การลดการผูกขาด ต้นทุนสูง ผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และเพิ่มช่องทางการตลาดในภาคการเกษตร โดยการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมยั่งยืนด้วยระบบวนเกษตรสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs
การลดการผูกขาด ต้นทุนสูง ผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และเพิ่มช่องทางการตลาดในภาคการเกษตร โดยการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมยั่งยืนด้วยระบบวนเกษตรสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs
ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ
ภาคเกษตรนับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก แต่เกษตรกรเป็นกลุ่มที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าอาชีพอื่น ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาข้อจำกัดด้านพื้นที่เพาะปลูกทำให้มีความสามารถในการผลิตผลผลิตทางการเกษตรได้น้อย ปัญหาค่าแรงงานสูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงตามมา และการขาดการวางแผนและการจัดการที่ดีทำให้เกิดปัญหาการใช้ทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ อาทิ น้ำ ปุ๋ย และเคมีภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เคมีภัณฑ์ที่มากเกินความจำเป็น ส่งผลให้เกิดสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อมและผลผลิตในปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภค และระบบนิเวศ
ระบบวนเกษตร จึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดอย่างหนึ่งในการสร้างนโยบายชี้นำสังคม สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจากระดับครัวเรือน ชุมชน จังหวัด จนถึงระดับประเทศ โดยเฉพาะเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศอย่างเช่น การทำนาข้าว การนำเสนอหลักฐานเชิงประจักษ์จากการศึกษาวิจัยในพื้นที่จริง เช่น การการจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practices) และตัวชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Indicators) ในระบบนิเวศนาข้าว เพราะระบบวนเกษตรเป็นระบบที่ปฏิบัติตามได้ง่ายในพื้นที่ทำกินของตัวเอง คือการปลูกพืชเกษตรแทรกป่า หรือการปลูกไม้ยืนต้น ไม้ป่า ไม้สมุนไพร ไม้พื้นถิ่น ไม้หายาก ฯลฯ แทรกในแปลงเกษตรกรรม เพื่อให้แปลงมีระบบนิเวศที่สมดุล มีร่มไม้ปกคลุม ส่งผลให้แปลงเกษตรมีความชุ่มชื้นสูง และมีความหลากหลายทางชีวภาพ เส้นทางความมั่นคงทางอาหาร โครงการจึงมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคมด้านการจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน
2) เพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมยั่งยืนด้วยระบบวนเกษตรสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs
การดำเนินการ
1) สำรวจรวบรวมข้อมูลลักษณะพื้นที่เกษตร ปัญหาและความเหมาะสมในแต่ละอำเภอนำร่อง (อ.เมือง อ.เกาะคา อ.แม่ทะ และ อ.สบปราบ)
2) ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน จังหวัดลำปาง
3) จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอแนวทางการจัดทำแผนนโยบายในรูปแบบเชิงปฏิบัติการ (workshop) กับเกษตรกร ชุมชนภาคการเกษตรพื้นที่นำร่อง
4) รวบรวมและวิเคราะห์สรุปผลแผนนโยบาย/แนวทางปฏิบัติ
5) การส่งมอบแผนขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคมให้กับผู้นำชุมชน หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายศูนย์วิจัยฯ
ผลการดำเนินงาน
ช่วงเวลาการดำเนินโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 จนถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งการดำเนินงานโครงการผ่านมา 5 เดือน ได้ทราบถึงข้อมูลบริบทพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพปัญหาในพื้นที่จังหวัดลำปาง พร้อมตัวอย่างพื้นที่ความสำเร็จจากการทำเกษตรผสมผสานและระบบวนเกษตร และได้ประชุมกับตัวแทนจากหน่วยงานการปกครอง ภาคการเกษตร ภาคสิ่งแวดล้อม วิสาหกิจชุมชน สังคมและภาคการศึกษาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน จังหวัดลำปาง
การนำไปใช้ประโยชน์
การนำแผนนโยบายส่งเสริมภาคการเกษตรด้วยระบบวนเกษตร เพื่อสร้างรากฐานเศษฐกิจชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ระดับครัวเรือนจนถึงระดับประเทศ โดยหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายชุมชน
มีผลงานตีพิมพ์
-
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น
เป็นแผนนโยบายที่ชี้นำสังคมในลักษณะจำเพาะระดับครัวเรือนในแต่ละอำเภอนำร่อง สามารถเล็งเห็นผลลัพธ์ความสำเร็จได้ในระยะสั้นจนถึงระยะยาว
ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก
1) พัฒนาสมรรถนะทักษะต่อยอดเป็นอาชีพ เสริมสร้างฐานชุมชนวนเกษตรที่เข็มแข็ง
2) ตระหนักและเห็นความสำคัญในการบริหารทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่น ฐานความหลากหลายทรัพยากรชีวมวล พืชอาหาร และสมุนไพร
3) เพิ่มพื้นที่สีเขียว แก้ปัญหาภัยแล้ง ลดมลพิษ หมอกควันในพื้นที่ ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
1) องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
2) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดลำปาง
3) ที่ว่าการ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
4) ที่ว่าการ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง
5) สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
6) สำนักงานเกษตรอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง
7) สหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด
8) ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มเกษตรก้าวหน้าบ้านฟ่อน
9) วิสาหกิจชุมชน แม่ทานพอเพียง
10) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อ.สบปราบ
11) สมาคมเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดลำปาง
12) สมาคมเครือข่ายแพทย์แผนไทยลำปาง
13) บริษัท สยามฮาร์เวสท์ สาขาลำปาง
14) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง