คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ได้เห็นความสำคัญในการผลักดัน "ค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์" ให้สูงขึ้นเกิดเป็นผลสัมฤทธิ์ในระดับประเทศ โดยให้มีการเปรียบเทียบความก้าวหน้าของผลลัพธ์การดำเนินงาน (ค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ที่สูงขึ้น) เป็นรายปีอย่างต่อเนื่อง เพื่อบ่งชี้คุณภาพความมั่นคงของมนุษย์ที่ พร้อมต่อการพัฒนาประชาชนตามมิติต่าง ๆ แต่เนื่องจากความสำเร็จเพื่อผลักดันความมั่นคงของมนุษย์สูงขึ้นจำป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและทุกหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกันจำนวน 23 หน่วยงาน และกำหนดให้ตัวชี้วัด "ค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์" เป็นตัวชี้วัดบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวซ้อง (Joint KP) ในปีต่อไป ดังนั้น เพื่อให้การยกระดับและพัฒนางานขับเคลื่อนค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ให้สูงขึ้นได้จริง จึงได้กำหนดโครงการ "จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2566-2570" เพื่อบูรณาการข้อมูล/กระบวนการ/กลไก/การติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าภาพตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ตามกรอบมิติ/ตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ สู่การกำหนดนโยบายรองรับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที พร้อมขยายผลการขับเคลื่อนค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ และในระดับพื้นที่ต่อไป
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2566-2570 ตามกรอบมิติ/ตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์
2) เพื่อกำหนดกระบวนการ/กลไกสร้างความร่วมมือการบริหารจัดการข้อมูล การรายงานสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ในภาพรวม และการติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนต้านความมั่นคงของมนุษย์
3) เพื่อเป็นเครื่องมือในการยกระตับความมั่นคงของมนุษย์ของประเทศไทยให้สูงขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย
1) หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องด้านความมั่นคงของมนุษย์
2) หน่วยงานราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
3) สถาบันการศึกษา
การดำเนินงานครั้งนี้ กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหาของแผนปฏิบัติการ จะประกอบไปด้วย ข้อมูลสภาพแวดล้อม แผนปฏิบัติการที่แสดงถึงกิจกรรม/โครงการเพื่อการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ กลไกความร่วมมือ และการติดตามและประเมินผลขอบเขตของการจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2560-2570 ตามกรอบมิติ/ตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ 7 มิติ ได้แก่
(1) มิติสุขภาพและอาหาร
(2) มิติความเป็นอยู่ ที่อยู่อาศัย ครอบครัว และสิ่งแวดล้อม
(3) มิติการศึกษา
(4) มิติเศรษฐกิจ และรายได้
(5) มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ
(6) มิติความมั่นคงของบุคคล
(7) มิติความมั่นคงทางการเมือง
วิธีดำเนินการ
1) ศึกษาค้นคว้ากลยุทธ์การขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อกำหนดกระบวนการ/กลไกความร่วมมือ
2) สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ชุดข้อมูลดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ วิเคราะห์ความพร้อมและสภาพแวดล้อมการขับเคลื่อน ความเสี่ยงทางสังคมในมิติต่างๆ นโยบายด้านความมั่นคงของมนุษย์และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และการรายงานสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องและจำเป็น ฯลฯ
3) สร้างรูปแบบการจัดเก็บชุดข้อมูลทุติยภูมิ ด้านบริหารจัดการข้อมูล Platform + Data – Catalog ของหน่วยงานต่าง ๆ การรายงานสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ในภาพรวม (เชิงเนื้อหา) ตามกรอบมิติ/ตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ (ฉบับปรับปรุง ปี 2566) พร้อมออกแบบเครื่องมือการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
4) สร้างรูปแบบ กระบวนการขับเคลื่อน กลไกความร่วมมือ (เชิงปฏิบัติการ) และการติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์
การดำเนินการครั้งนี้จะมีการประชุมผู้เชี่ยวชาญกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ ด้านเนื้อหาชุดข้อมูล รูปแบบการจัดเก็บชุดข้อมูล จำนวน 2 ครั้ง (งบประมาณกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
ประชุม ครั้งที่ 1: เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในโยบายด้านความมั่นคงของมนุษย์และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ระดมสมองเพื่อการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และร่วมกำหนดแนวทาง กระบวนการ กลไกความร่วมมือ และกิจกรรม/โครงการแผนปฏิบัติการการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมุษย์ตามกรอบมิติ/ตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ (ฉบับปรับปรุง ปี 2566)
ประชุม ครั้งที่ 2: เพื่อจัดเวทีวิพากษ์แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2566 -2570 และการติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์และถอดบทเรียน
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
มิติสุขภาพและอาหาร: กรมอนามัย, กรมการพัฒนาชุมชน, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กรมสุขภาพจิต, กรมควบคุมโรค
มิติความเป็นอยู่ ที่อยู่อาศัย ครอบครัว และสิ่งแวดล้อม: กรมการพัฒนาชุมชน, กระทรวงมหาดไทย (สถ.), กระทรวงสาธารณสุข, การเคหะแห่งชาติ (กคช.), สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.), กรมกิจการสตรีเเละสถาบันครอบครัว, กรมป้องกันเเละบรรเทาสาธารณะภัย
มิติการศึกษา: กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงมหาดไทย (สถ.)
มิติเศรษฐกิจ และรายได้: กรมพัฒนาชุมชน, กระทรวงแรงงาน, กรมพัฒนาชุมชน, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักงานสถิติเเห่งชาติ, สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง
มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ: กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรมกิจการผู้สูงอายุ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพเเห่งชาติ
มิติความมั่นคงของบุคคล: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมสุขภาพจิต
มิติความมั่นคงทางการเมือง: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประโยชน์ที่ได้รับ
1) ค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ของประเทศไทยสูงขึ้น ตามกรอบมิติ/ตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์
2) มีนโยบายด้านความมั่นคงของมนุษย์และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น
3) เกิดการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเป็นระบบ
การวิจัยครั้งนี้มีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being) เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน (No Poverty) เป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) เป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่เท่าเทียม (Quality Education) เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Decent Work and Economic Growth) เป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ (Reduced Inequalities) เป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างัย่งยืน (Sustainable Cities and Communities) และเป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (Peace, Justice and Strong Institions)