Industry,Innovation and Infrastructure

สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งพัฒนาผลวิจัยสู่นวัตกรรมโดยสร้างระบบสนับสนุนการวิจัยแบบครบวงจรจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ (Research Value Chain) โดยผลงานต้องเกิด Global and Social Impact สามารถนำไปใช้ในประโยชน์ในสังคมและเชิงพาณิชย์ รวมทั้งสนับสนุนพื้นที่จัดกิจกรรมสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน เช่น Co-working Space, Co-product Design และ Design thinking โดยมีสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ซึ่งเป็นสถาบันที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้การสนับสนุนอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ในการสร้างผลงานวิจัยสู่นวัตกรรมร่วมกับภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และให้การปรึกษาในการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ แก่อาจารย์และนักวิจัย และทุนสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2564 มีการยื่นคำขอรับสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรและจดแจ้งทรัพย์สินทางปัญญารวม 575 เรื่อง รวมทั้งการสนับสนุนให้ความรู้ในการทำธุรกิจ Startup แก่นักศึกษาและบุคลากรผ่าน Workshop และ Mahidol Incubation Program และมีทุนสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลงานวิจัยสู่นวัตกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ การพัฒนาชุดตรวจโควิด-19 จากน้ำลาย ด้วยวิธี RT-LAMP เปลี่ยนสี ซึ่งพัฒนาโดยคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ การพัฒนานวัตกรรมชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่ทำมาจากกระดาษ โดยคณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมกับบริษัท SCG การพัฒนาสารสกัดสมุนไพรไทยเพื่อต้านเชื้อไวรัสโคโรนาและได้ค้นพบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 จากกระชายขาว โดยคณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ และการพัฒนาหุ่นยนต์ สำหรับใช้ในหอผู้ป่วยของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก สำหรับเก็บขยะติดเชื้อและสำหรับส่งอาหารและยาในหอผู้ป่วย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาการบริการสุขภาพ เช่น รถหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit) ที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ซึ่งได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างทันท่วงทีไปแล้วกว่า 598 ราย ช่วยลดความพิการและการเสียชีวิตลงได้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันได้ขยายการให้บริการในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดเชียงราย จังหวัดชลบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครพนม และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ ยังมีการนำเทคนิคการรักษาด้วยการกระตุ้นสมองผ่านกะโหลกศีรษะด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของคลินิกเฉพาะทางกายภาพบำบัดเพื่อส่งเสริมการฝึกแขนและมือในโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

Highlights
  • thumb
    10 พ.ย. 2565
    นักวิจัยผุดไอเดีย นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ผลิตขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดร่วมกับกรดเลวูลินิค
    ฟอสซิลถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และการผลิตข้าวของเครื่องใช้มากมาย อย่างไรก็ตาม การใช้ฟอสซิลยังมีข้อจำกัดต่าง ๆ มากมาย อาทิ การเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป และผลกระทบที่เกิดจากการเผาไหม้ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ซึ่งคงค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศของโลก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวัฒน์ นาคะสรรค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้วิจัย จึงมีความสนใจในการทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการลดการใช้ฟอสซิล โครงการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจึงนำเหง้ามันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกรดเลวูลินิค โดยนำมาปรับสภาพเบื้องต้นด้วยด่าง เพื่อดึงองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เซลลูโลสออก ซึ่งจะได้ของแข็งที่มีเซลูโลสเป็นองค์ประกอบหลัก ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า จะทำให้ปริมาณการใช้ฟอสซิลภายในประเทศลดลง ประเทศไทยมีขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่ผลิตได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งจะเป็นขั้วไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพดีและมีราคาถูกกว่าขั้วไฟฟ้าทั่วไปในท้องตลาด และสามารถสร้างมูลค่าให้กับเหง้ามันสำปะหลังได้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีรายได้มากขึ้น
  • thumb
    03 09 17
    9 มิ.ย. 2565
    สภาพแวดล้อมเสมือนสำหรับการฝึกฝนผ่าตัดทางทันตกรรม
    ระบบจำลองทางทันตกรรมภายในความเป็นจริงเสมือนที่จำลองสภาพแวดล้อมของห้องผ่าตัดทางทันตกรรมแบบสามมิติ
  • thumb
    03 04 09
    10 มี.ค. 2565
    Mobile Stroke Unit เชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกลและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจรสําหรับทุกคน
    MSU-SOS ถือเป็นโครงการต้นแบบการพัฒนาระบบปรึกษาทางไกล เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันโดยใช้รถโมบาย สโตรคยูนิตให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนําเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ติดตั้งไว้บนรถ
  • thumb
    6 ก.ค. 2565
    โครงการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของผู้พิการ
    การเข้าถึงการสื่อสารวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ของผู้พิการเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่อาจกล่าวได้ว่า ในอดีตผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตรายการไม่ได้คำนึงถึง หรืออาจจะคำนึงเป็นกลุ่มสุดท้าย อาจเป็นเพราะสื่อกระจายเสียงของไทยดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ประกอบการคำนึงถึงผู้ชมทั่วไป มุ่งผลิตรายการตอบสนองคนทั่วไป เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่แปรผันตามจำนวนผู้ชมรายการ ทำให้ผู้พิการที่มีจำนวนน้อยมากเปรียบเทียบเชิงปริมาณกับคนทั่วไปถูกละเลยและถูกละเมิดมาโดยตลอด เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและแผนแม่บท และขยายแนวคิดในเรื่องการรู้เท่าสื่อและร่วมกันสร้างสังคมที่เท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขบนความแตกต่างการนับถือกันและกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ สำนักพัฒนาองค์กรวิชาชีพและส่งเสริมการบริการอย่างทั่วถึง (ชส.) จึงเห็นความสำคัญของการดำเนินโครงการพัฒนาชุดการเรียนรู้สำหรับผู้พิการเพื่อสร้างเสริมความตระหนักในเทคโนโลยีการเข้าถึง หรือรับรู้ และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้พิการมีความรู้ ความเข้าใจ ในสิทธิและประโยชน์ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารรวมตลอดถึงการใช้ประโยชน์จากสื่อได้อย่างรู้เท่าทัน และเพื่อให้ผู้พิการตระหนักในสิทธิของตนเอง สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ผ่านกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเท่าเทียมต่อไป
  • thumb
    1 ก.ค. 2565
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน Home Chemotherapy RAMA Model
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน เพิ่มประสิทธิผลการรักษา ลดค่าใช้จ่าย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย ยกระดับระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทย เพื่อความยั่งยืนทางด้านสุขภาพของประชากรไทย
  • thumb
    30 มิ.ย. 2565
    โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน
    ที่ผ่านมาผู้พิการทางการเห็นมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะค่อนข้างน้อย อันเนื่องมากจากถังขยะที่ใช้หลักการของสีเป็นตัวแบ่งแยกขยะ ซึ่งเป็นข้อจำกัดยิ่งสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องหรือพิการทางการเห็น จึงได้มีการจัดทำโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนเป็นผลผลิตหลัก ซึ่งได้มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรในชื่อ “ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียง” ตามหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร เลขที่ 17547 ออกให้ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2564 มีวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาในการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 2) เพื่อออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและพฤติกรรมหลังการใช้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะ โครงการนี้เกิดประโยชน์ของโครงการ ดังนี้ 1) ได้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนที่คนพิการทางการเห็นใช้งานได้จริง คัดแยกขยะได้จริงเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของคนพิการทางการเห็น 2) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 3) สร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้กับคนพิการทางการเห็น 4) กระตุ้นให้คนทั่วไปเกิดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะมากขึ้นเพื่อเห็นตัวอย่างจากการปฏิบัติของคนพิการทางการเห็นที่ยังสามารถคัดแยกขยะได้ 5) เปิดโอกาสให้คนพิการทางการเห็นได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาของสังคมเท่าเทียมกับคนทั่วไป 6) การเผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
  • thumb
    12 09 13
    11 มี.ค. 2565
    ปุ๋ยหมักอินทรีย์
    โครงการผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ เกิดขึ้นตามแนวนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว เมื่อปี 2552 เพื่อการขยะใบไม้ กิ่งไม้ นำกลับมาทำประโยชน์อีกครั้ง โดยทำปุ๋ยหมักไว้สำหรับใช้ในมหาวิทยาลัย
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    น้ำหมักชีวภาพ
    น้ำหมักชีวภาพ (E.M.) โดยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
  • thumb
    07 09 11
    11 มี.ค. 2565
    อาคารประหยัดพลังงาน
    ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีอาคารที่ได้รับรางวัลอาคารประหยัดพลังงาน
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    วิถีจักรยาน
    มหาวิทยาลัยต้องการที่จะลดการใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ และส่งเสริมการปั่นจักรยานเพื่อเพิ่มจำนวนของผู้ปั่นจักรยานภายในมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น จึงได้จัดสภาพแวดล้อมที่จูงใจและสะดวกต่อการขี่จักรยานให้เพิ่มมากขึ้น
  • thumb
    14 09
    18 ต.ค. 2565
    Reliability assessment of thick high strength pipelines with corrosion defects
    Mr.Utkarsh Bhardwaj, an exchange researcher from Centre for Marine Technology and Ocean Engineering, Instituto Superior Técnico, Portugal visiting the Department of Civil and Environmental Engineering under Associate Prof. Dr. Wonsiri Punurai supervision.