Climate Action

ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

มหาวิทยาลัยมหิดลตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงกำหนดนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อให้ความสำคัญต่อกิจกรรมที่เกิดมลพิษน้อยที่สุด ด้วยโครงการ 9 to Zero โดยริเริ่มจากการเพิ่มพลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ Solar Rooftop ที่ผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ก่อเกิดมลพิษ รวมไปถึงการใช้รถรางไฟฟ้า และจักรยานภายในมหาวิทยาลัย การใช้พลังงานชีวภาพจากน้ำมันพืชใช้แล้ว มีการวางแผนเพิ่มสถานีชาร์จแบตรถ EV ในอนาคต เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อการจัดการด้านฝุ่นละออง ด้วยการสร้างนวัตกรรม PM 2.5 Footprint Calculator คำนวณผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมโลก ส่งผลให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละออง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำให้เกิดฝุ่นละลองน้อยที่สุด อีกทั้งยังมีโปรแกรม MU Carbon Footprint ที่เป็นระบบจัดเก็บฐานข้อมูลปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้ประเมินและกำหนดแนวทางในการจัดการก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยในปี พ.ศ. 2563 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 5,851.44 ตัน ในวิทยาเขตศาลายา โดยมีส่วนงานต่าง ๆ ได้นำไปปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลคาร์บอนต่ำของคณะทันตแพทยศาสตร์ที่ได้นำมาข้อมูลจาก Carbon Footprint มาบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงเพราะว่ามีการนำพลังงานทดแทนเข้ามาใช้แทนและยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ทั้งยังไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยดำเนินการผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ได้แก่ โครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และในปี พ.ศ. 2565 โครงการรวมพลคนวัดต้นไม้เพื่อเก็บข้อมูลการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีต้นไม้ในพื้นที่วิทยาเขตศาลายารวม 13,640 ต้น ที่สามารถดูดกลับคาร์บอนได้มากถึง 6,523.20 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียว จากโครงการพื้นที่สีเขียวแนวตั้ง พบว่าเพิ่มขึ้น 5.92 เปอร์เซ็นต์ต่อพื้นที่สีเขียวทั้งหมดในมหาวิทยาลัย และ พื้นที่ MU Eco Park ที่เพิ่มการปลูกต้นไม้เพื่อลดความร้อนในพื้นที่ ช่วยเพิ่มความสวยงาม และส่งผลให้เกิดอัตราการดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงมากขึ้น ในส่วนของโครงการ Eco Town ซึ่งเป็นความร่วมมือกับทางพีทีทีในการขยายความรู้เรื่องการจัดการขยะรีไซเคิลทดแทนการเผาทำลายยังเป็นเหตุของการเกิดมลพิษทางอากาศ จากโครงการและกิจกรรม ที่ดำเนินการมาทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงการวางแผนและเตรียมพร้อม เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    22 ต.ค. 2567
    สัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All Solar Cell
    ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) ภายใต้สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จัดกิจกรรมสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All Solar Cell ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายภาครัฐกับโซลาเซลล์ รวมไปถึงนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโซลาเซลล์ในปัจจุบันและอนาคต
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    MU Green Rankings
    MU Green Rankings ประเมินสถานะการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    4 ก.ย. 2566
    การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
    บึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลาย ทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ 7 ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว
  • thumb
    24 ส.ค. 2565
    การพัฒนามันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ
    พัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์มันสำปะหลังให้มีปริมาณแป้งและผลผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความต้านทานต่อโรคใบด่าง โดยการคัดเลือกนั้นจะเป็นการผสมผสานการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังแบบดั้งเดิม ร่วมกับการนำเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการคัดเลือก
  • thumb
    03 13
    2 เม.ย. 2567
    การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
    ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพ (AQHI) เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสะท้อนความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดจากการรับสัมผัสสารมลพิษ
  • thumb
    13 15
    20 ก.ค. 2566
    การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อลดการเผาอ้อยและเศษวัสดุในไร่อ้อย ในจังหวัดกาญจนบุรี
    ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาวัสดุการเกษตรในที่โล่ง จากข้อมูลสถิติในช่วงปี ค.ศ. 1960-2015 แสดงให้เห็นว่าถึงแม้ปริมาณเศษวัสดุของข้าวที่ถูกเผาจะสูงกว่าอ้อย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 พบปริมาณเศษวัสดุของข้าวมีแนวโน้มที่ลดลง ในทางกลับกันเศษวัสดุของอ้อยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะเกี่ยวข้องกับนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการใช้พลังงานจากพืชมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงปิโตรเลียม จึงทำให้พื้นที่การเพาะปลูกข้าวลดลงและเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยเพื่อผลิตและกลั่นเป็นเอทานอลที่นำมาผสมกับน้ำมันปิโตรเลียมเพื่อผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์มากขึ้น (Kumar, Feng, Sun, & Bandaru, 2022) รวมทั้งนโยบายของรัฐที่สนับสนุนการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกข้าวไปปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่นแทน ซึ่งรวมถึงอ้อยด้วย กาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่มีการทำไร่อ้อยเป็นวงกว้าง และมีโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ถึง 8 แห่งจาก 20 แห่งทั่วภาคกลาง และจาก 56 แห่งทั่วประเทศ ในด้านสถิติการปลูกอ้อยปี 2563 กาญจนบุรีมีพื้นที่ในการปลูกอ้อยทั้งสิ้น 753,424 ไร่ นับเป็นอันดับสามในประเทศ หรือมีพื้นที่ผลิตอ้อยมากกว่าพื้นที่ในการผลิตโดยรวมในภาคตะวันตกซึ่งมีการปลูกอ้อยทั่วทั้งภูมิภาค จำนวน 659,249 ไร่ กาญจนบุรีจึงถูกนับเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลขนาดใหญ่ของประเทศ (ณิชภัทร์ กิจเจริญ, 2563) ปัญหาการเกิดฝุ่นควันในจังหวัดกาญจนบุรีเกิดขึ้นจากสองส่วนหลักๆ คือ ได้แก่ ส่วนแรก คือควันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเฉพาะไฟป่าในฤดูหนาวและฤดูแล้ง ซึ่งเอื้อให้เกิดสภาพดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่นอกตัวเมืองตั้งแต่อำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ รวมทั้งอำเภอสังขละบุรี ส่วนที่สองคือ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งสาเหตุนี้ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 มากกว่าควันจากธรรมชาติ และปฏิเสธไม่ได้ว่า ฝุ่นควันและเขม่าส่วนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรีเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำตาลและการปลูกอ้อย ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลเชื่อมโยงต่อการเผาอ้อย ได้แก่ รถตัดอ้อย แรงงานรับจ้างตัดอ้อย และโรงงานน้ำตาลที่รับซื้ออ้อย ซึ่งมาตรการของภาครัฐที่ออกมายังมีไม่มีประสิทธิผลมากพอที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เคยปฏิบัติเป็นประจำ โดยกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยน้อยกว่า 20 ไร่ ถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้การบังคับใช้มาตรการจากภาครัฐอาจจะยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เนื่องด้วยพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่มีขนาดเล็กทำให้รถตัดอ้อยซึ่งมีต้นทุนที่ถูกที่สุดต่อหน่วยพื้นที่การปลูกอ้อยไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ การจ้างรถตัดอ้อยด้วยเกษตรกรรายย่อยเพียงไม่กี่รายมักถูกปฏิเสธจากรถตัดเพราะได้ค่าตัดไม่คุ้ม นอกจากนี้เกษตรกรรายย่อยมักมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ต้องเร่งรีบตัดและขายอ้อยให้กับโรงงานเพื่อให้ทันการปิดหีบ ประเด็นเรื่องอ้อยไฟไหม้มีความซับซ้อน มีผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก อีกทั้งเกษตรกรที่ทำไร่อ้อยก็มีความแตกต่างกัน ทั้งกลุ่มที่ทำไร่ขนาดใหญ่มีทุนสูง หรือเกษตรรายย่อยทำในพื้นที่ขนาดเล็กที่ไม่มีเครื่องมือหรือเงินทุนน้อย ซึ่งมีโอกาสและข้อจำกัดไม่เหมือนกัน จึงมักจะสังเกตได้ว่า แม้จะมีมาตรการต่าง ๆ ออกมามากมาย แต่ไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ดังนั้น การศึกษานี้ จึงมีเป้าหมายที่จะอธิบายกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทตลอดห่วงโซ่ของการปลูกอ้อยอย่างเป็นระบบ รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานในแต่ละระดับที่มีส่วนดูแลป้องกันและแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ ว่าแต่ละส่วนมีบทบาทอย่างไร มาตรการใดที่ได้ผล และไม่ได้ผล ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปสู่การค้นหาแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่ซึ่งถูกพัฒนาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการลดการเผาลง โดยการวิเคราะห์ปัญหาและความเชื่อมโยงของเหตุและผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบของการเผาอ้อยในจังหวัดกาญจนบุรีจะถูกวิเคราะห์และนำเสนอผ่านเครื่องมือ “วงรอบเหตุและผล” (causal loop diagram)
