Gender Equality

บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและเสริมพลังแก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน

ความเท่าเทียมทางเพศไม่ใช่เพียงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน แต่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองเพื่อการพัฒนายั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมทางวิชาการ การวิจัย และโครงการต่าง ๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมบทบาททางสังคมของสตรี และเด็กผู้หญิง การส่งเสริมสุขภาวะ และการอยู่ภายใต้ความรุนแรงของบุคลากรมหาวิทยาลัย นิสิตนักศึกษา และชุมชนโดยรอบ มหาวิทยาลัยมหิดลยังให้ความสำคัญกับการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและการทำงานในมหาวิทยาลัย โดยต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติทางเพศเป็นเงื่อนไขในการรับเข้าศึกษาหรือทำงาน รวมทั้งโอกาสในการศึกษาต่อและการเติบโตในหน้าที่การงานต่อไปอย่างเท่าเทียมโดยใช้เกณฑ์หลักความสามารถ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ เมื่อปี พ.ศ.2562 เป็นองค์กรที่เน้นการใช้แนวความคิดเชิงบูรณาการ โดยเฉพาะการใช้ฐานคิดทางด้านเพศภาวะ เพศวิถีในการศึกษาวิจัยประเด็นสุขภาพ เพื่อทำให้สังคมบรรลุถึงสุขภาพ สิทธิทางเพศ อนามัยการเจริญพันธุ์ ความเสมอภาค และความเป็นธรรม มีการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายของนักวิชาการ นักศึกษาประชาสังคมในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ เพื่อสร้างความรู้และนำเสนอปัญหาสุขภาพ สิทธิทางเพศ อนามัยการเจริญพันธุ์ ความไม่เป็นธรรมและไม่เสมอภาคทางเพศ มหาวิทยาลัยมหิดลไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิทธิเด็กและสตรีเท่านั้น แต่รวมไปถึงเพศทางเลือก ซึ่งมีการประกาศมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาสามารถแต่งกายตามเพศสภาพที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิด ในเวลาที่มีการเรียนการสอน รวมไปถึงในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรได้ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2564 การดำเนินการดังกล่าวเป็นการให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ตลอดจนส่งเสริมให้มีความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพตัวเองในอนาคตอีกด้วย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมีการขยายและจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) เพิ่มเติม ณ หอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพัก โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา เพื่อเป็นต้นแบบห้องน้ำทางเลือก ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียม

Highlights
  • thumb
    03 04 05
    7 พ.ค. 2567
    โครงการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
    ได้รับทุนสนับสนุนจาก Rockefeller Foundation ในโครงการ “Intensive Training for Continuing-Care System for High-risk Pregnancy” เพื่อดำเนินการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 14 โรงพยาบาลในระดับตติยภูมิและระดับปฐมภูมิ
  • thumb
    6 ก.ย. 2567
    โครงการมหิดลเพื่อสังคม “ความปลอดภัยในเด็ก (Child Safety)”
    ศูนย์สุขภาวะครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ได้จัดโครงการมหิดลเพื่อสังคม “ความปลอดภัยในเด็ก” (Child Safety) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานสร้างสุขภาวะที่ดีให้เด็กและประชาชนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายในจังหวัดอำนาจเจริญ ให้เกิดการทำงานร่วมบูรณาการที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
  • thumb
    04 05 10
    10 เม.ย. 2567
    การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้านสำหรับเยาวชนที่มีความพิการทางการเห็น
    เยาวชนพิการทางการเห็นมีความต้องการจำเป็นพิเศษในการเรียนรู้เรื่องเพศวิถี เนื่องจากไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยการมองเห็นและการสังเกต โครงการนี้จึงพัฒนาหลักสูตรเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้านสำหรับเยาวชนที่มีความพิการทางการเห็นโดยเฉพาะ เพื่อครอบคลุมการเรียนรู้บางประเด็นที่ต้องสอนอย่างเป็นขั้นตอน ตลอดจนแนะนำวิธีการเรียนการสอนและสื่อที่เยาวชนที่มีความพิการทางการเห็นสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    โครงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในแผนงานเชิงยุทธศาสตร์ของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาผ่านการเสริมสร้างศักยภาพ การเสริมสร้างอำนาจ และการเผยแพร่ความรู้ในหมู่นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและภาคส่วนต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานกว่าทศวรรษ นอกเหนือจากหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในระดับบัณฑิตศึกษาแล้ว สถาบันฯ ยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ทักษะ และความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาสำหรับนักวิชาการในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในช่วงหลังได้เน้นการทำงานไปที่กลุ่มนักวิชาการในเมียนมาร์ที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหารเมื่อปี 2564
  • thumb
    2 มี.ค. 2565
    เพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นําถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย
    โครงการเพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำกับการถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย ได้ใช้การสานเสวนาเรื่องสุขภาพเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การสร้างความไว้วางใจและปรองดอง เพื่อนำมาสู่สันติภาพในสังคมที่มีความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • thumb
    05
    23 มิ.ย. 2565
    กิจกรรมส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ
    วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นองค์การที่เล็งเห็นความสำคัญของแนวคิดความเท่าเทียมทางเพศ หลายภาคส่วนภายในวิทยาลัยนานาชาติ ทั้งกลุ่มสาขาวิชา งานกิจการนักศึกษา สโมสรนักศึกษา และชมรมนักศึกษา จึงมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศอย่างต่อเนื่องทุกปี
  • thumb
    10 05
    12 ก.ค. 2566
    MU Pride Celebration: เวทีเสวนาสิทธิและความหลากหลายทางเพศ
    มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิทธิและความหลากหลายทางเพศ โดยนโยบายหลากหลายที่สนับสนุนด้านสิทธิและความหลากหลายทางเพศของนักศึกษาและบุคลากร นอกจากนั้นแล้วภายใต้การทำงานของหน่วยความเลิศด้านวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยามหิดล ยังให้ความสำคัญต่อการทำงานเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม ผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมทางเพศและสุขภาวะ
  • thumb
    16 พ.ค. 2566
    งานนิทรรศการทันตสุขภาพ “เพื่อฟันที่คุณรัก”
    คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสโมสรนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว เพื่อเป็นการหารายได้สมทบทุนมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ความรู้ คำแนะนำในการป้องกันโรคและแนวทางการรักษาทางทันตกรรม เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษาสุขภาพช่องปากและฟัน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพให้กับประชาชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้กับนักศึกษาทันตแพทย์ ในการสร้างจิตสำนึกในการทำงานเพื่อสังคม กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร นิทรรศการทันตสุขภาพ การประกวดหนูน้อยฟันสวยชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ พร้อมทุนการศึกษา การให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่า และการออกร้านสอยดาวหารายได้สมทบทุนมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย สมทบทุนมูลนิธิคณะทันตแพทยศาสตร์มหิดล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาส และมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลด้วย
  • thumb
    23 มิ.ย. 2565
    โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อการมีงานทำและเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคต หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขา ผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21
    ประเทศได้ก้าวผ่านวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้เกิดจ้างงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าตลาดแรงงานที่ให้บริการจะขยายตัว และมีความต้องการผู้ดูแลเด็กมากขึ้น ผู้ดูแลเด็กจึงเป็นอาชีพที่มีความสำคัญกับครอบครัวในปัจจุบัน
  • thumb
    8 ก.ค. 2565
    โครงการทบทวนสถานการณ์สุขภาวะเด็กไทยและความเหลื่อมล้ำตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
    การปกป้องเด็กจากความรุนแรงในทุกรูปแบบ เป็นสิทธิพื้นฐานที่ระบุไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (United Nations Convention on the Right of the Child: CRC) ซึ่งประกอบด้วยสิทธิของเด็ก 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิที่จะมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ถูกบรรจุไว้ในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 (The 2030 Agenda for Sustainable Development) โดยเด็กทุกคนต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิในการดำรงชีวิตอย่างปราศจากความหวาดกลัว การถูกละเลย การถูกทารุณกรรม และการถูกแสวงหาผลประโยชน์ ทั้งนี้ รวมไปถึงความรุนแรงและการปฏิบัติที่เป็นอันตราย เช่น การบังคับให้แต่งงานในวัยเด็ก การขลิบอวัยวะเพศ การใช้แรงงานเด็ก การจ้างงาน และใช้เด็กในการทหารด้วย
  • thumb
    03 04 05
    22 มิ.ย. 2565
    บริการคลินิกเด็กและวัยรุ่นในรูปแบบออนไลน์
    สร้างองค์ความรู้ บริการวิชาการ และให้บริการการส่งเสริมพัฒนาการในเด็กที่มีปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น เพื่อให้เด็ก เยาวชน ได้รับการดูแลและแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีและถูกต้อง ซึ่งจะลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป
  • thumb
    5 พ.ค. 2566
    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ STEM & ROBOTICS CAMP
    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ STEM & ROBOTICS CAMP” เป็นการจัดค่ายเสริมพิเศษนอกเวลาเรียน เพื่อพัฒนาทักษะของครูและนักเรียนด้านการโค้ดดิ้ง การจัดกิจกรรมมีลักษณะการดำเนินงานใน 3 มิติ ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการโค้ดดิ้งสำหรับนักเรียนและครูผู้สอน การวิจัยและพัฒนากระบวนการสอนโค้ดดิ้งสำหรับครูผู้สอน และการวิจัยและพัฒนาสื่อการสอนโค้ดดิ้ง โดยแนวคิดและหลักการทำงานของคณะทำงานจะยึดหลักที่ว่า สื่อการสอนที่ใช้ในการจัดกิจกรรมต้องมีราคาไม่แพง เข้าถึงง่าย กระบวนการเรียนการสอนต้องเข้าถึงผู้เรียน คือ เข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ มีความทั่วถึง และมีความยั่งยืน
จำนวนทั้งหมด 15 รายการ