โรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเทศไทย

detail

การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนให้เป็นไปได้ตามเป้าหมายสูงสุด คือ “เด็กนักเรียนทุกคนได้รับโอกาสและมีกิจกรรมทางกายอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ”  จากการติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและพัฒนาการของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างคนเดิมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6  พบว่านักเรียนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น มีความสุข มีสมาธิและเข้าใจในการเรียน มีการเปลี่ยนแปลงของทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ดี มีพัฒนาการดีขึ้นในทุกด้านโดยเฉพาะด้านร่างกาย วิชาการ และการคิดวิเคราะห์ และใช้หน้าจอเพื่อความบันเทิงน้อยกว่า

การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน คล้ายกับเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก แต่จากข้อมูลเชิงสถานการณ์ด้านการมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทยได้ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรค (Obstacles) และภัยคุกคาม (Threats) ต่าง ๆ ที่เข้ามามีผลทำให้เด็กและเยาวชนไทยไม่สามารถมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อการส่งเสริมพัฒนาการได้ ด้วยเหตุนี้การดำเนิน การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนให้เป็นไปได้ตามเป้าหมายสูงสุด คือ “เด็กนักเรียนทุกคนได้รับโอกาสและมีกิจกรรมทางกายอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ”  จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือการจัดการเชิงระบบเข้ามาช่วยหนุนเสริมการออกแบบและวางแผนนโยบาย และกิจกรรม อันจะช่วยให้โรงเรียนสามารถบูรณาการกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายเข้ากับกิจกรรมเชิงนโยบายและการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้อย่างไร้รอยต่อ ไม่เป็นการเพิ่มภาระงานให้กับโรงเรียน และครูผู้ปฏิบัติหน้าที่

ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ได้ร่วมมือกัน ทดสอบประสิทธิผลของโมเดลต้นแบบสำหรับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนที่มี ความหลากหลายเชิงบริบท กระทั่งได้มาซึ่ง “แนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเชิงระบบแบบ 4PC”

องค์ประกอบสำหรับการดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนด้วยแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเชิงระบบแบบ 4PC มี 5 องค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

  • นโยบายส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายในทุกโอกาส (Active Policy)
  • บุคลากรที่มีความกระฉับกระเฉงตื่นรู้ (Active People)
  • แผนกิจกรรมฉลาดเล่น (Active Program)
  • พื้นที่ส่งเสริมการเล่น (Active Place)
  • ห้องเรียนฉลาดรู้ (Active Classroom)

              


กิจกรรมทางกาย (Physical activity) ที่เพียงพอและสม่ำเสมอ ถือเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์โดยการมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนักสะสมให้ได้อย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 60 นาที สำหรับเด็กนั้นมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระบบหัวใจและปอดที่แข็งแรงขึ้น รวมถึงสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ สถานะของระบบหัวใจและหลอดเลือด และสุขภาพของกระดูก การมีกิจกรรมทางกายเป็นประจำยังช่วยให้้ความจำดีขึ้น รวมถึงความสามารถในการคิดเชิงบริหาร การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และการตัดสินใจ นอกจากนี้การมีีกิจกรรมทางกายยังช่วยลดอาการซึมเศร้า และส่งเสริมให้้เด็กและเยาวชนใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น เพราะการมีกิจกรรมทางกายจะช่วยให้้เกิดการหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) สารโดพามีนี (Dopamine) และสารเอ็นโดรฟิน (Endorphin)ออกมาซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้้เกิดความสุข

​ในปี 2561 ต้นแบบการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายนักเรียนภายใต้แนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเชิงระบบแบบ 4PC ได้ถูกนำไปเผยแพร่ให้เป็นกรณีตัวอย่างในเอกสาร School Physical Activity Promotion Guide and Assessment Tool ซึ่งเป็นคู่มือแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนขององค์การอนามัยโลก


โครงการโรงเรียนฉลาดเล่น (Active School Thailand) 

“โรงเรียนฉลาดเล่น” (Active School) หรือโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เด็ก ๆ จะได้มีความสุขกับการเรียนรู้ผ่านทางการเล่น การมีกิจกรรมทางกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ในรูปแบบ Active Learning ซึ่งภายในโรงเรียนฉลาดเล่นนี้ เด็ก ๆ จะมีพัฒนาการที่สมวัย มีความสุข และความผูกพันกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น

เป็นตัวอย่างความสำเร็จของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน เป็นโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขันพื้นฐาน (สพฐ.) และโรงเรียนต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 17 โรงเรียน โดยเป้าหมายหลักคือ การพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบท ของสังคมไทย โดยรูปแบบโครงการเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study with Intervention and Control group) ที่แบ่งโรงเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1.  โรงเรียนที่เข้าร่วม กิจกรรมโครงการโรงเรียนฉลาดเล่นที่ดำเนินกิจกรรมตามแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเชิงระบบแบบ 4PC
  2.  โรงเรียนทั่วไปที่ไม่มีการส่งเสริมกิจกรรมใด ๆ

