Education for Sustainability

Education for Sustainability
Education for Sustainability
Goal
Through curriculum and extra-curriculum
การบูรณาการแนวคิดด้านความยั่งยืนสู่การเรียนการสอน ตลอดจนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อพัฒนาส่วนงานให้มีธรรมาภิบาลอย่างเป็นระบบ
2. เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีโครงสร้างและระบบงานที่ตอบสนองต่อพันธกิจหลัก และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
3. เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีศักยภาพตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
4. เพื่อให้ส่วนงานเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงการเป็น Self-Sufficiency Organization
5. เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็น Digital University
6. เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็น Eco University
7. เพื่อสร้าง Brand MAHIDOL ในระดับสากล
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. วางระบบสื่อสาร และผลักดันให้มีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างทั่วถึงทั้งมหาวิทยาลัย
2. สร้างความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยตามกระบวนการแผนยุทธศาสตร์
3. ปรับโครงสร้างมหาวิทยาลัยและ/หรือส่วนงาน โดยใช้แนวคิดทางธุรกิจ (business-oriented) ที่สามารถพึ่งพา ตนเองได้
4. พัฒนาระบบ Central Operating System และถ่ายทอดสู่ทุกส่วนงาน เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานที่มี ประสิทธิภาพสูง
5. พัฒนาขีดความสามารถของวิทยาเขตต่างๆ อย่างมียุทธศาสตร์และเป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
6. จัดทำและถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลไปยังทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย และสร้างระบบ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการผลักดันยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
7. พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินของทุกส่วนงานให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
8. เพิ่มขีดความสามารถและสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ และการบริหารสินทรัพย์ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
9. พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อสนับสนุนพันธกิจหลักและพันธกิจสนับสนุนอื่นๆ รวมถึงการสร้าง ฐานข้อมูลกลาง (Big Data) เพื่อการตัดสินใจ
10. เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและระบบสาธารณูปโภคที่ลด carbon footprint และส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
11. ใช้ระบบคุณภาพระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสร้างการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน
12. สร้างคู่พันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับมหาวิทยาลัย/หน่วยงานระดับโลก (Strategic Partner)
13. ประชาสัมพันธ์ Brand MAHIDOL อย่างมียุทธศาสตร์
14. ส่งเสริมภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน (SDGs)
Case Study
  • thumb
    04 03
    2 ก.ย. 2565
    โครงการผู้สูงอายุรู้ทันสื่อ: สร้างหลักสูตรและขยายเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาวะ (Media Literate Elderly: Creating Media Literacy Course and Expanding Networks of Communicators for Well-being)
    สร้างเสริมการรู้เท่าทันสื่อให้ผู้สูงอายุไทยในเมืองและชนบท พร้อมขยายผลให้แกนนำผู้สูงอายุใน 5 พื้นที่
  • thumb
    17 03 04
    25 ก.ค. 2565
    โครงการ MFA – MU Capacity Building for Medical and Health Science Education Hub
    มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ตกลงทำบันทึกความเข้าใจ ในปี ๒๕๖๔ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยเทคนิควิธีการที่ทันสมัยผ่านผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันระดับโลก (Train the Trainers) ซึ่งนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญต่อไปยังบุคลากรในภาคส่วนนั้นๆ ทั้งในการรักษาพยาบาลประชาชนในประเทศและการกระจายองค์ความรู้สู่การพัฒนาทางการแพทย์นอกประเทศ (Training the Others) ในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายทางการแพทย์ในระดับภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ทางการทูตเพื่อการพัฒนา (Development Diplomacy) และการทูตเชิงเวชการ (Medical Diplomacy) โดยความร่วมมือดังกล่าวสอดคล้องกับ Sustainable Development Goals ในด้าน Partnerships for the goals ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้าน Education for Sustainability เนื่องจากมุ่งเน้นในด้านของการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรด้านการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้ไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาต่อไป ซึ่งภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวมีโครงการจาก ๓ ส่วนงาน
  • thumb
    05 01 04
    24 ก.ค. 2565
    การส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการสตรีและเสริมสร้างภาวะผู้นำของสตรีข้ามเพศในภาคธุรกิจ (Capacity Building for Female Entrepreneurs and Leadership Learning Program for Transwomen in Business Organizations)
    โครงการที่มุ่งเป้าการพัฒนาควาสมเป็นผู้นำองค์กร และ ทักษะในการประกอบการยุคใหม่ทั้งดิจิตัลเทตโนโลยี การบริหารองค์กร และ การจัดการทรัพยากรเพื่อผู้ประกอบการสตรี และ ผู้นำสตรีข้ามเพศ
  • thumb
    13
    24 ม.ค. 2566
