จากเก่าสู่เก๋า: นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ – มรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าของมณฑลนครชัยศรี

detail

นวัตกรชุมชน นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ มณฑลนครชัยศรี

ความสำคัญของโครงการ

          วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดการสูญหายของภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และสร้างความตระหนัก และกังวลใจกับคนในชุมชน โครงการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดมรดกทางภูมิปัญญาด้านอาหารของชุมชนในมณฑลนครชัยศรี ผ่านการสร้างและนำใช้นวัตกรรมชุดตำรับอาหารไทยโบราณ-มรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าสู่ความยั่งยืน นอกจากการสืบสานองค์ความรู้วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น ทีมวิจัยยังมีเป้าหมายสำคัญในการเพิ่มมูลค่าตำรับอาหารไทยโบราณเพื่อการจัดจำหน่ายโดยมีผู้ดำเนินการหลักที่สำคัญคือ นวัตกรชุมชน ที่มีความรู้ ความสามารถในการนำใช้และถ่ายทอดนวัตกรรมสู่คนในชุมชนได้อย่างเหมาะสมการวิจัยเป็นรูปแบบบูรณาการที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและกลุ่มภาคีเครือข่ายประกอบด้วยทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชน นำทีมโดยคณาจารย์จาก มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ซึ่งทีมวิจัยประกอบไปด้วยคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ ในหลากหลายสาขาที่ร่วมทำงานกันแบบบูรณาการศาสตร์ คือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์อาหาร และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่เพื่อทำวิจัยร่วมกับ ภาคีเครือข่ายในชุมชน ซึ่งประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นักวิชาการพัฒนาชุมชน แกนนำชุมชน ข้าราชการครูชุมชน สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ สภาเด็กและเยาวชน ตลอดจนภาคีเครือข่ายภาคเอกชน เช่น เครือข่ายตลาดอินทรีย์สุขใจ สวนสามพราน

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อรวบรวมตำรับอาหารไทยโบราณที่กำลังสูญหาย ให้เป็นตำรับที่เป็นรูปธรรมเชิงปริมาณ (จำนวน 3-5 ตำรับในแต่ละชุมชน โดยรวมประมาณ 30 ตำรับ (ทั้งคาวและหวาน) ในชุดโครงการรวมทั้งหมด)
  2. เพื่อเพิ่มมูลค่าอาหารไทยโบราณ (10 ตำรับ)
  3. เพื่อสร้างสถานีภูมิปัญญาอาหารไทยโบราณประจำตำบล
  4. เพื่อเผยแพร่ตำรับอาหารไทยโบราณ ทั้งรูปแบบ online บนดิจิตอล แพลตฟอร์ม และ onsite ผ่านพื้นที่การเรียนรู้ในชุมชน
  5. สร้างนวัตกรชุมชน ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านการสร้างและนำใช้นวัตกรรมอาหารไทย โบราณแก่คนในชุมชนได้ประมาณ 30 คน

การดำเนินกิจกรรม   

  1. การรวบรวมตำรับอาหารไทยโบราณที่กำลังสูญหายให้เป็นตำรับที่เป็นรูปธรรมเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  2. การเพิ่มมูลค่าอาหารไทยโบราณ (10 ตำรับ)
  3. การสร้าง สถานีภูมิปัญญาอาหารไทยโบราณประจำตำบล
  4. การเผยแพร่ตำรับอาหารไทยโบราณ ทั้งรูปแบบ online บนดิจิตอล แพลตฟอร์ม และ onsite ผ่านพื้นที่การเรียนรู้ในชุมชน
  5. การสร้างนวัตกรชุมชน ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านการสร้างและนำใช้นวัตกรรมอาหารไทยโบราณแก่คนในชุมชนได้ ประมาณ 30 คน

ระยะเวลา :  ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2566

ผลการดำเนินงาน

1. ตารางเปรียบเทียบแผนการดำเนินงานตามสัญญากับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง
2. ข้อค้นพบสำคัญที่ได้จากงานวิจัย รวมทั้งแนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
3. แนวทางการติดตามผลและธำรงรักษาพัฒนาการที่เกิดขึ้น ให้คงอยู่ต่อไป (Exit strategy)
4. การต่อยอดการวิจัยเพื่อนำสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม/สุขภาพ

ผลกระทบในระดับชุมชน

  1. ผลการวิจัย-สร้างนวัตกรคุณภาพ จากการสร้างการมีส่วนร่วม การอบรมให้ความรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี
  2. ชุมชนแห่งการเรียนรู้- สานฝันสามกลุ่มวัย
  3. เกิดนวัตกรคุณภาพ- สามารถ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้
  4. เกิดนวัตกรชุมชน – สามารถยกระดับเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ สร้างอาชีพ
  5. เกิดเป็นชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ และเปี่ยมสุข อย่างยั่งยืน

          จากการดูงานการท่องเที่ยว และสรุปบทเรียนที่ได้รับ ชี้ให้เห็นว่าโครงการวิจัยนวัตกรรมอาหารไทยโบราณนี้ สามารถปลุกพลังความคิดในการรื้อฟื้นวัฒนธรรมด้านอาหาร และสามารถนำไปต่อยอดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบบูรณาการ ซึ่งจะสามารถกระจายรายได้และยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

Partners/Stakeholders

-

ผู้ดำเนินการหลัก
รองศาสตราจารย์ ดร.ศริยามน ติรพัฒน์
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์