“การแก้ปัญหาความแตกแยกร้าวลึกในสังคมด้วยการสร้างพื้น ที่ปลอดภัย สร้างความไว้วางใจชําระสิ่งค้างคาใจ และสร้าง ข้อตกลงใหม่ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล”
“การแก้ปัญหาความแตกแยกร้าวลึกในสังคมด้วยการสร้างพื้น ที่ปลอดภัย สร้างความไว้วางใจชําระสิ่งค้างคาใจ และสร้าง ข้อตกลงใหม่ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล”
โครงการเพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำกับการถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย ได้ใช้การสานเสวนาเรื่องสุขภาพเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การสร้างความไว้วางใจและปรองดอง เพื่อนำมาสู่สันติภาพในสังคมที่มีความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความแตกแยกร้าวลึกในสังคมที่มีความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ และวิถีวัฒนธรรม โดยโครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับทุนขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคมของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อผลักดันให้เกิดการนำงานวิจัยและวิชาการไปสู่การชี้นำสังคม โดยใช้กลวิธีการสร้างความไว้วางใจโดยใช้ “การแลสุขภาพ” เป็นตัวนำสู่การขับเคลื่อนถักทอความสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรม นำมาสู่การถอดบทเรียนเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย โดยใช้เครื่องมือเสวนาย่อยภาคสนาม 40 แห่งใน 6 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้เข้าร่วมการเสวนากว่า 170 คน
ผู้วิจัยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ สานเสวนาย่อยในพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจ ถักทอความสัมพันธ์และความไว้ใจ ใช้การสานเสวนาเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นไว้วางใจ ริเริ่มการทำกิจกรรมข้ามศาสนา และใช้เวทีสาธารณะเพื่อความเห็นใจเข้าใจและผูกพันกันมากขึ้น ข้ามชุมชนขยายเครือข่ายไปดูแลซึ่งกันและกัน และออกแบบชุมชน เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านความทุกข์ ความสูญเสีย สู่ความเป็นเพื่อนร่วมเกื้อกูลความกรุณาและร่วมกันดูแลสุขภาพ ยิ่งเมื่อมีวิกฤติโควิด-19 นำมาสู่โอกาสในการระดมความร่วมมือของเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อรับมือโรคระบาดโควิด-19
โดยโครงการได้ข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การเอื้ออํานวยการส่งเสริมสภาพแวดล้อมและปลดเงื่อนไขเชิงโครงสร้างที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในแนวระนาบ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างศาสนิกและระหว่างสมาชิกในสังคม ให้เสรีภาพและหลักประกันในเรื่องความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนถกเถียงเพื่อค้นหาความจริงอันจะนําไปสู่ทางออกจากปัญหาความขัดแย้งอย่างยั่งยืนด้วยการแก้ไขที่รากเหง้า เอื้ออํานวยการส่งเสริมสภาพแวดล้อมและปลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นําแบบจัดกระบวนการ (Facilitative Leadership) ในสังคม ให้เวลากับกระบวนการสร้างความไว้วางใจ การชําระ สิ่งที่ค้างคาใจ การสร้างข้อตกลงร่วมกันใหม่เพื่อการกําหนดอนาคตที่จะอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลปรองดองและป้องกันความขัดแย้งรุนแรงมิให้หมุนวนกลับมาบ่อนทําลายมิตรภาพในอนาคต
สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสันติภาพและมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ควรจัดการศึกษาและการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจของสังคมไทยต่อกระบวนการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ และควรนําชุดความรู้และทักษะการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งด้วยสันติวิธีไปใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะกระบวนการการจัดการความจริงร่วมและฟื้นฟูเยียวยาความสัมพันธ์
สถาบันสื่อ ควรสร้างเนื้อหาและใช้หลักการ การสื่อสารเพื่อสันติภาพ (Peace Journalism) และ Conflict Transformation หนุนเสริมชุดความรู้และกระบวนการ และตัวอย่างปฏิบัติการในชุมชนต้นแบบสร้างสันติภาพและความปรองดอง
สถาบันทางสังคมอื่น ๆ ควรเรียนรู้และทําความเข้าใจวิธีการและปรับเปลี่ยนมโนทัศน์เกี่ยวกับกระบวนการปรองดองอย่างเป็นระบบที่ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การค้นหาความจริง ความพร้อมยอมรับผิด การนําคนผิดมาลงโทษ การให้อภัย การฟื้นฟูเยียวยาความสัมพันธ์เพื่อนํามาสู่การคืนดี (Restorative Process) ทั้งจําเป็นต้องมีการขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมป้องกันความขัดแย้งรุนแรงร้าวลึกในอนาคตเพื่อมิให้ความเจ็บปวดในลักษณะเดิมเกิดขึ้นอีก
สําหรับชุมชนปัญญาปฏิบัตินําร่อง ต้องใช้หลักการและแนวทางประชาธิปไตยเชิงลึกในการร่วมค้นหาความจริงด้วยความเมตตา และเข้าอกเข้าใจอีกฝ่ายได้แม้จะไม่เห็นด้วยกับเขา (Empathy process) อย่างยุติธรรม/เป็นธรรม สร้างบรรยากาศที่จะเอื้อให้เกิดการปรองดองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่มีหลักประกันสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค เพื่อส่งเสริมให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านมีความเป็นไปได้มากกว่าระบอบอื่น ๆ เพราะเปิดช่องให้เกิดการตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส กระบวนการและวิธีการต้องชอบธรรมและมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ และมีการบันทึก ถอดบทเรียน และสื่อสารสังคมเพื่อขยายเครือข่ายสร้างการเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน การหนุนเสริมด้วยงบประมาณ สิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เหมาะสมและจําเป็น เพื่อความปรองดองสมานฉันท์
ในปี 2566 โครงการเพื่อนรักต่างศาสนา ได้พัฒนาความสำเร็จมาเป็นโครงการเพื่อนรักต่างศษสนา รุ่ยนใหญ่ รุ่นใหม่ หัวใจเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อทดลองโมเดลเพื่อนรักต่างศาสนาในการปิดช่องว่างความสัมพันธ์ระหว่างคนรุ่นใหญ่กับคนรุ่นใหม่ในชุมชนพหุลักษณ์ชายแดนใต้
2) เพื่อทราบข้อจำกัดและความท้าทายของการประยุกต์ใช้โมเดลเพื่อนรักต่างศาสนาในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นวัยในชุมชนพหุลักษณ์ชายแดนใต้
โดย
ในปี 2566 โครงการเพื่อนรักต่างศาสนา ได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังกลายเป็นประเด็นความท้าทายของสังคมร่วมสมัย นั่นคือ ปัญหาช่องว่างระหว่างรุ่นวัยอันเนื่องมาจากการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะในยุคดิจิทัล (Digital) และส่งผลให้คนรุ่นใหม่มีวิถีชีวิตและความคิดอ่านแตกต่างไปจากคนรุ่นใหญ่ที่เกิดและใช้ชีวิตภายใต้เทคโนโลยีอนาล็อก (Analogue) ดังที่มักจะได้ยินคำบอกเล่าในทำนอง “เด็กเดี๋ยวนี้เลี้ยงยาก พูดยาก พูดอะไรมากก็ไม่ได้ ไม่ฟัง ดีไม่ดีเขาก็จะย้อนกลับมาอีก” ข้อความข้างต้นเป็นคำกล่าวของผู้อาวุโสที่ได้ยินบ่อยครั้งจากการทำงานในชุมชนหลายแห่งไม่เฉพาะในพื้นที่ชายแดนใต้เท่านั้น หากแต่ผู้วิจัยได้ยินในแทบจะทุกพื้นที่ที่ไปทำงาน ในขณะที่อีกฟากหนึ่งก็เป็นเสียงสะท้อนในเชิงโต้กลับที่หลายคนคงเคยได้ยิน “มนุษย์ป้า บ่นอยู่ได้ พ่อแม่หัวโบราณไม่เข้าใจหนู ไม่รู้หรือไงว่าลูกก็มีสิทธิคิดเองได้”
ในสังคมพหุลักษณ์ในพื้นที่ชายแดนใต้ ช่องว่างความแตกต่างดังกล่าวยังถูกซ้ำเติมด้วยอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นที่มีความสลับซับซ้อนทั้งที่มาบรรจบและตัดข้ามกันหลายชั้น (Intersectionality) ทั้งในเรื่องความแตกต่างระหว่างรุ่นวัยภายในชุมชนทางศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมของตนเอง และความแตกต่างระหว่างรุ่นวัยข้ามชุมชนทางศาสนาชาติพันธุ์และวัฒนธรรม โดยเฉพาะในสังคมชายแดนใต้ที่อัตลักษณ์ทางศาสนามีความละเอียดอ่อนไหวและเข้มข้นมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย และเมื่อสถานการณ์ความรุนแรงได้ถาโถมเข้าใส่ผู้นำทางศาสนาในรอบหลายปีที่ผ่าน ความกินแหนงแคลงใจก็มากขึ้น ความไม่ไว้วางใจก็เข้ามาแทนที่ความรู้สึกดี ๆ ต่อกัน
โครงการเพื่อนรักต่างศาสนา รุ่นใหญ่ รุ่นใหม่ หัวใจเดียวกัน ได้นำโมเดลการสร้างเพื่อนรักต่างศาสนา มาเป็นเครื่องมือในการสร้างเพื่อนรักข้ามรุ่นวัย ศาสนา ชาติพันธุ์ วัฒนธรรมและความแตกต่างหลากหลายในมิติอื่น ๆ ขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างชุมชนตัวอย่างที่โอบรับความแตกต่างหลากหลายให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติบนฐานข้อบ่งชี้เรื่องสุขภาวะองค์รวมที่ดี (Wellbeing) ต่อไป ซึงพบว่าปฏิสัมพันธ์ข้ามศาสนาและวัฒนธรรมระหว่างเด็กและเยาวชนเป็นกลไกและเครื่องมือในการสร้างสันติภาพและความปรองดองที่ยั่งยืนในสังคมชายแดนใต้ และเป็นการหนุนเสริมการสืบสานต่อยอดมรดกภุูมิปัญญาของบรรพชนที่เคยใช้ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในอดีตให้คงอยู่ต่อไปอย่างมีคุณค่า ซึ่งสามารถพัฒนามูลค่าเพิ่มหนุนเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนได้ในอนาคต และโครงการฯ สามารถจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยมีเรื่องสำคัญ ดังนี้
ข้อเสนอ 1 เปิดพื้นที่ปลอดภัยให้เยาวชนได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และลงมือสร้างปฏิสัมพันธ์ข้่ามรุ่นวัย ข้ามพื้นที่ ข้ามวัฒนธรรม ในแบบเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อเป็นกลไกในการถักทอความสัมพันธ์ป้องกันการเข้าใจผิด และมีส่วนช่วยลดความขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่มได้
ข้อเสนอ 2 สร้างกลไกหนุนเสริมการทำงานแบบเพื่อนรักต่างศาสนาข้ามรุ่นวัยผ่านกลไกการทำงานของสภาเยาวชนระดับตำบลอย่างเป็นรูปธรรมโดยบรรจุไว้ในแผนงานของสภาตำบลและหรือหน่วยงานปกครองท้องถิ่นอื่น ๆ ทุกระดับ
นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2566 โครงการเพื่อนรักต่างศาสนา ยังพัฒนาโครงการในชื่อ "เพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก" เนื่องจากเห็นว่าความขัดแย้งรุนแรงถึงตายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้เกิดความแตกแยกร้าวลึกที่ไม่อาจอาศัยการทำงานของฝ่ายรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจสั่งการผ่านนโยบายจากบนลงล่างเพื่อให้เกิดสันติ ภาพและความปรองดองอย่างยั่งยืนในสังคมชุมชนฐานรากได้ เพราะความเชื่อมั่นไว้วางใจและการถักทอสายสัมพันธ์ทางสังคม ที่จะเป็นเกราะป้องกันภัย (social safety net) จากความหวาดระแวงไม่ไว้ใจหรือความเกลียดชังระหว่างกลุ่มศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมนั้นมีมิติความลึกมากกว่าที่จะสั่งการให้เกิดขึ้นได้ จึงได้จัดทำ "โครงการเพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนจากชุมชนฐานราก" ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์
1) สานต่อการขับเคลื่อนชี้นำสังคมไปสู่สันติภาพและความปรองดองอย่างยั่งยืนและเป็นในชุมชนฐานรากเพื่อให้เกิดการถักทอข่ายใยความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างเป็นธรรมชาติและมีความเหนียวแน่น หยุ่นตัวเพียงพอที่จะรองรับแรงกระแทกจากความหวาดระแวงไม่ไว้วางใจ ความเปราะบางทางสายสัมพันธ์ทางสังคมท่ามกลางความท้าทายจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่ยังคงปะทุขึ้นประปราย ตลอดจนความท้าทายจากแนวนโยบายการแก้ไขปัญหาจากบนลงล่างที่สร้างเงื่อนไขให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์ เช่น การสร้างรูปเคารพในพื้นที่มุสลิมก่อให้เกิดกระแสการแบ่งแยกคนที่นับถือศาสนาต่างกัน รวมทั้งนโยบายการพัฒนาที่กระทบกับฐานความมั่นคงทางอาชีพ ทางอาหาร และทางวัฒนธรรมของชุมชนฐานราก ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายสันติภาพและสันติสุขของชุมชนพหุลักษณ์ชายแดนใต้
