ส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง เพื่อเพิ่มความรู้ ความตระหนัก และเสริมทักษะให้ประชาชน ชุมชน และบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพในการลดการบริโภคโซเดียม
ส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง เพื่อเพิ่มความรู้ ความตระหนัก และเสริมทักษะให้ประชาชน ชุมชน และบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพในการลดการบริโภคโซเดียม
จากปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) ทั่วโลกและในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรในระยะยาว หนึ่งในสาเหตุของการเจ็บป่วยคือพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคโซเดียมล้นเกินของคนไทย คนไทยป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังสูงถึง 7,600,000 คน เสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจวายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดประมาณ 40,000 คนต่อปี หรือ 108 คนต่อวัน เป็นโรคอัมพฤกษ์อัมพาตกว่า 500,000 คน
มหาวิทยาลัยมหิดล เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริโภคโซเดียมที่เหมาะสม จึงได้มีการดำเนินโครงการรณรงค์ขับเคลื่อนนโยบายลดการบริโภคโซเดียม (Low Sodium Campaign Funding) ซึ่งสอดคคล้องกับแผนงานระดับประเทศในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2568 ตั้งเป้าประชาชนบริโภคเกลือและโซเดียมลดลงร้อยละ 30 ภายในปี 2568 เพื่อลดโอกาสที่จะป่วยการเสียชีวิตและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้งหรือ NCDs
กล่าวถึงบริบทการรับประทานอาหารของคนในภาคอีสาน จะพบได้ว่ามีสัดส่วนการบริโภคโซเดียมที่สูง ยกตัวอย่างเช่น การบริโภคเกลือ ปลาร้า แม้กระทั้งการปรุงรสต่าง ๆ ซึ่งการแก้ไขปัญหาการบริโภคโซเดียมในชุมชนต้องอาศัยทั้งความรู้และความเข้าในวิถีของชุมชน นอกจากนี้ ต้องมีการประสานความรู้มือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการรณรงค์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดการบริโภคโชเดียม
ด้วยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่ใกล้ชิดกับชุมชนในพื้นที่ เล็งเห็นศักยภาพของตัวแทนชุมขน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่อยู่ในเครือข่ายความร่วมมือของส่วนงาน ในการเป็นตัวแทนขับเคลื่อนองค์ความรู้และนโยบายต่าง ๆ สู่ชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่ชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงได้จัดโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการคือ อสม. ตำบลโนนหนามแท่ง และตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 100 คน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
ภายในงาน ได้มีการจัดกิจกรรมการสาธิตการวัดค่าโซเดียมในอาหาร และการให้ความรู้เรื่องจากบริโภคโซเดียมที่เหมาะสม จัดกิจกรรมเวทีเสวนา ลดโซเดียมลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1. ประโยชน์เชิงวิชาการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการบริโภคโซเดียมที่เหมาะสม แผนงานและการขับเคลื่อนนโยบายการลดโซเดียมในระดับเขตสุขภาพ จังหวดและชุมชน ผ่านกิจกรรมเวทีเสวนา
2. ประโยชน์ต่อชุมชน
2.1 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้จากโครงการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในการเลือกซื้อ เลือกบริโภค และการปรุงอาหารที่มีโซเดียมตามปริมาณที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
2.2 พัฒนาความร่วมมือระหว่างภายในชุมชน เพื่อยกระดับชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไป
ผลการดำเนินงาน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ
ศูนย์แพทย์โนนหนามแท่ง โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
โรงพยาบาลอำนาจเจริญ