  • thumb
    07 13
    25 เม.ย. 2567
    โครงการติดตั้งจุดให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV)
    การติดตั้งจุดให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) เป็นการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อมรองรับการขยายตัวของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และยังเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมแนวคิด “พลังงานสะอาด พลังในการขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตที่ดี”
  • thumb
    2 เม.ย. 2567
    การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine เพื่องานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine ในงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถประยุกต์เครื่องมือวิเคราะห์ที่มีให้ใน Google Earth Engine ช่วยให้การตัดสินใจในการทำงานเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • thumb
    12 07 13
    2 เม.ย. 2567
    โครงการพัฒนาสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อขอการรับรองสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566
    การพัฒนาสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) โดยการตรวจประเมินเบื้องต้น (Pre-Audit) ให้คำแนะนำในการดำเนินงาน เพื่อเตรียมความพร้อม สำนักงาน/อาคารของ กฟภ. ที่ขอรับการรับรองสำนักงานสีเขียว จำนวน 11 แห่ง และตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ (Online) จำนวน 62 แห่ง และตรวจประเมินในพื้นที่จริง (Onsite) อย่างน้อย จำนวน 11 แห่ง ตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
  • thumb
    15 13
    10 ม.ค. 2567
    การจัดทำแผนผังภูมินิเวศแหล่งฟอสซิลเขาน้อยและป่าพน อุทยานธรณีโลกสตูล
    อุทยานธรณีโลกสตูลได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทยจากยูเนสโก (UNESCO) เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 และคณะกรรมการสภาอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks Council) ได้มีมติเห็นชอบให้อุทยานธรณีโลกสตูลผ่านการประเมินซ้ำเพื่อเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก และได้รับสถานะ Green Card เมื่อปี 2566 เขาน้อยและป่าพนเป็นแหล่งธรณีและฟอสซิลที่มีความสำคัญอย่างมาก แต่ปัจจุบันยังขาดการจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้ความรู้แก่ผู้มาเยือน ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำผังภูมินิเวศแหล่งฟอสซิลเขาน้อย และป่าพน ในอุทยานธรณีสตูล และ 2) พัฒนาเส้นทางการเรียนรู้แหล่งฟอสซิลเขาน้อย และป่าพน การจัดทำผังภูมินิเวศได้ใช้หลักการในเรื่องการอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรทางธรณีที่สำคัญและการแบ่งพื้นที่ตามภูมิประเทศ ชีวภาพ ภูมิสังคมและภูมิวัฒนธรรม โดยการใช้แผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพ การบินสำรวจภาพมุมสูงโดยโดรน แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนที่ชั้นหิน และขอบเขตประกาศแหล่งอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ มาซ้อนทับและกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแต่ละเขต การจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกโดยการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ ศักยภาพและข้อจำกัด และการวิเคราะห์ผู้ใช้งาน การจัดทำคู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล เขาน้อยและป่าพน โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องของอุทยานธรณีสตูล รายละเอียดและข้อมูลเขาน้อยและป่าพน นำมาออกแบบบนหลักการที่ยังคงความถูกต้องทางวิชาการ เข้าใจง่ายและน่าสนใจ การประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนร่วม และการฝึกอบรมมัคคุเทศก์น้อยโรงเรียนกำแพงและป่าพน ผลการศึกษาได้จัดทำผังภูมินิเวศของพื้นที่เขาน้อย โดยมีพื้นที่สงวนเท่ากับ 6,511.85 ตารางเมตร (4.070 ไร่) พื้นที่อนุรักษ์ 72,834.55 ตารางเมตร (45.522 ไร่) และพื้นที่พัฒนา 1,440.07 ตารางเมตร (0.900 ไร่) และผังเฉพาะป่าพนมีพื้นที่สงวนเท่ากับ 6,339.25 ตารางเมตร (3.962 ไร่) พื้นที่อนุรักษ์ 43,769.47 ตารางเมตร (27.356 ไร่) และพื้นที่พัฒนา 29,532.45 ตารางเมตร (18.458 ไร่) ตามลำดับ โดยพื้นที่สงวนครอบคลุมพื้นที่หินที่บ่งบอกอายุหินที่แตกต่างกัน แหล่งฟอสซิล หินสาหร่าย พื้นที่อนุรักษ์คือ พื้นที่ที่ต่อเนื่องจากพื้นที่สงวน และพื้นที่พัฒนาคือ พื้นที่ที่จะเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก โดยการออกแบบให้กลมกลืนกับธรรมชาติและเบียดเบียนธรรมชาติน้อยที่สุด ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ ควรเร่งรัดการจัดทำแผน 5 ปี (พ.ศ.2567-2571) ของอุทยานธรณีโลกสตูล เพื่อปรับแผนให้เข้ากับแผนจังหวัดและแผนพัฒนาท้องถิ่นให้ทันกับปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จะทำให้งานขับเคลื่อนได้ต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดของแผนผังภูมินิเวศ จะมองพื้นที่แหล่งฟอสซิลเป็นแหล่งธรณีที่ยึดโยงกับประชาชน (Man) ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แหล่งฟอสซิล กับ ชีวมณฑล (Biosphere) ที่อยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับแนวคิดของการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนผ่านการจัดการพื้นที่สงวน พื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่น ๆ อย่างเหมาะสมและสมดุล การมีส่วนร่วมของชุมชนต้องมีอยู่ในระดับที่สูง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการรับรู้ เข้าใจ และสร้างความตระหนักต่อบทบาทหน้าที่ของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ให้มากที่สุด จึงจะทำให้การขับเคลื่อนงานของอุทยานธรณีโลกเป็นไปอย่างตรงและบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ การออกแบบเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกเขาน้อย โดยการนำ Prehistoric scenery ของยุคออร์โดวิเชี่ยนมาใช้สร้างความสนใจให้กับโครงการ โดยการใช้ลักษณะภูมิทัศน์เดิมของพื้นที่ในส่วนด้านหน้าเป็นพื้นทีที่ช่วยบอกเล่าเรื่องราว และอาจะมีการเพิ่มองค์ประกอบภูมิทัศน์บางส่วนเพื่อช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยพื้นที่แหล่งฟอสซิลเขาน้อยจะใช้แนวคิด The Prehistoric Scenery of Nature และสำหรับป่าพน โดยการนำแนวความคิด The Journey of Natural Nature: Local-Natural trail- Enhance เน้นให้คนในชุมชน ท้องถิ่นเน้นร่วมกิจกรรม local guide, local food, local craft, local plants, local nature คู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล เขาน้อยและป่าพน ประกอบด้วยอุทยานธรณีโลกสตูล ตารางธรณีกาล เขาน้อย และป่าพน คำสำคัญ: อุทยานธรณีสตูล เขาน้อย ป่าพน แผนผังภูมินิเวศ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ฟอสซิล สโตรมาโตไลต์
  • thumb
    11 13 15
    10 ม.ค. 2567
    เสริมพลังชุมชน บรรลุเป้าหมาย Net Zero สร้างความเชื่อมั่น-ยกระดับมาตรฐานส่งออก ‘ส้มโอ จ.นครปฐม’
    ส่งเสริมให้ชาวสวนส้มโอชุมชน “เกาะลัดอีแท่น” ตระหนักถึง “การเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน” เสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและพลังงานในรูปแบบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการปรับตัวให้เท่าทันสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การเสริมสร้างชุมชนเกษตรเชิงอนุรักษ์ และการประกอบการเพื่อชุมชนยั่งยืน ตลอดจนกิจกรรมจิตอาสาเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ
  • thumb
    11 13
    24 ม.ค. 2566
    โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งถือเป็นแกนสำคัญของการพัฒนาและขยายเมือง การพัฒนาเมืองแบบ Transit Oriented Development (TOD)
    โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งถือเป็นแกนสำคัญของการพัฒนาและขยายเมือง การพัฒนาเมืองแบบ Transit Oriented Development (TOD) หรือหนึ่งในแนวคิดการพัฒนาเมืองและชุมชนเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทาง มีการกำหนดรูปแบบการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างชุมชนคุณภาพ น่าอยู่อาศัย น่าลงทุนธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเดินทาง เข้า-ออกพื้นที่ด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และส่งเสริมการเดินทางในพื้นที่ด้วยการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ หรือใช้การเดินทางสาธารณะ (1) Concept การบริหารเมืองของ TOD คือ การปรับเปลี่ยนการขยายตัวของเมืองแบบกระจัดการจายให้เป็นเมืองกระชับ ด้วยการพัฒนาพื้นที่อย่างมีขอบเขตและแนวทางซึ่งจะช่วยลดภาวะการเติบโตของเมืองอย่างไร้ทิศทาง Transit Oriented Development (TOD) จะช่วยแก้ปัญหาเมือง และมีประโยชน์ต่อชุมชน ดังนี้ ภาครัฐจะมีแนวทางในการบริหารจัดการเมืองที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม การเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากรถยนต์ส่วนตัวมาเป็นขนส่งสาธารณะ จะช่วยลดการก่อให้เกิดมลพิษด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสาธารณะ รวมถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเดินเท้า หรือการปั่นจักรยาน ภายในบริเวณโดยรอบของการขนส่งสาธารณะเพื่อลดการเดินทางโดยใช้เครื่องยนต์ และส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ทางด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นก็จะมีการพัฒนาให้ลงตัวกับทุก Life Style การใช้ชีวิต ทั้งย่านพักอาศัย ย่านการค้า ย่านธุรกิจ และพื้นที่สาธารณะ มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการครบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดการใช้พลังงาน และเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน
จำนวนทั้งหมด 43 รายการ