โครงการดังกล่าวนี้ ใช้ระยะเวลาดำเนินโครงการทั้งสิ้น 3 ปี (พ.ศ. 2560 – 2562) เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและพัฒนาการของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างคนเดิมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง 6 จำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างประมาณ 346 คน มีข้อค้นพบ ที่น่าสนใจโดยสรุป ดังนี้

  1. นักเรียนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
  2. นักเรียนมีความสุขมากกว่า
  3. นักเรียนมีสมาธิและเข้าใจในการเรียนมากกว่า
  4. นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงของทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับพัฒนาการตามช่วงวัยที่ควรมี
  5. นักเรียนมีพัฒนาการดีขึ้นในทุกด้าน (ร่างกาย อารมณ์/สังคม การสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ วิชาการ) โดยเฉพาะด้านร่างกาย วิชาการ และการคิดวิเคราะห์ โดยเปรียบเทียกับพัฒนาการที่นักเรียนควรมีตามช่วงวัย
  6. นักเรียนใช้หน้าจอเพื่อความบันเทิงน้อยกว่า

ปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ “โรงเรียนฉลาดเล่น: Active School”   20 โรงเรียน จากทั่วทุกภาคในประเทศไทย มีคณุแกนนำ 180 ท่าน และ นักเรียนกว่า 4,800 คน


ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเทศไทย

เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะหลักตรงตามเป้าประสงค์และมีโอกาสได้ “เล่น – เรียน - รู้” มีความสุข สนุกสนาน ไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้และมีประสบการณ์ตรงเพื่อพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยอย่างรอบด้าน
องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำว่าเด็กจำเป็นต้องมีเวลาสำหรับการมีกิจกรรมทางกายมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรวัยอื่น ๆ โดยในทุก ๆ วันของสัปดาห์ เด็กและวัยรุ่นควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงระดับหนักเฉลี่ยอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน โดยกิจกรรมทางกายที่ทำส่วนใหญ่ควรเป็นกิจกรรมแบบแอโรบิก

จากสถานการณ์ความจำเป็นในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนไทย ประกอบกับข้อค้นพบจากโมเดลนวัตกรรมสำหรับการดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน โดยมีแนวทางการดำเนินนโยบายดังต่อไปนี้

  1. สื่อสารประชาสัมพันธ์และส่งเสริมเชิงนโยบายให้เกิดการนำแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเชิงระบบแบบ 4PC ไปใช้ในโรงเรียนทั่วประเทศ โดยในช่วงเริมต้นอาจพิจารณาจากความพร้อมและความสมัครใจของโรงเรียน โดยใช้กลไกการทำงานที่มีอยู่ในระดับพื้นที่ เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา (สพป.) หรือสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เป็นหน่วยการจัดการระดับพื้นที่
  2. สนับสนุนให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนทั่วประเทศได้รับการพัฒนาศักยภาพและฝึกปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดการดำเนินงานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน อันจะนำไปสู่การปรับประยุกต์ใช้เพื่อการส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนตามเป้าประสงค์ของ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency-based Curriculum) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. สนับสนุนและพิจารณารับรองหลักสูตรการอบรมเกี่ยวกับแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนให้เป็นหนึ่งในหลักสูตรของสถาบันคุรุพัฒนา เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูได้มีโอกาสและช่องทางสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพอย่างเหมาะสม

 

การสนับสนุนกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย เป็นการร่วมทำงานกันของเครือข่ายทางวิชาการและนโยบายทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยมีภาคีเครือข่ายดังนี้

ระดับชาติ

  • มหาวิทยาลัยมหิดล 
  • ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (Thailand Physical Activity Knowledge Development Centre : TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โครงการวิจัยด้านกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชน (Children and Youth Physical Activity Studies: CYPAS) วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล 
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย
  • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
  • Healthy Space Forum ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะ

ระดับนานาชาติ

  • World Health Organization
  • Japan Sport Association
  • Active Healthy Kids Global Alliance
  • SUNRISE

 

Partners/Stakeholders

การสนับสนุนกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย เป็นการร่วมทำงานกันของเครือข่ายทางวิชาการและนโยบายทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

  1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  2. กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย
  3. World Health Organization
  4. ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Department of Biomedical Engineering Faculty of Engineering)
  5. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
  6. กระทรวงศึกษาธิการ
  7. Japan Sport Association
  8. Active Healthy Kids Global Alliance
  9. Healthy Space Forum ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง
  10. โครงการวิจัยด้านกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชน (Children and Youth Physical Activity Studies: CYPAS)  วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
  11. SUNRISE
ผู้ดำเนินการหลัก
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (Thailand Physical Activity Knowledge Development Centre : TPAK)
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์, โครงการวิจัยด้านกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชน (Children and Youth Physical Activity Studies: CYPAS)
ส่วนงานร่วม