    PM2.5 FOOTPRINT
    Fine particulate matter (PM2.5 or fine particulate matter with a diameter up to 2.5 microns) is one of the most important causes of premature deaths. The World Health Organization (WHO) estimated that outdoor air pollution caused 4.2 million premature deaths globally in 2016 due to PM2.5 exposure. The PM2.5 exposure could lead to cardiovascular and respiratory disease, and cancers (WHO, 2021). In Thailand, overall PM2.5 concentrations have been reduced continuously. Nonetheless, the annual average PM2.5 concentrations in Thailand have still exceeded the World Health Organization standards throughout the past 10 years. Transport sector is one of the major sources of PM2.5 emissions. Understanding the potential health impacts and costs of PM2.5 formation from different modes of transport will help raising the awareness of the public due to the realisation on the PM2.5 footprint of their actions. PM2.5 footprint is considered as the health impacts from PM2.5 formation throughout life cycle of products and organisations. PM2.5 footprint is quantified by multiplying emissions with characterisation factors. Afterwards, the health costs could be obtained by economic evaluation of the health impacts. The PM2.5 Footprint Calculator v1.01 was developed as a tool for enhancing environmentally sustainable passenger transport in Thailand. The PM2.5 Footprint Calculator v1.01 can determine primary and secondary PM2.5 emissions (PM2.5, NOx, NH3, and SO2) and assess health impacts and costs of passenger transport by road, water and rail in Thailand. The calculator consists of primary and secondary PM2.5 emission inventory (for passenger transport), city-specific characterisation factors, and health cost conversion factor. The details of emission inventory, impact characterisation and economic valuation can be seen the background report of PM2.5 Footprint Calculator v1.01 (Prapaspongsa et al., 2021). Features of the current version and future updates of the PM2.5 footprint calculator are also documented in the report. The PM2.5 Footprint Calculator v1.01 is provided in two versions including Web-Based PM2.5 Footprint Calculator and PM2.5 Footprint Calculator (Microsoft Excel Program). Users can directly apply the Web-Based PM2.5 Footprint Calculator via this PM2.5 footprint website or download the PM2.5 Footprint Calculator (Microsoft Excel Program) from this website for own calculations. The Web-Based PM2.5 Footprint Calculator computes the health impacts and costs from "well-to-wheel" including emissions from upstream fuel and electricity production; and exhaust emissions from fuel combustion. The PM2.5 Footprint Calculator (Microsoft Excel Program) can assess health impacts and costs both from "well-to-wheel" and "tank-to-wheel”. In the tank-to-wheel scope, the exhaust emissions from fuel combustion (indicated as "vehicle use" in this excel) are considered.
  • thumb
    03
    23 ธ.ค. 2565
    การอบรมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง เทคนิคขั้นสูงในการแปลผลคลื่นอีซีจีและการดูแลผู้ป่วยวิกฤตระบบไหลเวียนเลือดและ ผู้ป่วยหัวใจและหลอดเลือด รุ่นที่ 4
    เป็นการจัดอบรมให้ความรู้เรื่อง เทคนิคขั้นสูงในการแปลผลคลื่นอีซีจีและการดูแลผู้ป่วยวิกฤตระบบไหลเวียนเลือดและผู้ป่วยหัวใจและหลอดเลือด (Advanced Technique in ECG interpretation and Cardiovascular Nursing) แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยวิกฤต และหน่วยไอซียู จากโรงพยาบาลต่าง ๆ รุ่นที่ 4 เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้สาหรับพยาบาล หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหอผู้ป่วยวิกฤตและฉุกเฉิน เพื่อการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วย เพิ่มพูนความรู้และทักษะ โดยใช้ผลของการอ่านและแปลผลคลื่นอีซีจี โดยจัดขึ้นในวันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2565 (3 วันทำการ) ณ โรงแรม เอส ดี อเวนิว ถนนบรมราชชนนี กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 100-200 ราย
  • thumb
    29 ส.ค. 2565
    การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ “หลักสูตรอาชีพจากเครื่องยาสมุนไพร” และ “หลักสูตรอาชีพจากพรรณไม้”
    วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2565 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วิทยาลัยราชสุดา และโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการสร้างเสริมสมรรถนะด้านการเรียนรู้เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืนของคนพิการ วัตถุประสงค์ 1.4 การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกันจัดฝึกอบรมอาชีพใน 2 หลักสูตรแบบ Authentic Learning ปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรม DIY ทั้งรูปแบบ Online และ Onsite ณ สถานที่ตั้งของผู้เรียน
  • thumb
    04 02 17
    30 ก.ย. 2565
    โครงการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ชื่อหลักสูตร ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)
    การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ทั้งในด้านความรู้ ความคิด คุณธรรมจริยธรรม การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและสากล รวมทั้งมีความสามารถในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ ในการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ดำเนินการภายใต้ชื่อหลักสูตร “ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์
  • thumb
    04
    23 ก.ค. 2565
    การพัฒนาการศึกษาและทักษะด้านการจัดการเพื่อการพัฒนาอย่างอย่างยั่งยืน (The Development of Management Education and Skills for Sustainable Development)
    โครงการเพื่อพัฒนาการ สำหรับการศึกษาด้านการจัดการเพื่อการพัฒนาอย่างอย่างยั่งยืนมีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างทักษะ และ ความรู้ที่เหมาะสม และ เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจและองค์กรตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาด้านการจัดการที่มีคุณภาพแก่บุคคลทั่วไป
  • thumb
    04
    2 ก.ย. 2565
    ม.มหิดล – NECTEC – ม.นเรศวร ร่วมส่งเสริม “เยาวชนไทยทรงดำ” สร้างสรรค์ “พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล” เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
    ส่งเสริม “เยาวชนไทยทรงดำ” สร้างสรรค์ “พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล” เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
  • thumb
    03 11
    31 ส.ค. 2565
    ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค)
    ศูนย์การศึกษาวิจัยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายในมิติทางประชากรและสังคมที่มุ่งเน้นการศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์และพฤติกรรม โดยใช้องค์ความรู้และระเบียบวิธีวิจัยที่มีมาตรฐานระดับสากลเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พันธกิจ (Mission) 1. ทบทวนสถานการณ์และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านกิจกรรมทางกายเพื่อใช้ในประกอบการจัดทำแผนและแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรไทย 2. เชื่อมประสานภาคีทำงานด้านกิจกรรมทางกาย ตลอดจนวิเคราะห์ประเด็น และโจทย์การวิจัยเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. พัฒนาฐานข้อมูล เครื่องมือรวบรวมข้อมูลทางสังคม การติดตามและประเมินผล ตลอดจนการวิเคราะห์แนวโน้ม ด้านกิจกรรมทางกายที่มีมาตรฐานทางวิชาการระดับสากล เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และศึกษาเปรียบเทียบ ตลอดจนเฝ้าระวังกิจกรรมทางกาย 4. พัฒนาและเผยแพร่ผลผลิตทางวิชาการ ตลอดจนนวัตกรรมทางด้านสังคมศาสตร์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนไทยทุกช่วงวัย การดำเนินกิจกรรมทางวิชาการของศูนย์ได้มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และผลผลิตทางวิชาการด้านกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพและมาตรฐานเพื่อนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยมุ่งเน้นที่ผลผลิตหลัก 4 มิติ ประกอบด้วย 1) T: Tool คือ เครื่องมือและต้นแบบสำหรับการวิจัย 2) P: Publication คือ ผลการวิจัยที่เผยแพร่ 3) A: Analysis คือ ชุดข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ 4) K: Knowledge คือ ความรู้สู่การปฏิบัติ โดยตั้งเป้าหมายให้เกิดรูปธรรมภายใต้ขอบเขตดังกล่าวทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
  • thumb
    04 11 15
    31 ส.ค. 2565
    SIREEPARK 360 Virtual Tour
    ม.มหิดล เปิดโลกเมตาเวิร์สท่องอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติครั้งแรก แม้วิกฤติ COVID-19 จะทำให้ “แลนด์มาร์ค” (landmark) หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจหลายจุดในประเทศไทยต้องหลับใหลงดเปิดให้บริการเยี่ยมชม แต่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจะไม่ทำให้ระยะทาง เวลา หรืออุปสรรคใดๆ มาคอยขวางกั้น “ห้องเรียนธรรมชาติ” จากสมุนไพรนานาชนิด สู่โลกแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด นับเป็นครั้งแรกของ “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” แห่งโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหนึ่งใน “แลนด์มาร์ค” ที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม ที่จะได้ “ย่อโลก” สมุนไพรนานาชนิด และธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ในพื้นที่ 140 ไร่ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” เข้าสู่ “โลกแห่งเมตาเวิร์ส” เพื่อการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดในโลกเสมือนจริง
  • thumb
    04 09
    29 ส.ค. 2565
    โครงการ Mahidol Historical Learning Experience "เด็กไทยใจมหิดล"
    จัดทําแอปพลิเคชันเกมในลักษณะ Web Application จํานวน 1 แอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมการรับรู้ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องราวที่น่าสนใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนพื้นที่ชุมชนโดยรอบ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้แก่ นักศึกษา บุคลากร และนักเรียนในพื้นที่โดยรอบ จํานวนไม่น้อยกว่า 1,000 คน วัตถุประสงค์การดำเนินโครงการเพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์และเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยมหิดล เผยแพร่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในอำเภอพุทธมณฑลและพื้นที่ศาลายา เพื่อให้เยาวชนเกิดสำนึกรักในท้องถิ่น และเกิดความสนใจเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสิ่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนทุกเพศ ทุกวัย
จำนวนทั้งหมด 68 รายการ