารชุมชน (2) การศึกษาความเป็นธรรมในห่วงโซ่อุปทานอาหารด้วยกลไกตลาดเขียว (3) การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของมาตรการส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ในประชากรไทย (4) มาตรการเพิ่มพฤติกรรมการบริโภคผักผลไม้ในกลุ่มเยาวชนไทยโดยใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม และ (5) การติดตามการตลาดอาหารและเครื่องดื่มในเด็กของประเทศไทย
ระยะที่ 3 โครงการวิจัยด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางอาหารที่ดีต่อสุขภาพในประเทศไทย (2567-2568) ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 4 โครงการ ได้แก่ (1) สถานการณ์ระบบอาหารของท้องถิ่นในประเทศไทย (2) การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำมาตรฐานกลางการผลิตและให้บริการอาหารสตรีทฟู้ดที่ดีต่อสุขภาพและการนำมาตรฐานไปสู่การปฏิบัติในประเทศไทย (3) โครงการศึกษาสถานการณ์การบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของคนพิการไทย และ (4) การคาดประมาณผลของการดำเนินมาตรการจัดเก็บภาษีตามปริมาณโซเดียม: การศึกษาด้วยแบบจำลอง
(2) โครงการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคของคนไทย มีการดำเนินการต่อเนื่อง 2 ระยะ คือ (1) การศึกษาพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ของคนไทย (2560-2562) และ (2) โครงการศึกษาสถานการณ์การบริโภคผักและผลไม้ของคนไทย (2563-2565) นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการสำรวจเพื่อตอบปัญหาการบริโภคของคนไทยเฉพาะด้าน 2 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการการสำรวจติดตามพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทย ภายหลังการออกมาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ปีที่ 3 พ.ศ. 2563 (2563-2564) และ (2) โครงการศึกษาสถานการณ์การบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของประชากรไทย (2565-2567)
(3) โครงการด้านอาหารและโภชนาการอื่นๆ ครอบคลุมการดำเนินการเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการเพื่อตอบปัญหาเฉพาะด้านอื่นๆ เช่น ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็ก ดังที่มีการดำเนินการภายใต้โครงการการพัฒนางานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อลดภาวะน้ำหน้กเกินและโรคอ้วนในเด็กไทย (Childhood Overweight and Obesity (COO) Policy Research Project) (2562 – 2563) ที่ประกอบด้วย 7 โครงการวิจัยย่อย ได้แก่ (1) การศึกษาปัจจัยระดับบุคคลและปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะนํ้าหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กไทย (2) การวิเคราะห์นโยบายรัฐเพื่อจัดการภาวะนํ้าหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กไทยตามกรอบชุดคำแนะนำเชิงนโยบายขององค์การอนามัยโลก (3) การประเมินผลของมาตรการ ลดภาวะนํ้าหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กไทยที่ดำเนินการในปัจจุบันต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของเด็กไทยและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก (4) การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของมาตรการทางสุขภาพในการลดปัญหาภาวะนํ้าหนักเกิน และโรคอ้วนในเด็กไทย (5) การศึกษาภูมิทัศน์สื่อ พฤติกรรมการบริโภคสื่อ และการรู้เท่าทันสื่อทางสุขภาพสำหรับเด็กไทย (6) การคาดประมาณความชุกและจำนวนเด็กที่มีภาวะนํ้าหนักตัวเกินและโรคอ้วนของประเทศไทยในอนาคต และ (7) การวิเคราะห์การดำเนินนโยบายและมาตรการในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ ในการลดภาวะนํ้าหนักเกิน และโรคอ้วนในเด็ก
นอกจากนี้ Food ME ยังมีโครงการด้านอาหารและโภชนาการอื่นๆ ที่ใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านอาหารและโภชนาการของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ โครงการศึกษาและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยในต่างประเทศ (2566) โครงการจัดทำสมุดปกขาว “แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชผักผลไม้ในครัวเรือนและชุมชนในประเทศไทย (One Home One Garden Policy) (2566) โครงการจัดทำสมุดปกขาว “แนวทางการยกระดับการดำเนินการเกี่ยวกับสตรีทฟู้ดในประเทศไทย (World Class Street Foods Policy) (2566) โครงการ Development of monitoring and evaluation (M&E) framework to support controls on the marketing of unhealthy food and drink for children in Thailand (2565) และโครงการสำรวจติดตามพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานและเครื่องดื่มที่ได้ฉลากทางเลือกสุขภาพเพื่อใช้ขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการอาหารเพื่อสุขภาวะ (2566-2567)
รูปที่ 1 โครงการวิจัยของ Food ME ระหว่างปี 2560-2568
