ศูนย์สุขภาวะครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ (Family Well-Being Center of Amnatcharoen Campus, Mahidol University; FWC-MUAM) ได้ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาสุขภาวะครอบครัวของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย พื้นที่รอบวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงวันที่ 6 มกราคม 2565 ภายใต้วิสัยทัศน์ “ส่งเสริมสุขภาวะครอบครัวของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี อย่างยั่งยืน มั่งคั่ง มั่นคง” การสร้างสุขภาวะเพื่อความปลอดภัยในเด็กและเยาวชน เป็นอีกประเด็นที่เราร่วมกันขับเคลื่อน ด้วยเห็นความสำคัญของสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กและเยาวชนนั้นเป็นฐานสู่ความมั่นคงทั้งทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ สังคม และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต แต่หากความไม่ปลอดภัยกลายเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพก็อาจส่งผลต่อความผิดปกติตลอดชีวิต เช่น พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วย หรือแม้กระทั่งการเสียชีวิตตามมาได้ เด็กมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมความปลอดภัยป้องกันอุบัติเหตุและภัยสุขภาพภายนอกที่ป้องกันได้ เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียตามมา การให้ความรู้และฝึกทักษะความปลอดภัยและทักษะสมองเพื่อบริหารจัดการชีวิตให้สําเร็จหรือ Executive Functions ซึ่งเป็นพื้นฐานของ “ทักษะในศตวรรษที่ 21” เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีความตระหนัก และมีทักษะความปลอดภัยในด้านต่างๆ รวมถึงการสร้างความตระหนักความปลอดภัยในเด็ก สำหรับโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน ในการจัดมาตรการลดความเสี่ยงให้เด็กจากอุบัติภัยและภัยสุขภาพ/โรคที่มองไม่เห็น โครงการนี้เป็นการบริการวิชาการเพื่อสังคม เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กและผู้เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ได้แก่ SDG 3 ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี ได้แก่ 1) การพัฒนา การฝึกฝน กำลังคนด้านสุขภาพ: การอบรมกระบวนกรสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กสำหรับบุคลากรและนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการความปลอดภัยในเด็กสำหรับเด็กอายุ 6-9 ปี ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้และวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ เพื่อสร้างเสริมและป้องกันการเสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อ SDG 4 คือ การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงความรู้และทักษะด้านสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กที่จำเป็นสำหรับ บุคลากร นักเรียน นักศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการเสวนา อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีศูนย์การเรียนรู้ ด้านความปลอดภัยในเด็ก สนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต SDG5 คือการสะท้อนปัญหาและนำเสนอ ข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญในมาตรการลดความเสี่ยงให้เด็กจาก อุบัติภัยและภัยสุขภาพ/โรคที่มองไม่เห็น และ SDG16 คือ ให้ความรู้อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริม และบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในเด็กที่ไม่เลือกปฏิบัติ
วัตถุประสงค์
1. พัฒนาศักยภาพกระบวนกรด้านความปลอดภัยในเด็ก
2. เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในเด็ก
3. ออกแบบนวัตกรรมความปลอดภัยในเด็ก
4. อบรมเชิงปฏิบัติการความปลอดภัยในเด็กสำหรับเด็ก อายุ 6-9 ปี
5. นำเสนอข้อมูลและข้อเสนอเชิงนโยบายความปลอดภัยในเด็ก
ผู้ได้รับประโยชน์
1. เด็กอายุ 6-9 ปี จากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ (โรงเรียนประจำ)
ได้ความรู้และทักษะความปลอดภัยในเด็ก ได้แก่ ฐานความปลอดภัยทางน้ำ ฐานความปลอดภัยในบ้าน
ฐานปฐมพยาบาลเบื้องต้น และฐานความปลอดภัยทางถนน นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ทรัพยากรที่มีความทันสมัย
มีประสิทธิภาพ ได้ออกมาเรียนรู้นอกโรงเรียนเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเด็กด้อยโอกาส
2. นักศึกษาและบุคลากร (ใหม่): พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพกระบวนกรด้านความปลอดภัยในเด็ก
3. บุคลากร (วิทยากร): ได้พัฒนาศักยภาพการเป็นวิทยากรให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น upskills & reskills
4. เครือข่าย:
ความต่อเนื่องและยั่งยืนกับคู่ความร่วมมือทำงานแบบบูรณาการด้านความปลอดภัยในเด็กทั้งหน่วยงานภายในส่วนงานและภา
ยนอกส่วนงาน คือหน่วยงานในจังหวัดอำนาจเจริญ
5. มหาวิทยาลัย: ตอบสนองเป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม มีการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภายใน
(สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว) มีผลงานโดดเด่น มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับ ชื่นชม
ยกย่องของจังหวัด ซึ่งมีข้อเสนอแนะให้ขยายเครือข่ายขับเคลื่อนเพิ่มขึ้น
ผลการดำเนินโครงการ
1. เด็กอายุ 6-9 ปี จากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 67 คน
ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการความปลอดภัยในเด็ก ประกอบด้วย 4 ฐาน ได้แก่ ฐานความปลอดภัยทางน้ำ
ฐานความปลอดภัยในบ้าน ฐานปฐมพยาบาลเบื้องต้น และฐานความปลอดภัยทางถนน
2. นักศึกษาและบุคลากร (ใหม่) อายุ 20-30 ปี
ผ่านการอบรมพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพกระบวนกรด้านความปลอดภัยในเด็ก
3. บุคลากร (วิทยากร) อายุ 25-55 ปี ได้พัฒนาศักยภาพการเป็นวิทยากรให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น
4. ภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน จำนวน 12 หน่วยงาน ได้ทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาร่วมกัน
รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในเสียงสะท้อนผู้ใช้บัณฑิตเพื่อการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและการจัดอบรมให้ตอบโจทย์ปัญหาความ
ต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป
5. ข้อมูลสุขภาพและความปลอดภัย 5 กลุ่มวัย ประกอบด้วย มารดาหลังคลอด (พาหะทาลัสซีเมีย) เด็กปฐมวัย (G6PD) ผู้พิการ
(Cerebral palsy with Intracerebral hemorrhage) วัยทำงานป่วยโรคเรื้อรัง (Hypertension with dyslipidemia)
และผู้สูงอายุ
6. นวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย "บ้านและความปลอดภัยในบ้าน: โรคที่มองไม่เห็น" จำนวน 5 นวัตกรรม
7. ชุดข้อมูลอุบัติเหตุและการเสียชีวิตในเด็กและเยาวชน จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 1 ชุด