จังหวัดอำนาจเจริญร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ มุ่งเน้นการพัฒนาและอนุรักษ์พืชสมุนไพร พืชหายาก และป่าชุมชนในพื้นที่ จัดทำเป็นฐานข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีชีวภาพ
จังหวัดอำนาจเจริญร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ มุ่งเน้นการพัฒนาและอนุรักษ์พืชสมุนไพร พืชหายาก และป่าชุมชนในพื้นที่ จัดทำเป็นฐานข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีชีวภาพ
จังหวัดอำนาจเจริญ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการอนุรักษ์พืชสมุนไพร จึงได้ร่วมกับโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินงานตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2535 มีเครือข่ายป่าชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดอำนาจเจริญกว่า 167 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ป่าชุมชนรวม 36,280 ไร่ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชทีมีอยู่อย่างหลากหลายของไทยไม่ให้สูญหาย มีการพัฒนาพันธุ์พืชให้เกิดประโยชน์แก่มหาชนชาวไทย โครงการที่วิทยาเขตอำนาจเจริญดำเนินการได้แก่ การสำรวจความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชท้องถิ่น จัดทำฐานข้อมูล ให้ความรู้การอนุรักษ์ป่า การใช้ประโยชน์และรักษาป่าชุมชน ร่วมกับภาคประชาชนได้แก่ชมรมฮักแพงป่าอำนาจเจริญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ป่าไม้จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด
โดยดำเนินงานตามกรอบแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 - 2564 อันประกอบไปด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพตามความต้องการของตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาอุตสาหกรรมและการตลาดสมุนไพรให้มีคุณภาพระดับสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างความเข้มแข็งของการบริหารและนโยบายภาครัฐเพื่อการขับเคลื่อนสมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน
โดยในยุทธศาสตร์ที่ 4 กำหนดให้การพัฒนาเมืองสมุนไพร (Herbal City) เป็น 1 ใน 6 มาตรการสำคัญซึ่งเป็นการถ่ายทอดมาตรการและแผนงานจากแผนแม่บทแห่งชาติ ทั้งนี้ จังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 14 จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นจังหวัดที่มีความพร้อมทั้งด้านภูมิศาสตร์ โดดเด่นด้านการส่งเสริมการปลูก เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบสมุนไพร
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการศึกษาที่ให้ความสำคัญและขับเคลื่อนงานด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยเป็นฐานปฏิบัติการแบบถาวรร่วมกับชมรมฮักแพงป่าอำนาจเจริญ ขยายผลเชื่อมโยงผู้คนที่อาศัยโดยรอบป่าชุมชน มีการเก็บรวบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง จัดทำเป็นสารสนเทศที่หลากหลายอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรท้องถิ่นให้มีความรู้ ทักษะ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเอง ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านภูมิศาสตร์เพื่อสำรวจและรวมข้อมูลให้เกิดการนำไปใช้และอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม อันจะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักรู้ ก่อเกิดความหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การกำหนดขอบเขตพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช ดังนั้นการสำรวจและศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ทราบข้อมูลการมีอยู่ของพืชท้องถิ่นหรือพืชหายาก โดยข้อมูลจากการสำรวจจะถูกนำมาศึกษาเพื่อระบุชนิด จัดหมวดหมู่ จัดทำคำบรรยายและรูปวิธาน ในรูปแบบที่เป็นสากล สามารถนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ประกอบการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนาต่อยอดในด้านต่าง ๆ เช่น สรรพคุณทางยา คุณค่าทางโภชนาการ ฯลฯ สู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชน ส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ
องค์การบริหารส่วนตำบล
กรมป่าไม้
วนอุทธยานภูสิงห์-ภูผาผึ้ง
ศึกษาธิการจังหวัดอำนาจเจริญ