MU Pride Celebration: เวทีเสวนาสิทธิและความหลากหลายทางเพศ

detail

หน่วยความเลิศด้านวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนินการจัดงาน MU Pride Celebration: เวีทีเสวนาสิทธิและความหลากหลายทางเพศ ในวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2565 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ (101) ชั้น 1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งจะเป็นรูปแบบเวทีเสวนาที่จะมีผู้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความภาคภูมิใจ และข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อน โดยการจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความภาคภูมิใจ ของนักศึกษาและบุคลากรที่มีความหลากหลายทางเพศในมหาวิทยาลัยมหิดล และสื่อสารให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิและความหลากหลายทางเพศ การดำเนินงานดังกล่าวมีองค์กรภาคีเครือข่าย ได้แก่ (1) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2) มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกระเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน (3) มูลนิธิเดอะพอส โฮม เซ็นเตอร์ (4) สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย (5) โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนข้ามเพศในประเทศไทย ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานในครั้งนี้ คือ ผู้เข้าร่วมงานได้รับการสื่อสารเชิงบวกในการสร้าวความเข้าใจในประเด็นเรื่องสิทธิและความหลากหลายทางเพศ กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการเสริมพลัง มีความภาคภูมิใจในตัวเอง สามารถสื่อสารถึงนโยบายที่มีความสำคัญในการส่งเสริมสิทธิทางเพศ และไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศและเป็นการสนับสนุนการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ (Reduced Inequalities)  และเป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality)

มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิทธิและความหลากหลายทางเพศ โดยนโยบายหลากหลายที่สนับสนุนด้านสิทธิและความหลากหลายทางเพศของนักศึกษาและบุคลากร นอกจากนั้นแล้วภายใต้การทำงานของหน่วยความเลิศด้านวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยามหิดล ยังให้ความสำคัญต่อการทำงานเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม ผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมทางเพศและสุขภาวะ

 

ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายนเป็นเดือน International Pride Month ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่ทุกภาคีเครือข่ายจะร่วมแสดงความภาคภูมิใจ เฉลิมฉลองการมีอยู่ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในชุมชน เพื่อแสดงพลังสร้างสรรค์ สนับสนุนในการแสดงตัวตนของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่ก่อนหน้านี้ถูกปิดบัง ซ่อนตัวจากการรับรู้ของสังคม การแสดงสัญลักษณ์ของ Pride นี้จะเป็นเครื่องย้ำเตือนให้สังคมตระหนักถึงสิทธิความเท่าเทียมและเพื่อลดการปฏิบัติ หรือการกดขี่ทางเพศที่สามารถแสดงออกได้ในหลากหลายรูปแบบ

 

ในการนี้ หน่วยความเลิศด้านวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนินการจัดงาน MU Pride Celebration: เวีทีเสวนาสิทธิและความหลากหลายทางเพศ ในวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2565 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ (101) ชั้น 1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งจะเป็นรูปแบบเวทีเสวนาที่จะมีผู้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความภาคภูมิใจ และข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อน โดยการจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความภาคภูมิใจ ของนักศึกษาและบุคลากรที่มีความหลากหลายทางเพศในมหาวิทยาลัยมหิดล และสื่อสารให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิและความหลากหลายทางเพศ การดำเนินงานดังกล่าวมีองค์กรภาคีเครือข่าย ได้แก่ (1) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2) มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกระเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน (3) มูลนิธิเดอะพอส โฮม เซ็นเตอร์ (4) สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย (5) โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนข้ามเพศในประเทศไทย ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานในครั้งนี้ คือ ผู้เข้าร่วมงานได้รับการสื่อสารเชิงบวกในการสร้าวความเข้าใจในประเด็นเรื่องสิทธิและความหลากหลายทางเพศ กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการเสริมพลัง มีความภาคภูมิใจในตัวเอง สามารถสื่อสารถึงนโยบายที่มีความสำคัญในการส่งเสริมสิทธิทางเพศ และไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศและเป็นการสนับสนุนการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ (Reduced Inequalities) และเป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality)

Partners/Stakeholders

(1) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(2) มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกระเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน

(3) มูลนิธิเดอะพอส โฮม เซ็นเตอร์

(4) สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย

(5) โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนข้ามเพศในประเทศไทย

ผู้ดำเนินการหลัก
หน่วยความเป็นเลิศด้านวิจัย เพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ
ส่วนงานหลัก