2) จัดทำฐานข้อมูลขุมทรัพย์สันติภาพชุมชน
3) นำเสนอข่าวสารที่หนุนเสริมการสร้างสันติภาพและความปรองดองอย่างยั่งยืนบนฐานมิตรภาพและสุขภาพจากชุมชนฐานรากชายแดนใต้
และนับเป็นโอกาสที่ดี ที่โครงการได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยลาลัย จำนวน 1,000,000 บาท ผ่านทางโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ของโครงการภายใต้ชื่อ "เพื่อนรักต่างศาสนา" ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัย อีกทั้งโครงการนี้ยังสามารถตอบโจทย์ SDG ข้อที่ 4 ข้อที่ 10 และ ข้อที่ 16 ได้อย่างแท้จริง
โครงการเริ่มต้นในปี 2566 และต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2567 โดยยึดหลักกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว และวางกรอบในการทำงานเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนโดยกาหนดกรอบการทำงานเชิงความรู้ในเรื่องการสร้างสันติภาพและความปรองดอง โดยมุ่งติดตั้งทักษะเครื่องมือในการแปลงเปลี่ยนก้าวข้ามความขัดแย้งด้วยสันติวิธี และส่งเสริมการนำความรู้ไปออกแบบปฏิบัติการในชุมชนเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมจับต้องได้ ซึ่งในระยะเวลา 6 เดือนแรกนั้น มีการดำเนินงาน ดังนี้
1. จัดประชุมคณะทางานเพื่อร่วมกาหนดกรอบแนวทางในการทางานร่วมกับชุมชน
2. จัดประชุมแยกแต่ละชุมชนนาร่องเพื่อวางแผนงานตามความต้องการแก้ปัญหาเฉพาะของชุมชนโดยใช้โมเดลเพื่อนรักต่างศาสนาเป็นหลัก และใช้กรอบแนวทางการสร้างสันติภาพและความปรองดองที่ยั่งยืนจากชุมชนฐานราก
3. จัดการอบรมเสริมศักยภาพและความรู้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางการทางานแบบเพื่อนรักนักถักทอสันติภาพและความปรองดอง
4. ร่วมกันจัดการฐานข้อมูล ชุดความรู้และบทเรียนจากการทางานที่ผ่านมาเพื่อสื่อสารกับสังคมเป็นการเพิ่มพื้นที่สื่อดี ลดพื้นที่สื่อสารสร้างความเกลียดชังและหวาดกลัวผู้คนและพื้นที่ชายแดนใต้
5. ช่วยกันตรวจสอบข้อมูล และเยี่ยมเยียนเครือข่ายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ และส่งเสริมการทางานข้ามรุ่นวัยและชุมชนผ่านเทศกาลหรือกิจกรรมที่สามารถร่วมกันทาได้ในพื้นที่
ในปี 2567 โครงการฯ ยังคงดำเนิงานอย่างต่อเนื่องต่อไปจนกระทั้่งครบระยะเวลาเสร็จสิ้นโครงการเมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งจากการดำเนินงานในรอบหนึ่งปีภายใต้โมเดลเพื่อนรักต่างศาสนา ในพื้นที่นำร่อง 4 ชุมชน ได้แก่ อ.จะนะ จ.สงขลา, อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี, อ.เมือง จ.ยะลา และ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ซึ่งสามารถสร้างแกนนำเพื่อนรักต่างศาสนาในแต่ละชุมชมได้เพิ่มพื้นที่ละ อย่างน้อย 2 คู่ และขยายเครือข่ายเพื่อนรักต่างศาสนาในเพิ่มชุมชนละ 30 – 150 รูป/คน ทุกชุมชนสามารถ
1) เขียนแผนที่ขุมทรัพย์ทางสังคมวัฒนธรรมได้
2) ค้นพบมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นขุมทรัพย์ความสัมพันธ์ชุมชน
3) บันทึกเรื่องเล่าความสัมพันธ์ฉันเพื่อนรักในชุมชนที่สามารถใช้เป็นกลไกถักทอสานต่อเชื่อมสัมพันธ์ของชุมชนได้นำเสนอในรูปแบบนิทรรศการ คลิปสื่อสาร ละครเวที หนังสือเล่มเล็ก
ผลลัพธ์ในการเรียนรู้ พบว่า
1) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักว่าความต่างทางศาสนาและความเชื่อไม่ใช่อุปสรรคขัดขวางความสัมพันธ์ หากรู้จักและมีการพูดคุยสื่อสารหรือทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในวิถีวัฒนธรรมระหว่างกันมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีการแบ่งแยกในสังคมเกิดขึ้น เช่น แยกกันเรียนไม่ค่อยได้เรียนร่วมโรงเรียนเดียวกันทำให้ขาดเพื่อน ไม่รู้จัดวิถีวัฒนธรรมของเพื่อน และมีความหวาดระแวง
2) หากมีพื้นที่ปลอดภัยให้ทำกิจกรรมร่วมกันบ่อย ๆ จะทำให้รู้จัก และเข้าใจวิถีของกันและกันมากขึ้น
3) เพื่อนรักต่างศาสนาตระหนักว่าหากมีความท้าทายจากภายนอกที่จะมากร่อนเซาะความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนรักต่างศาสนา พวกเขาจะร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ นานาเพื่อรักษามิตรภาพ รักษาพื้นที่และขุมทรัพย์มรดกทางวัฒนธรรมความเชื่อของกันและกันไว้ รวมถึงการร่วมกันอนุรักษ์ฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นต่อไปทั้งพุทธ มุสลิม จีนและผู้คนต่างศาสนา ด้วยความเชื่อมั่นว่า ฐานความมั่นคงในมิตรภาพของชุมชนฐานรากนั้น คือ ทุนทางสังคมวัฒนธรรม ทุนทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทุนทางสังคมวัฒนธรรม มรดกทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาและจริยธรรมร่วมรากจะยึดโยงความสัมพันธ์ของชุมชนให้หนักแน่นมั่นคง
สรุปผลการดำเนินโครงการ: การดำเนินกิจกรรมในรอบ 1 ปี สามารถขยายผลการขับเคลื่อนชี้นำนโยบายการสร้างสันติภาพและความปรองดองอย่างยั่งยืนบนฐานมิตรภาพและสุขภาวะอย่างเป็นรูปธรรม เห็นได้จากความตื่นตัวในการเข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 4 พื้นที่ นอกจากนี้ สมาชิกเครือข่ายที่เข้าร่วมยังได้รับการร่วมคิดร่วมผลักดันผ่านนิทรรศการผลงานชุมชนนำร่องทั้ง 4 พื้นที่ และตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานรากโดยมีเครือข่ายทุกภาคส่วนเข้ามาหนุนเสริมในลักษณะหุ้นส่วนสันติภาพ และมีฐานทุนทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่นำร่องเป็นต้นทุนที่มีศักยภาพที่พร้อมยกระดับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนต่อไป
Output- Outcome-Impact
1. มีเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโครงการภายใต้ชื่อ www.interfaithbuddy.com ที่มีผู้เข้าถึงมากกว่า 5 แสนการเข้าถึงภายในไม่ถึง 1 ปี
2. มีผลงานของโครงการเผยแพร่บนสื่อออนไลน์ เช่น เว็บไซต์นักข่าวพลเมืองไทยพีบีเอส c-site, บทความเผยแพร่ในวารสาร ศอวต. 1 เรื่อง วารสารมหิดลสาร 2 เรื่อง, TikTok , FB page: Interfaith Buddy for Peace จำนวน 15 เรื่อง การเสวนาที่มีการถ่ายทอดสดออนไลน์หลายครั้ง และการให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนสำคัญ เช่น รายการวิทยุโทรทัศน์ของรัฐสภาโดยตัวแทนจากพื้นที่มาร่วมเป็นแขกในรายการบอกเล่าเรื่องราวกิจกรรมเพื่อนรักต่างศาสนาด้วยภาษาของตนเอง
3. การจัดเวทีสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคมได้รับความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้
4. เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายชี้นำสังคม โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
ข้อเสนอที่ 1. พื้นที่ปลอดภัย และพื้นที่ปลอดอาวุธ: ขอให้รัฐและฝ่ายผู้เห็นต่างเร่งลดความรุนแรง เพิ่มพื้นที่ปลอดภัยและป้องกันการก่อเหตุอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เช่น ถนน ตลาดร้านค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างทั่วถึงและ สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างปลอดภัยในสังคมพหุลักษณ์ และทำให้พื้นที่ศาสนสถาน โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นเขตปลอดอาวุธ
ข้อเสนอที่ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะสร้างสรรค์สังคมพหุลักษณ์: โดยต้องเป็นพื้นที่ที่เป็นกลางและปลอดภัยเพื่อให้สามารถฟื้นฟูความสัมพันธ์ทากิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้คนต่างศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมในชายแดนใต้ เช่น พิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ร่วมรากอันหลากหลายวัฒนธรรมประเพณีร่วมถิ่นของชุมชน สนามกีฬาหรือพื้นที่เล่นร่วมกันของเด็กในชุมชน พื้นที่เรียนรู้และพัฒนาอาชีพร่วมกันในชุมชน โดยรัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซงหรือควบคุมให้เป็นแบบใดแบบหนึ่ง
ข้อเสนอที่ 3. กระจายอำนาจให้ภาคประชาชนออกแบบสังคมสันติสุขบนวิถีวัฒนธรรมชุมชน : กระจายอำนาจและการตัดสินใจให้ชุมชนพหุลักษณ์ได้ร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนาอย่างสันติและยั่งยืนบนฐานความต้องการของชุมชนด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน โดยรัฐ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญชั้นสูงอย่างเป็นรูปธรรม
ข้อเสนอที่ 4. ยกระดับภูมิปัญญาชุมชนเป็น Soft Power: รัฐต้องสนับสนุนทุนให้ชุมชนค้นหาและพัฒนาศักยภาพเพื่อสร้างความยั่งยืนบนฐานภูมิปัญญาทางสังคมวัฒนธรรมร่วมรากและฐานทรัพยากรชุมชนเพื่อยกระดับเป็น Soft Power ที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ร่วมราก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาและสมุนไพรจากพืชพันธุ์อันหลากหลาย การฟื้นฟูระบบนิเวศของฐานทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เชิงประวัติศาสตร์ เชิงสุขภาพ
ข้อเสนอที่ 5. เพิ่มช่องทางการสื่อสารสร้างสรรค์อัตลักษณ์วัฒนธรรมชุมชนพหุลักษณ์: เพิ่มช่องทางการสื่อสารเรื่องราวการสร้างสันติภาพจากภูมิปัญญาของชุมชนที่แสดงให้เห็นวิถีวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างภาคภูมิใจในอัตลักษณ์อันหลากหลายของพื้นที่ชายแดน
ผลการดำเนินโครงการสามารถสร้างผลกระทบแก่ชุมชน และผู้กำหนดนโยบายทั้งในระดับพื้นที่และระดับส่วนกลาง และสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายสหประชาชาติ (SDGs) ได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังสอดคล้องกับแนวนโยบายของสภาความมั่นคงแห่งชาติเรื่องการสร้างการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุลักษณ์ และสอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาลในการแก้ปัญหาสถานการณ์ชายแดนใต้ โดยเฉพาะการลดเงื่อนไขความรุนแรงและการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ โครงการฯ สามารถสร้างบรรยากาศที่เชิญเพื่อนมาร่วมกันเฝ้าระวังความปลอดภัยให้แก่กันละกัน และมาทำกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสให้สันติภาพเชิงบวกได้เติบโต
การขับเคลื่อน/ผลักดันโครงการไปสู่การกาหนดเป็นนโยบายชี้นาสังคม
1)จัดส่งข้อเสนอเชิงนโยบายให้ทางรัฐสภาผ่านทางคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฏร
2)จัดส่งข้อเสนอเชิงนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ชายแดนใต้โดยตรง ได้แก่ ประธานอนุกรรมการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาความมั่นคงแห่งชาติ, เลขาธิการศูนย์อานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) เพื่อบรรจุไว้ในหลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการใหม่ และใช้สาหรับการขับเคลื่อนสร้างสันติภาพชายแดนใต้, หัวหน้าคณะพูดคุยสันติภาพ/สันติสุขฝ่ายไทย และฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็น, สานักจุฬาราชมนตรี, สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อเสนอให้บรรจุกิจกรรมกลไกการค้นหาขุมทรัพย์สันติภาพในชุมชนเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างพื้นที่เรียนรู้ข้ามศาสนาและวัฒนธรรมตั้งแต่เยาว์วัย, กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม (อว.) เพื่อนาโครงการ วิธีการ และเรื่องเล่าไปใช้ในห้องเรียน