MU Green Rankings

detail

MU Green Rankings ประเมินสถานะการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล

ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2563-2566 ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในการมุ่งมั่นสู่อันดับ 1 ใน 100 ของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลกในปี พ.ศ. 2573 โดยมียุทธศาสตร์ที่ 4 Management for Self-Sufficiency and Sustainable Organization ที่มีความประสงค์ในการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน และเพื่อให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University) จึงได้มีโครงการประกวด MU Green Rankings เพื่อประเมินสถานะการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมในส่วนงาน ทำให้สามารถนำผลการประเมินมาวางนโยบายหรือแผนการดำเนินงานของส่วนงานได้ กระตุ้นให้ส่วนงานเพิ่มประสิทธิภาพใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นส่วนนึงในการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน โดยพิจารณาข้อมูลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมตามปีงบประมาณ จากระบบ MU-Ecodata และประเมินตามคู่มือเกณฑ์การประเมิน MU Green Ranking 2021
ซึ่งมีเกณฑ์ตัวชี้วัดและระดับคะแนนดังนี้

         


รายละเอียดเกณฑ์ตัวชี้วัด ทั้ง 7 หมวด


หมวดที่ 1 คะแนนองค์กร (Organization)  

O1: การกรอกข้อมูลในระบบ MU-ECODATA

O2: การส่งข้อมูลตามกำหนดเวลา

O3: ร้อยละของการมีส่วนร่วมของคนในองค์กรเฉลี่ยภาพรวมทุกตัวชี้วัด

O4: รางวัลหรือมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม/ด้านพลังงานของหน่วยงาน (ระดับมหาวิทยาลัย/ระดับชาติ/นานาชาติ) เช่น Green office, Thailand Energy award, ISO, อาคารเขียว,
        สวนมุมสวย, คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร


หมวดที่ 2 ตัวชี้วัดด้านวัตถุดิบ (Procurement) 

P1: มีนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมอัพโหลดไฟล์นโยบายของส่วนงานได้ครบถ้วนและถูกต้อง

P2: มีการประชาสัมพันธ์นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

P3: มีการตั้งเป้าหมายในการดำเนินการจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเทียบกับงบประมาณจัดซื้อสินค้าและบริการทั้งหมด

P4: ผลสำเร็จตามเป้าหมายในการดำเนินการจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเทียบกับงบประมาณจัดซื้อสินค้าและบริการทั้งหมด

P5: ร้อยละของการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่องบประมาณการจัดซื้อสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

P6: มีการกำหนดเงื่อนไขการจัดซื้อสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในคุณลักษณะสินค้า (Specification) ขอบเขตการจ้างงาน (TOR)

P7: มีบัญชีรายการจัดซื้อจัดจ้าง สินค้า/บริการ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามคู่มือการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2561 ของกรมควบคุมมลพิษ  


หมวดที่ 3 ตัวชี้วัดด้านพลังงาน (Electricity) 

E1: มีนโยบายด้านพลังงาน พร้อมอัพโหลดไฟล์นโยบายของส่วนงานได้ครบถ้วนและถูกต้อง

E2: มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์นโยบายพลังงาน

E3: มีการตั้งเป้าหมายในการลดการใช้ไฟฟ้า เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดของปีที่ผ่านมา

E4: ผลสำเร็จตามเป้าหมายในการลดการใช้ไฟฟ้า เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดของปีที่ผ่านมา

E5: ปริมาณไฟฟ้าที่ลดลง เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดของปีที่ผ่านมา

E6: มีการใช้พลังงานทดแทนในส่วนงาน

E7: ประเภทโครงการด้านการประหยัดพลังงาน

E8: มีรายละเอียดโครงการด้านพลังงานครบถ้วนถูกต้อง 

E9: ค่าเฉลี่ยผลสำเร็จจากการดำเนินการของโครงการด้านพลังงานของหน่วยงาน

E10: สัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อพื้นที่ใช้สอยของส่วนงาน


หมวดที่ 4 ตัวชี้วัดด้านน้ำ (Water)

WT1: มีนโยบายด้านน้ำ พร้อมอัพโหลดไฟล์นโยบายของส่วนงานได้ครบถ้วนและถูกต้อง

WT2: มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์นโยบายด้านการใช้ทรัพยากรน้ำ

WT3: มีการตั้งเป้าหมายในการลดใช้น้ำ เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้น้ำทั้งหมดของปีที่ผ่านมา

WT4: ผลสำเร็จตามเป้าหมายในการลดใช้น้ำ เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้น้ำทั้งหมดของปีที่ผ่านมา