Food ME ได้รับความไว้วางใจจากแหล่งทุนวิจัยของหน่วยงานรัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอื่นๆ หลายแห่ง (เช่น สสส. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย WHO Country Cooperation Strategy on NCDs มูลนิธิทันตสาธารณสุขแห่งประเทศไทย UNICEF International Development Research Centre (IDRC) และ Australian Research Council) ที่ให้ทุนทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง รวมกว่า 20 โครงการ เป็นงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท
รูปที่ 2 โครงการวิจัยของ Food ME ที่ใช้ชี้ทิศในการขับเคลื่อนกระบวนนโยบายสาธารณะ และใช้สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานรัฐและองค์กรไม่แสวงผลกำไรอื่นๆ
Food ME ยังมีความร่วมมือด้านงานวิจัยและวิชาการกับสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างประเทศหลายแห่งในปัจจุบัน เช่น International Network for Food and Obesity/Non-communicable Diseases Research, Monitoring and Action Support (INFORMAS), Global Evaluation and Monitoring Network for Health and Nutrition (GEMNet-Health), Centre of Research Excellence for Food Retail Environments for Health, Institute for Physical Activity and Nutrition (IPAN), Deakin University, University of Sydney, Australian National University, University of Wollongong, Griffith University และ Universiti Kebangsaan Malaysia
Food ME ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของหน่วยงานกำหนดนโยบายและองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทั้งในประเทศและต่างประเทศในกระบวนการวิจัย เพื่อให้การพัฒนางานวิจัยของ Food ME ที่ได้มาตรฐานสากล โปร่งใส สะท้อนสถานการณ์จริง ตอบสนองความต้องการของประเทศ และเกิดการนำข้อมูลวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ตัวอย่างงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนและเกิดการนำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง
ที่มา โครงการวิจัยฯ ได้ดำเนินการติดตามการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มและผลกระทบของการทำการตลาดอาหารฯ เพื่อทำให้ทราบสถานการณ์การโฆษณาอาหารฯ และผลกระทบจากาการทำการตลาดอาหารที่มีต่อเด็ก และเป็นข้อมูลให้แก่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในการกำหนดนโยบายด้านการควบคุมการตลาดอาหารฯ ต่อมาโครงการวิจัยฯ ได้ขยายการศึกษาด้านการตลาดอาหารฯ เพิ่มขึ้น โดยมีโครงการศึกษาทบทวนระบบการดำเนินงานด้านการติดตามและประเมินผลการควบคุมการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อสุขภาพของเด็กไทย และโครงการการจัดทำข้อมูลพื้นฐาน (baseline data) ในการติดตามและประเมินผลการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีผลกระทบต่อเด็ก เพื่อสนับสนุนข้อมูลวิชาการให้แก่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขในการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก และการออกแบบกลไกการติดตามและประเมินผลการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีผลกระทบต่อเด็ก
ผลการศึกษา โฆษณาอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมดจาก 2 สถานีโทรทัศน์ ร้อยละ 95 เป็นโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง ซึ่งมากกว่าโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมต่ำ (คิดเป็นร้อยละ 5) ในส่วนของช่องยูทูบเบอร์ 3 ช่อง ใน 9 คลิปวีดีโอ โฆษณาอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมดนั้นมีมากถึงร้อยละ 67 ที่เป็นโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง ในขณะที่โฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมต่ำ มีเพียงร้อยละ 33 และเนื้อหาการโฆษณาอาหารฯ ได้แก่ เป็นสินค้าที่มีสารอาหารที่ดีมีคุณค่าทางโภชนาการ มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีสารอาหารที่เสริมความสวยงาม ในส่วนของโครงการศึกษาทบทวนและเสนอระบบการดำเนินงานด้านการติดตามและประเมินผลฯ ได้เสนอระบบและกลไกการติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินการปฏิบัติตามนโยบายการควบคุมการตลาดอาหารฯ ซึ่งรวมถึงระบบติดตามเชิงรุกที่เป็นการติดตามการตลาดอาหารฯ ของกรมอนามัยกับหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง และระบบติดตามเชิงรับ ซึ่งคือระบบรับเรื่องร้องเรียน นอกจากนี้ โครงการการจัดทำข้อมูลพื้นฐานฯ อยู่ระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลการโฆษณาอาหารทางโทรทัศน์และการทำการตลาดอาหารในโรงเรียน เพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐานให้แก่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขต่อไป
ข้อเสนอแนะ ถึงแม้ประเทศไทยมีกฎหมายการควบคุมการโฆษณาอาหาร แต่กฎหมายเหล่านี้ยังควบคุมได้ไม่ครอบคลุมจำนวน ความถี่ และเนื้อหาโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการควบคุมโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้
