No Poverty

ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญกับการให้โอกาสนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นบุตรคนแรกของครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ ให้สามารถเรียนจนจบการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหิดลและมีโอกาสทำงานในองค์กรที่มั่นคง สามารถสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไปได้ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลให้ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริง ประจำปีการศึกษา 2564 กว่า 332 ทุน เป็นจำนวนเงินกว่า 16,600,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทุนการศึกษาต่อเนื่องสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป อัตราทุนละ 50,000 บาท ต่อปีการศึกษา จำนวน 48 ทุน ทุนการศึกษารายปี สำหรับนักศึกษาทุกชั้นปี อัตราทุนละ 50,000 ต่อปีการศึกษา จำนวน 284 ทุน และยังมีทุนประเภทอื่น ๆ ให้แก่นักศึกษา เช่น ทุนสนับสนุนการศึกษา ทุนช่วยเหลือและสนับสนุนกรณีพิเศษ ทุนสวัสดิการ เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอย่างครอบคลุมทุกวิทยาเขต และทางมหาวิทยาลัยยังมีสวัสดิการต่าง ๆ เช่น ทุนอาหารกลางวัน หอพักราคาถูก รถรางรับ-ส่ง รวมทั้งมีบริการด้านการรักษาพยาบาลครอบคลุม ทั้งการรักษาโรคทั่วไป ทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางทันตกรรม ให้กับนักศึกษาทุกคน ซึ่งเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษาของบุตรให้แก่ผู้ปกครอง และสำหรับนักศึกษาที่ต้องการหารายได้เสริมในเวลาว่างนั้น ทางมหาวิทยาลัยก็มีทุนนักศึกษาช่วยงาน โดยให้ค่าจ้างชั่วโมงละ 40 บาท หรือ วันละ 300 บาท ซึ่งสามารถช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองได้ในระดับหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยมหิดลยังได้เล็งเห็นถึงปัญหาด้านหนี้สินของเกษตรกร ซึ่งเป็นต้นเหตุ ของความยากจน จึงได้มีโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดหนี้สิน ได้แก่ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้ประกอบการ SMEs ด้านการเกษตรผ่านโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ Start Up, Early Stage เพื่อช่วยเพิ่มทักษะในการวางแผนการบริหารจัดการของเกษตรกร และการจัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดลก่อให้เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล เพื่อเพิ่มความมั่นใจของผู้บริโภค นอกจากการให้ความช่วยเหลือเพื่อลดความยากจนภายในมหาวิทยาลัย และในระดับชุมชนแล้ว ทางมหาวิทยาลัยมหิดลยังมีส่วนให้ความช่วยเหลือนักศึกษาจากประเทศรายได้น้อย ดังเช่น การเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้ให้ทางมหาวิทยาลัยทำหน้าที่ดำเนินการช่วยเหลือทางด้านทุนการศึกษาแก่นักศึกษา จากราชอาณาจักรกัมพูชาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์จำนวน 29 คน ให้เข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2561 - 2564

Highlights
  • thumb
    1 ก.ค. 2565
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน Ramathibodi Home Chemotherapy Model (RHCM)
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน เพิ่มประสิทธิผลการรักษา ลดค่าใช้จ่าย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย ยกระดับระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทย เพื่อความยั่งยืนทางด้านสุขภาพของประชากรไทย
  • thumb
    5 เม.ย. 2567
    กลไกการพัฒนาระบบการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม
    พัฒนาระบบที่เป็นแหล่งรวมงานที่เป็นความต้องการคนพิการ และสถานประกอบการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ มีระบบทีมสนับสนุน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนพิการและสถานประกอบการ รวมทั้งการ การสร้างการตระหนักรู้ในสถานประกอบการ และพัฒนาระบบองค์กรตัวกลาง โดยมีเครือข่ายความร่วมมือ
  • thumb
    21 มี.ค. 2567
    จากเก่าสู่เก๋า: นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ – มรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าของมณฑลนครชัยศรี
    นวัตกรชุมชน นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ มณฑลนครชัยศรี community innovator, traditional Thai food innovation, Nakhon Chai Si County
  • thumb
    01 02 03
    5 มี.ค. 2567
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ผงเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารในอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวอินทรีย์อัดเม็ด
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ผงเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารในอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวอินทรีย์อัดเม็ด
  • thumb
    04 01 17
    29 พ.ย. 2566
    โครงการพัฒนาระบบทุนการศึกษา (ทุนเปรมดนตรี)
    กองทุนเปรมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นด้วยความเห็นชอบของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อการศึกษาของไทย รวมทั้งการศึกษาดนตรีเป็นอย่างมาก โดยได้สนับสนุนเงินบริจาคเพื่อจัดตั้งกองทุนเปรมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เพื่อนำดอกผลมาส่งเสริมและสนับสนุนเป็นทุนการศึกษาด้านดุริยางคศาสตร์ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยปีนี้ กองทุนฯได้นำเงินดอกผลมาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาในปี 2564 เป็นปีแรก ผู้ที่ได้รับทุนผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณา และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
  • thumb
    01 17
    25 ต.ค. 2566
    โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ตามแนวพระราชดำริ
    โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ถือกำเนิดจากพระราชปณิธาณในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จะพัฒนาระบบการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่เยาวชนกัมพูชา เสมือนเป็นของขวัญพระราชทานที่ยั่งยืนแก่ประชาชนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งเป็นเพื่อนกันมายาวนาน ของขวัญ ล้ำค่านี้คือ ระบบการศึกษาทั้งสายสามัญ และสายวิชาชีพ ทำให้เกิดโรงเรียนซึ่งจัดการเรียนการสอนสองระบบ หรือ dual system อันเป็นต้นแบบของการเรียนการสอนปัจจุบัน นอกเหนือไปจากนั้นยังทรงห่วงใยในเรื่องสุขภาพอนามัยของนักเรียน ทรงเน้นว่า การศึกษาที่ดีจะต้องควบคู่ไปกับนักเรียน นักศึกษาที่มีสุขอนามัยที่ดีด้วย
  • thumb
    29 ก.ย. 2566
    การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG
    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ด้วยการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในประเทศไทยขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG และเพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ
  • thumb
    25 ก.ย. 2566
    แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน
    การนำแนวคิด ความรู้ และหลักการทางนิเวศวิทยาในการบริหารจัดการเกษตรกรรมด้วยระบบวนเกษตร สู่แผนนโยบายขับเคลื่อนชี้นำสังคม เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
  • thumb
    04 01
    8 ก.ย. 2566
    โครงการวิจัย “บทบาทและศักยภาพของโรงเรียนเอกชนนอกระบบต่อการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)”
    โรงเรียนเอกชนนอกระบบมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกช่วงวัยในการพัฒนาตนเองไปสู่อาชีพต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงบริบทของสังคม ตลอดจนการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโรงเรียนเอกชนนอกระบบมีการลงทุนโดยภาคเอกชน ที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาเฉพาะทางและมีเจตจำนงในการมีส่วนร่วมส่งเสริมการจัดการศึกษาของประเทศให้มีแหล่งพัฒนาความรู้ และแหล่งเรียนรู้ที่ช่วยแบ่งเบาภาระการลงทุนและการบริหารจัดการของภาครัฐเพื่อช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ในทุกช่วงวัยอย่างแท้จริง มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการที่ตอบสนองความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545 ที่ให้การจัดการศึกษาเรียนรู้เป็นไปตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพของผู้เรียน ดังนั้น หากโรงเรียนเอกชนนอกระบบสามารถจัดการศึกษาได้ตามหลักสูตรที่ได้รับอนุญาตแก่ผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ จะทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้พัฒนาความรู้ งานอาชีพ รายได้ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนและครอบครัวได้ จนส่งผลให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างมาก
  • thumb
    1 ก.ย. 2566
    การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี
    จังหวัดอุทัยธานีมีลักษณะโดดเด่นทั้งด้านศาสนา วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์มีวิถีชีวิตของผู้คนที่เรียบง่ายสงบร่มเย็น ดังคำขวัญของจังหวัดอุทัยธานี “เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้าตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้าสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ”แสดงให้เห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่การเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม
  • thumb
    23 ส.ค. 2566
    โครงการสื่อสร้างสรรค์และนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเส้นทางอาชีพของผู้พิการในประเทศไทย
    ปัจจุบันแม้ว่าช่องทางหรือทางเลือกการเข้าถึงสื่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์มีหลากหลาย แต่สำหรับผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุแล้วนั้นยังมีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งในปัจจุบันประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์หรือสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นบุคคลต่าง ๆ ที่ต้องการเข้าถึงสื่อในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องอาศัยทักษะจำเป็นต่าง ๆ แต่สำหรับกลุ่มเปราะบาง การเข้าถึงข้อมูลผ่านสื่อต่าง ๆ อาจมีข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเสาะหาอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตนเอง โดยอาจส่งผลให้กลุ่มเปราะบางเหล่านี้เสียโอกาสในการพัฒนาตนเองและยกระดับคุณภาพชีวิตขอบตนเอง ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง โครงการสื่อสร้างสรรค์และนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเส้นทางอาชีพของผู้พิการในประเทศไทย จึงมีความมุ่งหมายศึกษาวิจัยและสร้างสื่อนวัตกรรมเพื่อตอบสนองผู้พิการด้านการจ้างงานและเพื่อฝึกฝนและเตรียมความพร้อมผู้พิการเพื่อสามารถทำงานในลักษณะต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตลาดการจ้างงานผู้พิการ
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน
    การสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ให้ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมร่วมกันทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ มีกลไกคณะทำงานในการบริหารจัดการศูนย์ดูแลกลางวัน โดยมีครูอาสาในการสร้างการเรียนรู้ 12 ฐาน และมีกองทุนศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม
จำนวนทั้งหมด 29 รายการ