HOME
ABOUT
ABOUT
Who we are
Policies & Plans
Awards
Report
Research
Research
Medical and Clinical Sciences
Health Sciences and Public Health
Basic Science, Applied Science and Technology
Social Sciences, Humanities, Management and Liberal Arts
Arts, Language and Culture
Campus
Campus
Net Zero
Energy
Water
Transportation
Waste
Circlar Economy
Green Buliding
Ecosystem
Accommodations
Engagement
Learning
Learning
Education
Public Program
Scholarship
Case Study
Contact
ค้นหา
TH
EN
Home
Education for Sustainability
Education for Sustainability
Goal
Through curriculum and extra-curriculum
การบูรณาการแนวคิดด้านความยั่งยืนสู่การเรียนการสอน ตลอดจนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อพัฒนาส่วนงานให้มีธรรมาภิบาลอย่างเป็นระบบ
2. เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีโครงสร้างและระบบงานที่ตอบสนองต่อพันธกิจหลัก และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
3. เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีศักยภาพตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
4. เพื่อให้ส่วนงานเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงการเป็น Self-Sufficiency Organization
5. เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็น Digital University
6. เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็น Eco University
7. เพื่อสร้าง Brand MAHIDOL ในระดับสากล
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. วางระบบสื่อสาร และผลักดันให้มีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างทั่วถึงทั้งมหาวิทยาลัย
2. สร้างความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยตามกระบวนการแผนยุทธศาสตร์
3. ปรับโครงสร้างมหาวิทยาลัยและ/หรือส่วนงาน โดยใช้แนวคิดทางธุรกิจ (business-oriented) ที่สามารถพึ่งพา ตนเองได้
4. พัฒนาระบบ Central Operating System และถ่ายทอดสู่ทุกส่วนงาน เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานที่มี ประสิทธิภาพสูง
5. พัฒนาขีดความสามารถของวิทยาเขตต่างๆ อย่างมียุทธศาสตร์และเป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
6. จัดทำและถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลไปยังทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย และสร้างระบบ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการผลักดันยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
7. พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินของทุกส่วนงานให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
8. เพิ่มขีดความสามารถและสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ และการบริหารสินทรัพย์ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
9. พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อสนับสนุนพันธกิจหลักและพันธกิจสนับสนุนอื่นๆ รวมถึงการสร้าง ฐานข้อมูลกลาง (Big Data) เพื่อการตัดสินใจ
10. เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและระบบสาธารณูปโภคที่ลด carbon footprint และส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
11. ใช้ระบบคุณภาพระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสร้างการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน
12. สร้างคู่พันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับมหาวิทยาลัย/หน่วยงานระดับโลก (Strategic Partner)
13. ประชาสัมพันธ์ Brand MAHIDOL อย่างมียุทธศาสตร์
14. ส่งเสริมภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน (SDGs)
Case Study
04
08
19 ส.ค. 2565
งานอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (NICFD) และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บ (CSIP) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลเล็งเห็นว่าเด็กวัยเรียน/นักเรียน ควรมีความสมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม ที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลรวมทั้งได้รับการดูแล ความคุ้มครองและสร้างทักษะความสามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น ให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ถูกทำร้ายและปลอดจากภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจึงจัดโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนและการรับรองโรงเรียนปลอดภัย ในนาม “MU Safe School” ขึ้น เพื่อพัฒนาสุขภาวะและความปลอดภัยของนักเรียนในโรงเรียน พัฒนาความรู้และทักษะความปลอดภัยแก่บุคลากรและครู สนับสนุนรูปแบบการดำเนินงานและยกระดับการรับรองโรงเรียนปลอดภัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ สถานศึกษา-โรงเรียน ผู้บริหารบุคลากรและครูในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนละแวกโรงเรียน
04
25 ส.ค. 2565
ศูนย์สมานใจปฐมวัยสาธิต
รูปแบบการจัดบริการการพัฒนาเด็กปฐมวัย สำหรับเด็กที่ถูกเลี้ยงดูไม่เหมาะสม หรือถูกทารุณกรรม (เด็กเปราะบาง) ให้ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
02
04
12
17
4 พ.ย. 2567
Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต
กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation และช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ที่จะดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573
02
03
04
08
12
17
3 พ.ย. 2567
SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