ผลงาน ผลการศึกษาของโครงการวิจัยฯ ได้นำไปสื่อสารสู่สาธารณะ และใช้สนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในรูปแบบต่างๆ
การประชุม การประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 15 วันที่ 12 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนท์ชั่น กรุงเทพฯ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญของ (ร่าง) พระราชบัญญัติควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก ครั้งที่ 1” วันที่ 21 กันยายน 2565 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
การประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 16 วันที่ 23 มิถุนายน 2566 (เมือง พลเมือง อัจฉริยะ:Smart city Smart Citizen) ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
Policy brief
ข่าว
ชวนติดตามรับฟังประเด็น “การโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง ทางโทรทัศน์ดิจิทัลและยูทูบ” โดย อาจารย์ ดร.นงนุช จินดารัตนาภรณ์
สถานีวิทยุศึกษา รายการตามตะวัน ช่วง “มหิดล นัมเบอร์ 1” ความถี่ : FM 92.0 MHz; AM 1161 kHz ออกอากาศเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566
รับฟังได้ที่ Youtube: https://youtu.be/kRO55Z086rc
โปสเตอร์ & Infographic
วีดีโอ
คลิปที่ 1 ความสำคัญของการควบคุมการตลาดอาหาร
คลิปที่ 2 ผลกระทบของการตลาดอาหาร
บทความตีพิมพ์
ที่มา โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยรายใหม่และผู้เสียชีวิตที่ป้องกันได้ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกี่ยวข้อง 3 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง รวมทั้งคาดประมาณจำนวนปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้นของประชากรไทยและคาดประมาณค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพที่ลดลงเมื่อมีการจัดเก็บภาษีฯ เทียบกับการไม่ดำเนินมาตรการจัดเก็บภาษี เพื่อใช้ประกอบการกำหนดทิศทางการดำเนินมาตรการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ที่จะเก็บ 4 รอบ ที่เก็บตามจำนวนปริมาณน้ำตาล (กรัม) ต่อ 100 มิลลิลิตร และตามมูลค่าในอัตราที่เพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได แบ่งเป็น 4 รอบ รอบละ 2 ปี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 กันยายน 2560 ดังนี้
o ครั้งที่ 1 จาก 30 กันยายน 2564 เป็น 30 กันยายน 2565
o ครั้งที่ 2 จาก 30 กันยายน 2565 เป็น 31 มีนาคม 2566
ผลการศึกษา พบว่า เมื่อจัดเก็บภาษีจนถึงรอบที่ 4 (ปี 2568) ประชากรทั้งชายและหญิง ในทุกกลุ่มอายุ จะบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานลดลงในทุกกลุ่มประเภทเครื่องดื่ม (น้ำอัดลม กาแฟพร้อมดื่ม ชาพร้อมดื่ม และเครื่องดื่มชูกำลัง) ประชากรที่มีภาวะอ้วนระดับที่ 1 (BMI 25 ถึง <30 กิโลกรัม/เมตร 2 ) จะลดลงร้อยละ 3.8 และภาวะอ้วนระดับที่ 2 (BMI ≥30 กิโลกรัม/เมตร 2 ) จะลดลงร้อยละ 7.8 ในปี 2579 จะสามารถป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ 21,000 คน รวมทั้งป้องกันการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานได้กว่า 600 คน จะสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ประมาณ 2,000 คน รวมทั้งป้องกันการเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดได้เกือบ 500 คน จะสามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ 1,200 คน รวมทั้งป้องกันการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองได้กว่า 140 คน และภาครัฐจะประหยัดค่าใช้จ่ายรายปีสำหรับการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องได้มากถึง 121.4 ล้านบาท รวมทั้งจำนวนปีสุขภาวะตลอดชีพของประชากร เพิ่มขึ้นถึง 1.9 ล้านปี หรือ เฉลี่ย 2 สัปดาห์ต่อคน
ข้อเสนอแนะ ที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้ชะลอการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงในรอบที่ 3 ถึง 2 ครั้ง เพื่อเยียวยาผู้ประกอบอุตสาหกรรมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งที่ 1 ชะลอการจัดเก็บภาษีฯ จาก 1 ตุลาคม 2564 เป็น 1 ตุลาคม 2565 และครั้งที่ 2 จาก 1 ตุลาคม 2565 เป็น 1 เมษายน 2566 ดังนั้น เพื่อสุขภาพของประชากรไทยที่ดีถ้วนหน้า กรมสรรพสามิตควรพิจารณา ไม่ชะลอการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงอีก โดยดำเนินการให้ครบจนถึงรอบที่ 4 อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะทำให้ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกี่ยวข้องลดลง รวมถึงภาครัฐยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคอีกด้วย
ผลงาน ผลการศึกษาของโครงการฯ ได้นำไปสื่อสารสู่สาธารณะและใช้สนับสนุนการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ในรูปแบบข่าว
ข่าว
สัมภาษณ์วิทยุคลื่น FM 100.5 รายการแชร์เล่าข่าวเด็ด วันที่ 24 ก.พ. 66 เวลา 15.15 น.
สัมภาษณ์วิทยุคลื่น FM 90.5 รายการจับข่าวมาคุย วันที่ 24 ก.พ. 66 เวลา 17.30 น.
สัมภาษณ์รายการโทรทัศน์ เจาะประเด็นข่าว 7HD
วันที่ 1 เม.ย. 66 เรื่องการขึ้นภาษีรอบที่ 3 ของเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
ร่วมพูดคุยในประเด็น “ภาษีความหวาน: การเก็บภาษีเพื่อสุขภาพของประชากรไทย”
โดย ผศ.ดร.พจนา หันจางสิทธิ์
ภายใต้งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 “ประชากรและสังคม 2566” | หลากมิติ ในหนึ่งชั่วชีวิต
เว็บไซต์ https://ipsr.mahidol.ac.th/annual-conference-17th/
YouTube: https://youtu.be/wm7MDAbML1I
ที่มา FVEB ติดตามพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ของประชากรไทย เพื่อใช้วัดความก้าวหน้าตัวชี้วัด 10 ปี (ปี 2555-2564) ของแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สสส. ได้แก่ การเพิ่มการกินผักและผลไม้เพียงของประชากรไทย โดยเก็บข้อมูลที่เป็นตัวแทนระดับประเทศใน 3 รอบ (ปี 2561 2562 และ 2564) ข้อมูล FVEB ยังถูกนำไปใช้นำเสนอและผลิตเป็นชุดความรู้มากมาย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประกอบการวางแผนและปรับปรุงงานด้านอาหารและโภชนาการด้วย เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องภายหลังโครงการนี้เสร็จสิ้น สถาบันฯ ได้รับติดตามตัวชี้วัดหลัก 10 ปีถัดมา (ปี 2565-2574) ของแผนอาหารฯ ต่อ ได้แก่ การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหาร ภายใต้โครงการศึกษาสถานการณ์การบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของประชากรไทย (Food Consumption, Food Security and Food Literacy in Thai Population: Food Survey) ซึ่ง Food survey จะเก็บข้อมูลต่อเนื่องอย่างน้อย 3 รอบ โครงการได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในการพัฒนาแบบสอบถาม และให้คำแนะนำในขั้นตอนอื่นๆ ปัจจุบัน Food Survey ยังอยู่ระหว่างเก็บข้อมูล แต่เครื่องมือสำรวจโครงการได้ถูกนำไปใช้ประกอบการเก็บข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการของหลายหน่วยงานแล้ว เช่น สำนักโภชนาการ กรมอนามัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และภาคีแผนอาหารฯ ระดับพื้นที่
ผลการศึกษา ข้อมูล FVEB ชี้ให้เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังคงกินผักและผลไม้ไม่ถึงเกณฑ์ที่แนะนำ[1],[2] โดยในปี 2561, 2562 และ 2564 กินเพียงพอร้อยละ 34.5, 38.7 และ 36.5 ตามลำดับ ในปี 2564 พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการกินผักและผลไม้เพียงพอ คือ กลุ่มที่สมรสแล้ว มีอาชีพเกษตรกร อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและนอกเขตเทศบาล เข้าถึงผักและผลไม้จากตลาดนัด/ตลาดสด และซื้ออาหารด้วยตนเอง สำหรับกลุ่มผู้ที่กินผักและผลไม้ไม่เพียงพอจะอยู่กลุ่มวัยเด็กเล็กและกลุ่มวัยทำงานอายุ กลุ่มคนโสด มีอาชีพพนักงานเอกชน เป็นคนกรุงเทพมหานครและอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล
ข้อเสนอแนะ เพิ่มมาตรการส่งเสริมการกินเข้าถึงผักและผลไม้และอาหารอื่นๆ ที่ดีต่อสุขภาพที่เหมาะสมตามกลุ่มวัยและพื้นที่อยู่อาศัย รวมการเพิ่มความรอบรู้ด้านอาหารของประชากรไทยในแต่ละกลุ่ม และสร้างสิ่งแวดล้อมทางอาหารที่เอื้อต่อการเข้าถึงอาหารที่ต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น การปลูกผักและผลไม้กินเองเพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงผักและผลไม้ในระดับครัวเรือน
ผลงาน ผลการศึกษาของ FVEB ถูกนำไปสื่อสารในเวทีสาธารณะในประเทศและนานาชาติในหลายช่องทาง
การประชุม
งานแถลงข่าว “เพราะรักจึงให้ผักนำ” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ Park@Siam กรุงเทพมหานคร
งานประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ที่โรงแรมริชมอนด์ สไตลิส คอนเวนชั่น นนทบุรี
เวทีหารือสาธารณะ อิ่ม ดี มีสุข “ผักจะเป็นวาระแห่งชาติได้อย่างไร” เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ประชุม Partners’ Consultation on Promoting Fruit and Vegetable Consumption in Thailand
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564
วีดีโอ
วีดีโอนำเสนอผลงานเรื่อง “A longitudinal household survey of fruit and vegetable consumption in Thai population” ช่อง Mahidol World Channel
เอกสารโครงการ
รายงานผลการศึกษา ปี 2561 2562 และ 2564
Infographic ข้อมูลปี 2561 และ 2562
บทความตีพิมพ์
บทความในมัลติมีเดีย/งานวิชาการต่างๆ
ร่วมพูดคุยในประเด็น “อิทธิพลของความเป็นเมืองและประสบการณ์ชีวิตในการรับรู้การรณรงค์สื่อสารมวลชนต่อการกินผักและผลไม้เพียงพอของประชากรไทย”
โดย รศ.ดร.สิรินทร์ยา พูลเกิด
ภายใต้งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 “ประชากรและสังคม 2566” | หลากมิติ ในหนึ่งชั่วชีวิต
เว็บไซต์ https://ipsr.mahidol.ac.th/annual-conference-17th/
YouTube: https://youtu.be/beWYaAapyOc
ชวนติดตามรับฟังประเด็น “สถานการณ์การกินผักและผลไม้ของผู้สูงอายุไทย”
โดย สาสินี เทพสุวรรณ์ | นักวิจัยโครงการ
สถานีวิทยุศึกษา รายการตามตะวัน ช่วง “มหิดล นัมเบอร์ 1”
ความถี่ : FM 92.0 MHz; AM 1161 kHz ออกอากาศเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566
รับฟังได้ที่ YouTube: https://youtu.be/W3Jt5qWpBIk
ข่าว
ที่มา SSB สำรวจพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานของประชากรไทย ภายหลังจากที่มาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ในปี 2561 2562 2564 และ 2566 เก็บข้อมูลที่เป็นตัวแทนระดับประเทศ ครอบคลุมกลุ่มวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินการเก็บภาษีฯ ของภาครัฐในระยะที่ผ่านมาและการขึ้นภาษีในระยะถัดไป โดยในปี 2566 สถาบันฯ ได้รับการสนับสนุนให้เพิ่มการประเมินพฤติกรรมการใช้ฉลากสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” ที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังขับเคลื่อนอยู่ สำรวจการใช้ฉลากนี้ประกอบการเลือกซื้อเครื่องดื่มของผู้บริโภคไทย ภายใต้โครงการสำรวจติดตามพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวาน และเครื่องดื่มที่ได้ฉลากทางเลือกสุขภาพ เพื่อใช้ขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการอาหารเพื่อสุขภาวะ ปี 2566
ผลการศึกษา จากผลการศึกษา 3 ปี พบว่า ปี 2562 ประชากรไทยดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยลดลงจากปี 2561 แต่กลับมาดื่มเพิ่มขึ้นในปี 2564 (370.9 มิลลิลิตร (มล.) 356.9 มล. และ 395.6 มล. ตามลำดับ) โดยทั้งสามปี ชายไทยมีการดื่มเฉลี่ยรวมมากกว่าหญิงไทย (เพศชายมีการดื่มเฉลี่ยรวมในปี 2561 2562 และ 2564 เท่ากับ 427.0 มล. 408.3 มล. และ 448.1 มล. ตามลำดับ เพศหญิงมีการดื่มเฉลี่ยรวมในปี 2561 2562 และ 2564 เท่ากับ 308.4 มล. 300.2 มล. และ 344.6 มล. ตามลำดับ) ปี 2564 กลุ่มเด็กเล็กและวัยทำงานตอนกลางดื่มเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้น (537.9 มล. และ 420.9 มล. ตามลำดับ) และเกือบทุกกลุ่มอายุดื่มในปี 2564 มากที่สุด ผู้มีรายได้ส่วนใหญ่ดื่มลดลงในปี 2562 และเพิ่มขึ้นในปี 2564 ยกเว้นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ที่ดื่มเพิ่มขึ้นในปี 2562 และลดลงในปี 2564 ข้อมูล SSB ยังพบว่า 2 ใน 5 ของคนไทยจะลดหรือเลิกการดื่มเครื่องดื่มนี้ หากราคาเครื่องดื่มเพิ่มไปถึงร้อยละ 20
ข้อเสนอแนะ การขึ้นอัตราภาษีเครื่องดื่มให้อยู่ในระดับที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อ/ดื่มเครื่องดื่มถูกจัดเก็บภาษีมีความจำเป็น (อย่างน้อยร้อยละ 20) มีความจำเป็นในการช่วยลดการเข้าถึงและดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงของคนไทย
ผลงาน ผลการศึกษาของ SSB ถูกนำไปอ้างถึงโดยหน่วยงานต่างๆ ผ่านช่องทางข่าวสาร
ข่าว
ไทยรัฐ (https://www.thairath.co.th/news/local/1712840)
ไทยพีบีเอส (https://www.thaipbs.or.th/news/content/302190)
ฐานเศรษฐกิจ (https://www.thansettakij.com/general-news/474466)
Phulkerd, S., Thongcharoenchupong, N., Chamratrithirong, A., Pattaravanich, U., Sacks, G., & Prasertsom, P. (2022). Influence of sociodemographic and lifestyle factors on taxed sugar-sweetened beverage consumption in Thailand. Food Policy, 109, 102256. doi:https://doi.org/10.1016/j.foodpol.2022.102256
Phulkerd S, Thongcharoenchupong N, Chamratrithirong A, Soottipong Gray R, Prasertsom P. Changes in Population-Level Consumption of Taxed and Non-Taxed Sugar-Sweetened Beverages (SSB) after Implementation of SSB Excise Tax in Thailand: A Prospective Cohort Study. Nutrients. 2020 Oct 27;12(11):3294. doi: 10.3390/nu12113294.
การสื่อสารผลการศึกษาของ Food ME สู่ผู้กำหนดนโยบาย และสาธารณะ
การสื่อสารผลการศึกษาของ Food ME สู่ผู้กำหนดนโยบาย และสาธารณะ ประกอบด้วยการจัดทำสื่อและเอกสารต่างๆ ครอบคลุมการจัดทำ Policy briefs ภาพหนังสือ ตลอดจนภาพวิดีโอ และกิจกรรมอื่นๆโดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเขียน Policy briefs จะจัดขึ้นทุก 2 ปี เพื่อให้สามารถผลิต Policy briefs ที่ใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนและตรงประเด็น
การจัดอบรมผลิต policy brief ภาษาไทย-อังกฤษ ในหัวข้อเรื่อง “ก้าวแรกสู่การขับเคลื่อนนโยบายและระบบอาหาร เพื่อสุขภาพของประชากรทุกคน โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา (ที่ปรึกษาโครงการ Food ME) เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565 และวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 (2 วัน) ณ ห้อง 109 สระบัว สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
Policy brief ภาษาไทย-อังกฤษ ภายใต้โครงการฯ ประกอบด้วย 7 ประเด็น
ตระหนัก เข้าใจ ใช้เป็น: ตัวชี้วัดระบบอาหารสู่การพึ่งพาตนเองของชุมชน
Aware – Acknowledge – Apply: Indicators for Community Self-Sufficiency in the Food System
ทำไมต้องจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงให้ถึงรอบที่ 4 (1 ตุลาคม 2567)
Why tax high-sugar beverages through Phase IV (October 1, 2024)
ห้ามโฆษณาอาหารทางโทรทัศน์และยูทูป แล้วช่องอยู่รอด รายการดี มีคุณภาพ ทำได้จริงหรือ?
Imagine if there is a possibility for the control on food advertising on television and YouTube, would the channels survive by producing good quality programming?
ทำไมต้องติดตามและประเมินผลการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่ม?
Why do we need monitoring and evaluation on food and beverage marketing controls?
กุญแจสำคัญดอกไหนที่จะเบิกทางให้สำเร็จได้ตามเป้าหมาย “เพิ่มสัดส่วนการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล” ในทศวรรษหน้า
What is the Path to Achieve the Goal of 'Increased Proportion of Healthy Food Consumption' In the Next Decade?
ทำไมต้องยกระดับโครงการให้เป็น Best Practice?
Striving for Best Practice
ก้าวแรกของการพัฒนาทุนมนุษย์ เริ่มต้นที่คุณภาพการกิน
The first step in human capital development starts with the quality of eating
รายละเอียดเพิ่มเติม
https://ipsr.mahidol.ac.th/post_multimedia/better-food-policies-policy-brief-th/
https://ipsr.mahidol.ac.th/post_multimedia/better-food-policies-policy-brief-en/
ภาพหนังสือ
นอกจากการจัดทำ policy brief ภาษาไทยและภาษาอังกฤษแล้ว โครงการฯ ยังได้ผลิตผลการศึกษาในรูปแบบหนังสือ และ e-book ดังรายการต่อไปนี้
หนังสือ เริ่มที่จานอาหาร: หนทางสร้างสุขภาวะของสังคมไทยที่ยั่งยืน บทวิเคราะห์แนวทางขับเคลื่อนสู่เป้าหมายอาหารที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืน
โดย สพ.ญ.สรัญญา สุจริตพงศ์ 200 เล่ม/และออนไลน์
https://ipsr.mahidol.ac.th/post_research
หนังสือ ไร่นา อาหาร และจานเปล่า
โดย รศ.ดร.จงจิตต์ ฤทธิรงค์ จำนวน 200 เล่ม /e-book
หนังสือ มายาคติโฆษณาอาหารและเครื่องดื่ม: ความจริงที่ต้องรู้
โดย ดร.นงนุช จินดารัตนาภรณ์ผลิตเป็น e-book
https://ipsr.mahidol.ac.th/post_research/research-file-706/
หนังสือ "เครื่องมือการประเมินโครงการแนวทางปฏิบัติที่ดี" และ จัดทำ "คู่มือการประเมินโครงการแนวทางปฏิบัติที่ดี" และ check list
โดย รศ.ดร.มนสิการ กาญจนะจิตรา (อย่างละ 100 เล่ม)
https://ipsr.mahidol.ac.th/post_research/check-list-best-practice/
ภาพวิดีโอ และกิจกรรมอื่นๆ
การผลิตคลิปวิดิโอ เผยแพร่ผลงาน ความยาว 5 นาที (https://ipsr.mahidol.ac.th/post_multimedia/vdo-food-system/)
บทความและผลงานวิจัยอื่นๆ ของทีมวิจัยภายในโครงการฯ (ทั้งในและต่างประเทศ)
โครงการฯ ผลิตบทความและผลงานวิจัยภาษาไทย ดังนี้
3. พจนา หันจางสิทธิ์, คมกฤช ตะเพียนทอง, ดลชัย ฮะวังจู, วรรณสุดา งามอรุณ. (2565). ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อมาตรการ. ลดปัญหาภาวะเริ่มอ้วนและโรคอ้วนในเด็กไทย. วารสารการสร้างเสริมสุขภาพไทย, 1(4), 387-394.
4. สรัญญา สุจริตพงศ์. (2565). บทวิเคราะห์แผนระดับชาติของไทยสำหรับเป้าหมายอาหารที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืน.วารสารการสร้างเสริมสุขภาพไทย, 1(4), 442-453.
นอกจากนี้ โครงการฯ ยังผลิตบทความภาษาอังกฤษเพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินการสู่ประชาคมโลกจำนวนมาก จัดเรียงตามปี ดังนี้
2024
2023
2022
2021
2020
-