Energy

Energy
Energy
Management
การจัดการพลังงานในมหาวิทยาลัยมหิดล
การใช้พลังงานไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับการเรียนการสอน การวิจัย การให้บริการทางการแพทย์ การให้บริการทางด้านอื่น ๆ ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีความต้องการในการใช้พลังงานที่สูง มหาวิทยาลัยมีการจัดการพลังงาน เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง และส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ตลอดจนการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานมาใช้ในการดำเนินงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในเป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ (Affordable and Clean Energy) และเป้าหมายที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action)
พลังงานแสงอาทิตย์
(Solar Energy)
มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน เพื่อเป็นเครื่องมือในการผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินของมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คนในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้วางแผน กำหนดแนวทางและมาตรการในการจัดการพลังงานเพื่อใช้ในอาคารให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยด้วย โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้ เริ่มติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของอาคารภายในมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาดังนี้
  • 2553
    ศาลายา

    - คณะเทคนิคการแพทย์

  • 2558
    ศาลายา

    - คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    - คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

  • 2559
    วิทยาเขตพญาไท

    - คณะเวชศาสตร์เขตร้อน

  • 2562
    วิทยาเขตกาญจนบุรี

    - อาคารเรียนรวม

  • 2564
    ศาลายา

    - อาคารสำนักงานระบบบำบัดน้ำเสียรวม

    - สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

  • 2565
    ศาลายา

    - ทุกอาคาร

    วิทยาเขตพญาไท

    - คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

    บางพลี

    - สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์

    วิทยาเขตกาญจนบุรี

    - อาคารปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

    - หอพักนักศึกษาและบุคลากร

  • 2567
    วิทยาเขตบางกอกน้อย

    - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

    วิทยาเขตพญาไท

    - คณะเวชศาสตร์เขตร้อน

    บางพลี

    - สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์

    วิทยาเขตนครสวรรค์

    - ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์

  • 2568
    ศาลายา

    - ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ

    วิทยาเขตพญาไท

    - คณะเวชศาสตร์เขตร้อน

    วิทยาเขตนครสวรรค์
  • 2569
    วิทยาเขตกาญจนบุรี

    - โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน

    วิทยาเขตบางกอกน้อย

    - คณะกายภาพบำบัด

    - คณะพยาบาลศาสตร์

    วิทยาเขตพญาไท

    - คณะเภสัชศาสตร์

    - คณะทันตแพทยศาสตร์

    - คณะวิทยาศาสตร์

    - คณะเวชศาสตร์เขตร้อน

    - วิทยาลัยการจัดการ

img-monitor-solar
ในปี 2565 มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาได้ดำเนินการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์โดยมีกำลังการผลิตรวมสูงสุด 12.25 เมกะวัตต์ (MW) ทั้งบนดาดฟ้า หลังคาและผืนน้ำ ซึ่งพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นสามารถนำมาจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในอาคาร เช่น เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ โคมไฟแสงสว่าง เป็นต้น หากระบบพลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารนั้น พลังงานไฟฟ้าส่วนที่เหลือจะถูกนำจ่ายยังอาคารอื่น ๆ ทั่วมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้พลังงานจากพลังงานทดแทน และเริ่มใช้งานเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566
on-grid-thumb-05
on-grid-thumb-01
on-grid-thumb-02
on-grid-thumb-03
on-grid-thumb-04
on-grid-thumb-06
on-grid-thumb-06
on-grid-thumb-06
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว 14.91 เมกะวัตต์ (MW) ซึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 1,336,500 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kwh) ต่อเดือน และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ราว 650 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Ton CO 2 e) ต่อเดือน และมีแผนในการติดตั้งเพิ่มอีก 7.19 MW ในพื้นที่มหาวิทยาลัย
Energy
Energy
Energy
img-report-energy
img-monitor-solar
ระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy management)
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีระบบแสดงปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า (Automatic Meter Reading) ที่สามารถดึงข้อมูลจากมิเตอร์วัดไฟฟ้าของอาคาร อัตโนมัติ ผ่านระบบ SCADA monitoring และมีการจัดทำระบบเว็บไซต์ที่แสดงข้อมูลการใช้พลังงานในแต่ละอาคาร โดยสามารถนาข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการ บริหารจัดการพลังงานของอาคาร และติดตามการสูญเสียพลังงาน (Energy loss) เพื่อหาวิธีลดการใช้พลังงานทำให้อาคารสามารถใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด โดยสามารถดูข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าผ่านเว็บไซต์ ซึ่งสะดวกต่อการบริหารจัดการ
img-energy-1
img-energy-2
ระบบบริหารจัดการการใช้พลังงานภายในอาคาร
โปรแกรมจัดการพลังงานที่อาคารสำนักงานอธิการบดี และอาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล จะกำหนดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (maximum electricity demand) ไม่เกิน 500 กิโลวัตต์ (kW) ซึ่งเครื่องปรับอากาศจะได้รับการควบคุมโดยตัดวงจรไฟฟ้าในส่วนของ คอมเพรสเซอร์ให้หยุดการทำงานเมื่อค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด มากกว่า 500 kW ชั่วขณะ ระหว่าง 3-5 นาที เพื่อควบคุมและลด ค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) โดยคงระดับอุณหภูมิภายในห้องไว้ที่ 22-25 °C เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ พลังงานภายในอาคารอย่างยั่งยืน
อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
มหาวิทยาลัยใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน อาทิ คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หลอดไฟ เครื่องปรับอากาศ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กระแสไฟฟ้าน้อย หรือมีประสิทธิภาพสูง โดยมีอุปกรณ์ประหยัดพลังงานร้อยละ 85.6
img-save-energy.png