Responsible Consumption And Production

สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายบริหารจัดการขยะ และสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับการรับรองฉลากมาตรฐานสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อลดของเสียที่เกิดจากปลายทางให้มากที่สุด จึงได้ดำเนินโครงการ Mahidol No Plastic ซึ่งช่วยลดปริมาณถุงพลาสติกในระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2563 ได้มากถึง 8,645,604 ใบ และปริมาณขวดพลาสติก 216,875 ขวดในปี พ.ศ. 2563 จากการใช้ตู้กดน้ำ เป็นการลดการใช้พลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดตั้งโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล และธนาคาร ทิ้ง ไซเคิล ที่สามารถเปลี่ยนขยะให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ เพื่อช่วยปรับแนวคิดและพฤติกรรมในการคัดแยกขยะให้แก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป ซึ่งส่งผลให้สภาพภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัยดีขึ้น ลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้ และการเพิ่มมูลค่าขยะด้วยโครงการ We Turn ที่ผลิตเสื้อโปโลจากขวดพลาสติก ที่ดำเนินการผลิตไปแล้ว 400 ตัวจากขวดพลาสติก 8,000 ขวด ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบที่ทำได้จริง และไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด ในภาคประชาคม ได้มีการดำเนินโครงการ Mahidol Eco Town ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนจากการนำโมเดลโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลไปขยายต่อและให้ความรู้เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้เยาวชน โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 33 โรงเรียน จากจำนวนเครือข่ายโรงเรียน แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้เป็นที่ยอมรับและเกิดการขยายเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีการผลิตปุ๋ยหมักจากเศษพืชด้วยระบบกองเติมอากาศที่ทดแทนการเผาทำลายที่ได้รับมาตราฐานเกษตรอินทรีย์ โดยผลิตไปแล้ว 323,910 กิโลกรัม รวมถึงการผลิตน้ำหมักชีวภาพที่ช่วยบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น ทำให้ลดต้นทุนการดูแลรักษาและสร้างรายได้จากการจำหน่ายได้ และยังใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ทางมหาวิทยาลัยตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเสมอจึงมีการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพที่ได้มาตรฐานตามกรมควบคุมมลพิษก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และมีการใช้น้ำรีไซเคิลแทนในปริมาณ 7,266 ลูกบาศก์เมตร ที่นำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น รดน้ำต้นไม้ ล้างรถบัส เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาได้สร้างระบบจัดการของเสียและการรีไซเคิลอย่างเป็นระบบและการผลิตอย่างยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    12 15 17
    7 ต.ค. 2565
    การจัดการด้านความปลอดภัยและของเสียอันตราย
    การจัดการด้านความปลอดภัยและของเสียอันตรายในเชิงนโยบายและการดำเนินงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    03 11 12
    30 มิ.ย. 2565
    โครงการตรวจประเมินการปฏิบัติงานบริษัทรับกำจัดของเสียอันตราย
    มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอน งานวิจัยทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์เป็นหลัก จากนโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2557 ว่าด้วยการสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และมีระบบการจัดการของเสียที่มีประสิทธิภาพ ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการของเสียนตรายภายในมหาวิทยาลัย โดยดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการของเสียอันตราย 2 ประเภท คือ ของเสียสารเคมี และของเสียอันตรายทางชีวภาพ ทั้งนี้ทางศูนย์ฯ มีระบบบริหารจัดการตั้งแต่ การคัดแยกของเสีย การจัดเก็บ และการส่งกำจัด ซึ่งทางศูนย์ฯ เป็นหน่วยงานกลางในการติดต่อประสานงาน และดำเนินการจัดหาบริษัทรับกำจัดของสียอันตราย ที่ดำเนินกิจการภายใต้การควบคุมและดูแลจากหน่วยงานของรัฐ และได้รับการรับรองมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เข้ารับกำจัดของเสียอันตรายภายในส่วนงาน
  • thumb
    10 พ.ย. 2565
    นักวิจัยผุดไอเดีย นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ผลิตขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดร่วมกับกรดเลวูลินิค
    ฟอสซิลถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และการผลิตข้าวของเครื่องใช้มากมาย อย่างไรก็ตาม การใช้ฟอสซิลยังมีข้อจำกัดต่าง ๆ มากมาย อาทิ การเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป และผลกระทบที่เกิดจากการเผาไหม้ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ซึ่งคงค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศของโลก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวัฒน์ นาคะสรรค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้วิจัย จึงมีความสนใจในการทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการลดการใช้ฟอสซิล โครงการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจึงนำเหง้ามันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกรดเลวูลินิค โดยนำมาปรับสภาพเบื้องต้นด้วยด่าง เพื่อดึงองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เซลลูโลสออก ซึ่งจะได้ของแข็งที่มีเซลูโลสเป็นองค์ประกอบหลัก ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า จะทำให้ปริมาณการใช้ฟอสซิลภายในประเทศลดลง ประเทศไทยมีขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่ผลิตได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งจะเป็นขั้วไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพดีและมีราคาถูกกว่าขั้วไฟฟ้าทั่วไปในท้องตลาด และสามารถสร้างมูลค่าให้กับเหง้ามันสำปะหลังได้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีรายได้มากขึ้น
  • thumb
    03 12 17
    11 มี.ค. 2565
    ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์
    งานวิจัยเรื่อง “ประเทศไทย, ประเทศปลอดไขมันทรานส์” ดำเนินการโดยสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าความเข้มข้นของกรดไขมันทรานส์ในอาหารต่าง ๆ สูงกว่าค่ามาตรฐาน WHO (> 0.5 กรัม / มื้อ) เพิ่มความเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • thumb
    07 02 12
    28 ต.ค. 2565
    โครงการ Research for Community วิจัยเพื่อชุมชนสังคม
    นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีถ่ายทอดไปสู่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และพึ่งพาตัวเองได้
  • thumb
    21 ต.ค. 2565
    โครงการฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี
    ฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ เพื่อผู้ป่วยและประชาชนคนไทย ได้ตระหนักและเรียนรู้ต้นทางของการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร
  • thumb
    02 12 17
    19 ต.ค. 2565
    โครงการตลาดนัดสีเขียว Green Market ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
    ตลาดนัดสีเขียวไม่ใช่แค่ตลาด แต่คือชุมชนที่มุ่งสู่ความยั่งยืน โดยมีการจำหน่วยสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สินค้าออร์แกนิคหลากลาย ผักอินทรีย์ และสินค้าจากเกษตรกรและเครือข่าย เปิดจำหน่วยสินค้าทุกวันศุกร์
  • thumb
    02 03 12
    10 ต.ค. 2565
    โรงอาหารมหาวิทยาลัยมหิดล
    มหาวิทยาลัยมีโรงอาหารให้บริการในหลายพื้นที่ เพื่อรองรับความต้องการของนักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไป ที่จำหน่ายอาหารที่มีความหลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    โครงการเทิดพระเกียรติเพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงเพื่อเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน
    การศึกษาและยกระดับการพัฒนาโครงการหลวงให้เป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  • thumb
    12 13 15
    7 ต.ค. 2565
    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)
    ถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    MU Green Rankings
    MU Green Rankings ประเมินสถานะการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    02 12
    20 ก.ย. 2565
    การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย
    ปัจจุบันเองผู้บริโภคในบ้านเราบางกลุ่มก็เริ่มมาให้ความสนใจกับไข่ไก่ที่ได้มาจากกระบวนการเลี้ยงแบบทางเลือกที่ยึดหลักการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ดีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไข่ไก่ที่ได้จากรูปแบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ซึ่งดูได้จากการที่ผู้เลี้ยงรายย่อยและบริษัทขนาดใหญ่ในวงการปศุสัตว์เริ่มทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยงมาผลิตไข่ไก่จากรูปแบบการเลี้ยงทางเลือกเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าไข่ไก่กลุ่มนี้น่าจะมีโอกาสเติบโตทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในอนาคต
จำนวนทั้งหมด 29 รายการ