WT5: ปริมาณการใช้น้ำที่ลดลง เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้น้ำทั้งหมดของปีที่ผ่านมา

WT6: มีการใช้น้ำรีไซเคิลในส่วนงาน

WT7: ประเภทโครงการด้านการประหยัดน้ำ

WT8: มีรายละเอียดโครงการด้านการใช้น้ำครบถ้วนถูกต้อง

WT9: ค่าเฉลี่ยผลสำเร็จจากการดำเนินการของโครงการด้านการใช้น้ำของหน่วยงาน

WT10: สัดส่วนการใช้น้ำต่อพื้นที่ใช้สอยของส่วนงาน


หมวดที่ 5 ตัวชี้วัดด้านกากของเสีย (Waste)

W1: มีนโยบายด้านการจัดการกากของเสีย พร้อมอัพโหลดไฟล์นโยบายของส่วนงานได้ครบถ้วนและถูกต้อง

W2: มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์นโยบายด้านการจัดการกากของเสีย

W3: มีการตั้งเป้าหมายในการคัดแยกขยะรีไซเคิลเทียบกับปริมาณขยะทั้งหมด

W4: ผลสำเร็จตามเป้าหมายในการคัดแยกขยะรีไซเคิลเทียบกับปริมาณขยะทั้งหมดในปีปัจจุบัน

W5: ร้อยละของขยะรีไซเคิลเทียบกับปริมาณขยะทั้งหมดในปีปัจจุบัน

W6: ปริมาณกากของเสียทั้งหมดที่ลดลง เมื่อเทียบกับปริมาณกากของเสียทั้งหมดของปีที่ผ่านมา

W7: มีโครงการด้านการจัดการกากของเสีย 3 ประเภท ได้แก่ การลดการใช้ (reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (reuse) การรีไซเคิล (recycle)

W8: มีรายละเอียดโครงการด้านการจัดการกากของเสีย ครบถ้วนถูกต้อง 

W9: ค่าเฉลี่ยผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการด้านการจัดการกากของเสียของหน่วยงาน


หมวดที่ 6 ตัวชี้วัดด้านอาคาร (Building) 

B1: มีนโยบายด้านอาคาร พร้อมอัพโหลดไฟล์นโยบายของส่วนงานได้ครบถ้วนและถูกต้อง

B2: มีองค์ประกอบอาคารเขียวในส่วนงาน

B3: มีการออกแบบหรือปรับปรุงอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

B4: มีการออกแบบหรือมีแผนการก่อสร้างอาคารให้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน/กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด/ออกแบบให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

B5: ประเภทโครงการด้านอาคาร แบ่งเป็น การบริหารจัดการอาคาร ผังบริเวณและภูมิทัศน์ สภาวะแวดล้อมภายในอาคาร มลพิษในชั้นบรรยากาศ และนวัตกรรม

B6: มีรายละเอียดโครงการด้านอาคารครบถ้วนถูกต้อง 

B7: ค่าเฉลี่ยผลสำเร็จจากการดำเนินการของโครงการด้านอาคารของหน่วยงาน


หมวดที่ 7 ตัวชี้วัดด้านก๊าซเรือนกระจก (GHGs) 

G1: มีนโยบายด้านการลดก๊าซเรือนกระจก พร้อมอัพโหลดไฟล์นโยบายของส่วนงานได้ครบถ้วนและถูกต้อง

G2: มีการประชาสัมพันธ์ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก

G3: มีการตั้งเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก เมื่อเทียบกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของปีที่ผ่านมา

G4: ผลสำเร็จตามเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก เมื่อเทียบกับปริมาณก๊าซเรือนกระจก ทั้งหมดของปีที่ผ่านมา

G5: ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ เมื่อเทียบกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของปีที่ผ่านมา

G6: มีการบันทึกข้อมูลสำหรับการคำนวนปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้ครบถ้วนทุกหมวด

G7: ประเภทโครงการด้านการลดก๊าซเรือนกระจก เช่น การลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก การเพิ่มปริมาณการกักเก็บคาร์บอน (เช่น ปลูกต้นไม้ยืนต้น)
        การซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต >>ไม่รวมโครงการด้านพลังงาน และน้ำ<<

G8: มีรายละเอียดโครงการด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจกครบถ้วนถูกต้อง (พร้อมเอกสารแนบ) >>ไม่รวมโครงการด้านพลังงาน และน้ำ<<

G9: ค่าเฉลี่ยผลสำเร็จจากการดำเนินการของโครงการด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงาน

Partners/Stakeholders

-

ผู้ดำเนินการหลัก
กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
คณะและส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล