การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน เพิ่มประสิทธิผลการรักษา ลดค่าใช้จ่าย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย ยกระดับระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งของประเทศ เพื่อความยั่งยืนทางด้านสุขภาพของประชากรไทย
การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน เพิ่มประสิทธิผลการรักษา ลดค่าใช้จ่าย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย ยกระดับระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งของประเทศ เพื่อความยั่งยืนทางด้านสุขภาพของประชากรไทย
โรคมะเร็ง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลกที่มีสถานการณ์ความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการสูญเสียคุณภาพชีวิตและครอบครัว โดยจากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่าปี ค.ศ. 2008 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 12.7 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 7.6 ล้านคน และคาดว่าในปี ค.ศ. 2030 จะพบผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นเป็น 21.4 ล้านคน
สำหรับในประเทศไทย โรคมะเร็งเป็น 1 ใน 5 โรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด โดยข้อมูลปี 2563 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเฉลี่ยวันละ 342 คน หรือ 124,866 คนต่อปี และมีผู้ป่วยใหม่ถึง 190,636 คน ซึ่งการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัดเป็นวิธีที่นิยมใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง เนื่องจากใช้รักษาได้ทุกระยะของโรคและช่วยให้หายขาดได้ในบางราย โดยผู้ป่วยต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูงเพื่อเข้ามารับยาเคมีบำบัดแบบนอนโรงพยาบาล แต่จำนวนเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลมีจำกัด ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาตรงตามแผนการรักษา ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของการรักษาและการควบคุมโรค
โรงพยาบาลรามาธิบดีโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์เฉพาะทางมะเร็งวิทยา พยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) พยาบาลผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบำบัดระยะสั้น พยาบาลหน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน และเภสัชกร ร่วมกันพัฒนาระบบบริการแบบใหม่ ภายใต้ชื่อ “โครงการบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้านรามาโมเดล Ramathibodi Home Chemotherapy Model (RHCM)" เมื่อปลายปี พ.ศ. 2558 ด้วยการประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานเรื่องสูตรยา ความคงตัวของยา การเตรียมผสมยาเคมีบำบัดใส่ในอุปกรณ์เฉพาะ รวมถึงการดูแลจัดการกับภาวะแทรกซ้อนขณะผู้ป่วยบริหารยาเคมีบำบัดที่บ้าน เพื่อให้บริการยาเคมีบำบัดและสารน้ำกับกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งของโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลแบบต่อเนื่อง ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งที่คอและศีรษะที่ต้องได้รับยาเคมีบำบัดสูตรที่มีตัวยา 5–FU (fluorouracil) โดยไม่ต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดตรงตามรอบของการรักษาเพิ่มขึ้นจาก 71% เป็น 100% และลดระยะเวลาของกระบวนการบริหารยาเคมี ตั้งแต่พบแพทย์ บริหารยาและจำหน่ายกลับบ้าน จาก 243 ชั่วโมง เหลือเพียง 6 ชั่วโมง รวมถึงช่วยผู้ป่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาลได้ 15,000 บาทต่อคนต่อการรักษา โดยได้เสนอสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้บรรจุในสิทธิประโยชน์ และได้รับการกำหนดเป็นนโยบายอัตราค่าบริการเบิกจ่ายผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพในรูปแบบของ One Day Surgery นอกจากนี้โครงการได้ขยายผลต่อยอดระบบการบริหารยาเคมีบำบัดที่บ้านไปสู่โรงพยาบาลอื่นทั่วประเทศ และในผู้ป่วยทุกสิทธิการรักษา เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทย และสร้างความยั่งยืนด้านสุขภาพของประชากรไทย
ในปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และลดอัตราการครองเตียงในโรงพยาบาล ส่งผลให้โครงการการบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน ได้รับรางวัลเลิศรัฐสาขาบริการภาครัฐ ปี 2561 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ผลการดำเนินงาน Ramathibodi Home Chemotherapy Model (RHCM)
ปี |
จำนวน ผู้ป่วยรายใหม่ |
Visit (ครั้ง) |
RHCM service outcome |
|
Cost saving (บาท) |
Bed saving (วัน) |
|||
2016 |
65 |
412 |
1,818,110 |
1,236 |
2017 |
142 |
1,143 |
5,043,955 |
3,429 |
2018 |
141 |
1,690 |
7,457,835 |
5,070 |
2019 |
140 |
1,733 |
7,647,570 |
5,199 |
2020 |
126 |
1,826 |
8,057,980 |
5,478 |
2021 |
94 |
1,516 |
6,689,970 |
4,548 |
2022 |
115 |
1,449 |
6,394,325 |
4,347 |
2023 (มิถุนายน) |
72 |
978 |
4,315,850 |
2,934 |
รวม |
895 |
10,747 |
47,425,595 |
32,241 |
กราฟเปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิต 5 ปี
รางวัลเลิศรัฐสาขาบริการภาครัฐ ปี 2561 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
โรงพยาบาลเครือข่าย Home Chemotherapy
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร
ภาคตะวันออก
ภาคใต้
โรงพยาบาลเครือข่าย
ภาคเหนือ
โรงพยาบาลเชียงใหม่
โรงพยาบาลน่าน
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
โรงพบาบาลอุตรดิตถ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
โรงพยาบาลสุรินทร์
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น
โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา
ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาลอยุธยา
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
โรงพยาบาลกระทุ่มแบน
โรงพยาบาล จ.ราชบุรี
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์
โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี
โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี
โรงพยาบาลโพธาราม จ.ราชบุรี
โรงพยาบาลนพรัตน์
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์
โรงพยาบาลกรุงเทพ-หัวหิน
ภาคตะวันออก
โรงพยาบาลพระปกเกล้า จ.จันทบุรี
โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
โรงพยาบาลกรุงเทพ-พัทยา
โรงพยาบาลกรุงเทพ-ระยอง
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี
ภาคใต้
โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี
โรงพยาบาลศูนย์สุราษฎร์ธานี
โรงพยาบาลกรุงเทพ-ภูเก็ต
โรงพยาบาลระนอง
โรงพยาบาลมหาราช จ.นครศรีธรรมราช