หลักสูตร SMART Farmer มุ่งเน้นการเกษตรแบบผสมผสานและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค พร้อมส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่การผลิตจนถึงการขาย และเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
03
06
17
26 ก.ค. 2567
โครงการมหิดลอาสาทำความดี ปีที่ 4 สืบสานปณิธานพระราชบิดา
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับองค์การนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สืบต่อเจตนาของการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมตามโครงการมหิดลอาสาทำความดี "สืบสานปณิธานพระราชบิดา
04
03
11 มี.ค. 2565
การอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข
สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ได้พัฒนาหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข (Mini Master Management in Health)
15
01
08
11
17
10 ส.ค. 2565
สร้างฝายชะลอน้ำ (CHECK DAM) แล้วได้ประโยชน์อย่างไร
วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดลเดิมประสบปัญหาการพังทลายของหน้าดิน เนื่องจากการชะล้างของน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนได้ไหลเข้าท่วมสู่อำเภอไทรโยค เนื่องจากสถานที่ตั้งของวิทยาเขตกาญจนบุรีอยู่บนที่ราบเชิงเขา ทำให้สถานที่ราชการ บ้านเรือนประชาชน ถนน ได้รับความเสียหายส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนของชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลวังโพ อำเภอไทรโยค ในปี 2553 วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้มีความร่วมมือกับ SCGP โรงงานวังศาลา ได้เข้ามาศึกษาและสำรวจการพังทลายของชั้นดินบริเวณวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยเห็นควรให้มีการจัดสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้วิทยาเขตกาญจนบุรีจึงได้มีความร่วมมือกับทาง SCGP โรงงานวังศาลา และทุกภาคส่วนในอำเภอไทรโยค ในการเริ่มสร้างฝายชะลอน้ำขึ้นในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มาเป็นลำดับในทุกปี โดย ณ ปัจจุบัน มีฝายชะลอน้ำทั้งหมดจำนวน 427 ฝาย วัตถุประสงค์หลักของการสร้างฝายในพื้นที่มิได้เพื่อการกักเก็บน้ำเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเขาหินปูน มีรูพรุนใต้พื้นดินเป็นจำนวนมากไม่สามารถเก็บน้ำได้ แต่การสร้างฝายเพือชะลอน้ำ และลดความรุนแรงของน้ำเพื่อไม้ให้สูญเสียหน้าดิน อีกทั้งยังต้องการให้พื้นป่ามีความชุ่มชื้นที่ยาวนานขึ้น โดยส่วนใหญ่ฝายชะลอน้ำสร้างจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เศษไม้ ปลายไม้ หิน สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและไม่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ
03
04
10
11
26 ก.ค. 2567
โครงการ “ค่ายบัณฑิตมหิดลอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน” ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ “ค่ายบัณฑิตมหิดลอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน” ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
10
04
1 ส.ค. 2565
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนทุนช่วยเหลือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความพิการ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนทุนช่วยเหลือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความพิการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักศึกษาพิการระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
04
1 ส.ค. 2565
โครงการ Mahidol Apprenticeship Program (MAP)
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำโครงการ Mahidol Apprenticeship Program (MAP) ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลที่เปิดกว้างสำหรับผู้สนใจเข้าศึกษา/บุคคลทั่วไป สามารถเข้าศึกษา โดยไม่จำกัดอายุ พื้นฐานการศึกษา หรืออาชีพ มุ่งให้ผู้เรียนเพิ่มพูน พัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
03
04
15 พ.ค. 2566
โครงการ การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 10
การรวมพลังเครือข่ายทางสังคมเพื่อพัฒนาตำบลต้นแบบ และอำเภอต้นแบบด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 10 ตามแนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา และหลักการพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยโดยชุมชนท้องถิ่น 4 หลักการ คือ การใช้พื้นที่เป็นฐานของการพัฒนา การคำนึงถึงสุขภาพในทุกนโยบาย การสร้างการมี ส่วนร่วมและการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนท้องถิ่น
04
15 พ.ค. 2566
โครงการพัฒนาสมรรถนะของแกนนำ และภาคีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัว จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดมุกดาหาร
ทีมผู้ดำเนินการเป็นที่ปรึกษาและวิทยากรในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะของแกนนำและภาคีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 4 โครงการ รวม 15 วัน มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 970 คน และจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 2 โครงการ รวม 4 วัน มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 194 คน
จำนวนทั้งหมด
68
รายการ
←
1
2
3
4
5
ไปหน้า
1
2
3
4
5
6
→
↠
เว็บไซต์นี้ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนเว็บไซต์ของเรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆแสดงว่าท่านยอมรับการใช้งานคุกกี้และประกาศความเป็นส่วนตัว
รายละเอียดเพิ่มเติม
ยอมรับ
ปฏิเสธ