ทั่วโลกล้วนประสบกับผลกระทบอันรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และภาวะโลกร้อน ซึ่งหากไม่เริ่มดำเนินการอย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จากข้อตกลงในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ครั้งที่ 24 (COP24) ที่มุ่งเป้าสู่การบรรลุปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ให้ได้ภายในปี 2050 เพื่อรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสโดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์สำคัญของการเจรจา คือ การควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นระดับที่จะเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติอย่างแก้ไขไม่ได้
มหาวิทยาลัยมหิดลตระหนักถึงความสำคัญและความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่มนุษย์ จึงได้กำหนด นโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อีกทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG เป้าหมายที่ 13: Climate Action การปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งมุ่งระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งควรดำเนินการควบคู่ไปกับการบูรณาการมาตรการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และความมั่นคงของมนุษย์ เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ การรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส จำเป็นต้องมีเจตจำนงทางการเมืองที่เข้มแข็ง การลงทุนและการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเร่งด่วน และมีเป้าประสงค์ภายใต้ เป้าหมายที่ 13 ดังนี้
เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ
บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว การลดผลกระทบ และการเตือนภัยล่วงหน้า
ดำเนินการให้เกิดผลตามพันธกรณีที่ผูกมัดต่อประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีเป้าหมายร่วมกันระดมทุนจากทุกแหล่งให้ได้จำนวน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี 2563 เพื่อจะแก้ปัญหาความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนาในบริบทของการดำเนินการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญและมีความโปร่งใสในการดำเนินงาน และทำให้กองทุน Green Climate Fund ดำเนินงานอย่างเต็มที่โดยเร็วที่สุดผ่านการให้ทุน (capitalization)
ส่งเสริมกลไกที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนและการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิผลในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และให้ความสำคัญต่อผู้หญิง เยาวชน และชุมชนท้องถิ่นและชายขอบ
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมหาวิทยาลัยมหิดล ในปีงบประมาณ 2562 – 2566 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
แหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก | ประเภทของกิจกรรม | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 |
Scope 1
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง |
|
18,951.87 | 5,520.72 | 2,196.96 | 4,248.52 | 6,124.16 |
Scope 2
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่เกิดจากพลังงาน |
การใช้ไฟฟ้าของอาคาร | 163,697.78 | 161,384.88 | 155,949.05 | 164,732.59 | 172,442.14 |
Scope 3
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ |
การใช้น้ำประปา | 3,814.22 | 3,792.52 | 3,376.18 | 3,691.92 | 3,922.94 |
การใช้กระดาษ | 83.70 | 313.69 | 107.26 | 786.24 | 789.87 | |
รวมทั้งสิ้น (ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า: ton CO 2 e) | 186,547.57 | 171,011.82 | 161,629.45 | 173,459.27 | 183,279.10 |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ของมหาวิทยาลัย ภายในปี 2030
เพื่อรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส
โดยสอดรับกับนโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ “Mahidol Eco University
and Sustainability Policy” มีองค์ประกอบหลัก 5 ส่วน ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือในการรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
2. ส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Direct Emission)
3. ส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions)
4. ส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (Other Indirect Emissions)
5. ส่งเสริมการกักเก็บและดูดกลับคาร์บอน (Carbon Capture and Storage)
กำหนดตัวชี้วัดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากร และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อประเมินผลทุกส่วนงาน
ลำดับ | KPI | ค่าเป้าหมาย | KPIs Level | การรายงานข้อมูล |
---|---|---|---|---|
1. |
ปริมาณขยะทั่วไปทั้งหมด
ขยะทั่วไป หมายถึง ขยะหรือของเสียที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนํากลับมาใช้ใหม่ โดยจะถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบ (Landfill) ทั้งนี้ ขยะทั่วไปไม่รวมถึง ขยะรีไซเคิล เศษอาหารและเศษใบไม้ ขยะกำพร้า ขยะอันตราย และขยะติดเชื้อ ซึ่งจะถูกแยกประเภทและส่งไปกำจัดตามกระบวนการที่มีมาตรฐานตามหลักสุขาภิบาล |
≤0.3 kg/person/day | Monitoring | รายงานทุกไตรมาส |
2. |
ร้อยละการรีไซเคิลเทียบกับขยะทั้งหมด
ขยะรีไซเคิล หมายถึง ขยะ ของเหลือ หรือวัสดุเหลือใช้ที่มีคุณสมบัติในการนำกลับมาแปรรูปหรือนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ โดยขยะรีไซเคิลประกอบไปด้วยวัสดุที่สามารถผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตอีกครั้ง เช่น ขวดหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติก แก้ว อะลูมิเนียม โลหะ กระดาษ รวมไปถึงการนำเศษอาหารหรือเศษใบไม้ ผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น |
≥15% | Monitoring | รายงานทุกไตรมาส |
3. |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกขอบเขต
หมายถึง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร ได้แก่
|
≤25 kgCO 2 eq/person/day | Monitoring | รายงานทุกไตรมาส |