Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 9 รายการ
  • thumb
    6 ก.ย. 2567
    โครงการมหิดลเพื่อสังคม “ความปลอดภัยในเด็ก (Child Safety)”
    ศูนย์สุขภาวะครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ได้จัดโครงการมหิดลเพื่อสังคม “ความปลอดภัยในเด็ก” (Child Safety) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานสร้างสุขภาวะที่ดีให้เด็กและประชาชนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายในจังหวัดอำนาจเจริญ ให้เกิดการทำงานร่วมบูรณาการที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
  • thumb
    03 04
    15 พ.ค. 2566
    โครงการ การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 10
    การรวมพลังเครือข่ายทางสังคมเพื่อพัฒนาตำบลต้นแบบ และอำเภอต้นแบบด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 10 ตามแนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา และหลักการพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยโดยชุมชนท้องถิ่น 4 หลักการ คือ การใช้พื้นที่เป็นฐานของการพัฒนา การคำนึงถึงสุขภาพในทุกนโยบาย การสร้างการมี ส่วนร่วมและการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนท้องถิ่น
  • thumb
    04
    15 พ.ค. 2566
    โครงการพัฒนาสมรรถนะของแกนนำ และภาคีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัว จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดมุกดาหาร
    ทีมผู้ดำเนินการเป็นที่ปรึกษาและวิทยากรในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะของแกนนำและภาคีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 4 โครงการ รวม 15 วัน มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 970 คน และจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 2 โครงการ รวม 4 วัน มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 194 คน
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน
    การสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ให้ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมร่วมกันทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ มีกลไกคณะทำงานในการบริหารจัดการศูนย์ดูแลกลางวัน โดยมีครูอาสาในการสร้างการเรียนรู้ 12 ฐาน และมีกองทุนศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม
  • thumb
    01 08 15
    14 ก.ย. 2565
    โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
    โครงการ U2T for BCG จัดสรรบุคลากรที่อยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบล นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ
  • thumb
    13
    20 ต.ค. 2565
    ความผันแปรของลมมรสุมฤดูร้อนในทวีปเอเชียสมัยโฮโลซีน : การศึกษาเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกในหินงอกและวงปีไม้จากประเทศไทยและจีน
    วงปีไม้สักและหินงอก สามารถเทียบเคียงประกอบการสร้างเส้นภูมิอากาศในอดีตย้อนหลังได้ถึง 3 ศตวรรษ รวมถึงแสดงถึงความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในพื้นที่ห่างไกล เช่น ปรากฏการณ์เอนโซ่ได้
  • thumb
    11 16 17
    15 พ.ค. 2566
    โครงการ ปันรัก ปันสุข เยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง
    โครงการเยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง เป็นการบูรณาการภาคีเครือข่ายทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัดในการเยี่ยมกลุ่มเปราะบางรายที่มีปัญหาซับซ้อนทั้งมิติด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมเพื่อร่วมกันดูแลและช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการแบบไร้รอยต่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางให้ดียิ่งขึ้น
  • thumb
    06 03
    20 ต.ค. 2565
    ผลิตน้ำประปาจากแหล่งน้ำดิบตามธรรมชาติ
    วิทยาเขตอำนาจเจริญผลิตน้ำประปาจากแหล่งน้ำดิบตามธรรมชาติ เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในการอุปโภคบริโภคอย่างยั่งยืน
  • thumb
    15 17
    25 ส.ค. 2565
    โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ : การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่นและพืชหายาก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่เป้าหมาย SDGs ระดับสากล
    การสำรวจความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชท้องถิ่นและพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลพืชขอบเขตพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช จังหวัดอำนาจเจริญ เริ่มดำเนินการในปี 2555-ปัจจุบัน โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ ร่วมกับ ป่าชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วัตถุประสงค์เพื่อสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) จัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรท้องถิ่น พืชอาหาร ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์พืชของจังหวัดอำนาจเจริญ และศึกษาแนวทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากทรัพยากรพืชท้องถิ่น และเป็นการเสริมศักยภาพเครือข่ายชุมชนและสร้างความผูกพันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ดำเนินการโดยสำรวจและเก็บข้อมูลพืชท้องถิ่นในป่าชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ จัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายและการกระจายพันธุ์ของพืชท้องถิ่น รวมถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากป่า โดยโครงการเน้นการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น โรงเรียน และชุมชนในพื้นที่นำไปสู่ผลลัพท์เรื่องการอนุรักษ์พื้นที่ป่าธรรมชาติ องค์ความรู้เรื่องความหลากหลายของทรัพยากรพืชท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์ และการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของชาวจังหวัดอำนาจเจริญต่อไป