Responsible Consumption And Production

สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายบริหารจัดการขยะ และสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับการรับรองฉลากมาตรฐานสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อลดของเสียที่เกิดจากปลายทางให้มากที่สุด จึงได้ดำเนินโครงการ Mahidol No Plastic ซึ่งช่วยลดปริมาณถุงพลาสติกในระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2563 ได้มากถึง 8,645,604 ใบ และปริมาณขวดพลาสติก 216,875 ขวดในปี พ.ศ. 2563 จากการใช้ตู้กดน้ำ เป็นการลดการใช้พลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดตั้งโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล และธนาคาร ทิ้ง ไซเคิล ที่สามารถเปลี่ยนขยะให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ เพื่อช่วยปรับแนวคิดและพฤติกรรมในการคัดแยกขยะให้แก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป ซึ่งส่งผลให้สภาพภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัยดีขึ้น ลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้ และการเพิ่มมูลค่าขยะด้วยโครงการ We Turn ที่ผลิตเสื้อโปโลจากขวดพลาสติก ที่ดำเนินการผลิตไปแล้ว 400 ตัวจากขวดพลาสติก 8,000 ขวด ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบที่ทำได้จริง และไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด ในภาคประชาคม ได้มีการดำเนินโครงการ Mahidol Eco Town ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนจากการนำโมเดลโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลไปขยายต่อและให้ความรู้เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้เยาวชน โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 33 โรงเรียน จากจำนวนเครือข่ายโรงเรียน แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้เป็นที่ยอมรับและเกิดการขยายเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีการผลิตปุ๋ยหมักจากเศษพืชด้วยระบบกองเติมอากาศที่ทดแทนการเผาทำลายที่ได้รับมาตราฐานเกษตรอินทรีย์ โดยผลิตไปแล้ว 323,910 กิโลกรัม รวมถึงการผลิตน้ำหมักชีวภาพที่ช่วยบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น ทำให้ลดต้นทุนการดูแลรักษาและสร้างรายได้จากการจำหน่ายได้ และยังใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ทางมหาวิทยาลัยตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเสมอจึงมีการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพที่ได้มาตรฐานตามกรมควบคุมมลพิษก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และมีการใช้น้ำรีไซเคิลแทนในปริมาณ 7,266 ลูกบาศก์เมตร ที่นำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น รดน้ำต้นไม้ ล้างรถบัส เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาได้สร้างระบบจัดการของเสียและการรีไซเคิลอย่างเป็นระบบและการผลิตอย่างยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    มาตรฐาน MU Organic
    เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์
  • thumb
    12
    24 ส.ค. 2566
    Towards a future of sustainable food consumption: practice-oriented scenarios evaluation and participatory back-casting approach for sustainable food purchasing, eating-out and cooking in Thailand
    Conventional policy approaches emphasize technical solutions and individual behavioral change, but practice-based policy approaches offer an alternative. This paper examines the operationalization of a practice-oriented futures policy development process. The process builds on practice theory to generate alternative sustainable future pathways and policy intervention ideas, and in doing so, extends the vocabulary for policy-focused futures work. We focus on three practices with implications for urban sustainability - food purchasing, eating out, and home cooking in Bangkok, Thailand.
  • thumb
    21 ต.ค. 2565
    โครงการฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี
    ฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ เพื่อผู้ป่วยและประชาชนคนไทย ได้ตระหนักและเรียนรู้ต้นทางของการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร
  • thumb
    12 08 11
    23 ส.ค. 2566
    โครงการการพัฒนารูปแบบการอภิบาลจัดการขยะสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs): กรณีศึกษาของ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
    การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของระบบทุนนิยมโลกมีการเจริญเติบโตไปอย่างรวดเร็ว เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยน นำเข้า ส่งออก และการผลิตของระบบอุตสาหกรรม ที่กระตุ้นให้เกิดการผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการดำรงชีวิต วัฒนธรรมการบริโภค ที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการนำเสนอความสะดวกและรวดเร็วเพื่อส่งมอบสินค้าและบริการต่าง ๆ มีการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกที่ยากแก่การย่อยสลาย และขาดการกำจัดที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลายเป็นขยะ (Waste) อันตราย อีกทั้งยังส่งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาลในระยะยาว โดยเฉพาะปัญหาการจัดการขยะ (Waste Management) ซึ่งขยะเองมีแนวโน้มทวีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในขณะที่การจัดการขยะยังขาดประสิทธิภาพและความเอาใจใส่ของมนุษย์ จากข้อมูลจากธนาคารโลก (World Bank) พบว่า ในปัจจุบันทั่วโลกมีการผลิตขยะรวมกันมากถึง 2.01 พันล้านตันต่อปี และในจำนวนนี้ ขยะร้อยละ 33 ยังขาดการจัดการที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงถึง 3.40 พันล้านตันภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งมากกว่า 2 เท่าของอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทั่วโลกในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
  • thumb
    03 12 17
    11 มี.ค. 2565
    ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์
    งานวิจัยเรื่อง “ประเทศไทย, ประเทศปลอดไขมันทรานส์” ดำเนินการโดยสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าความเข้มข้นของกรดไขมันทรานส์ในอาหารต่าง ๆ สูงกว่าค่ามาตรฐาน WHO (> 0.5 กรัม / มื้อ) เพิ่มความเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • thumb
    12 13 15
    7 ต.ค. 2565
    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)
    ถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
    ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต
  • thumb
    30 มิ.ย. 2565
    โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน
    ที่ผ่านมาผู้พิการทางการเห็นมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะค่อนข้างน้อย อันเนื่องมากจากถังขยะที่ใช้หลักการของสีเป็นตัวแบ่งแยกขยะ ซึ่งเป็นข้อจำกัดยิ่งสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องหรือพิการทางการเห็น จึงได้มีการจัดทำโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนเป็นผลผลิตหลัก ซึ่งได้มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรในชื่อ “ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียง” ตามหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร เลขที่ 17547 ออกให้ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2564 มีวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาในการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 2) เพื่อออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและพฤติกรรมหลังการใช้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะ โครงการนี้เกิดประโยชน์ของโครงการ ดังนี้ 1) ได้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนที่คนพิการทางการเห็นใช้งานได้จริง คัดแยกขยะได้จริงเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของคนพิการทางการเห็น 2) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 3) สร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้กับคนพิการทางการเห็น 4) กระตุ้นให้คนทั่วไปเกิดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะมากขึ้นเพื่อเห็นตัวอย่างจากการปฏิบัติของคนพิการทางการเห็นที่ยังสามารถคัดแยกขยะได้ 5) เปิดโอกาสให้คนพิการทางการเห็นได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาของสังคมเท่าเทียมกับคนทั่วไป 6) การเผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    โครงการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงเพื่อเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง
    การศึกษาและยกระดับการพัฒนาโครงการหลวงให้เป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  • thumb
    02 12 17
    19 ต.ค. 2565
    โครงการตลาดนัดสีเขียว Green Market ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
    ตลาดนัดสีเขียวไม่ใช่แค่ตลาด แต่คือชุมชนที่มุ่งสู่ความยั่งยืน โดยมีการจำหน่วยสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สินค้าออร์แกนิคหลากลาย ผักอินทรีย์ และสินค้าจากเกษตรกรและเครือข่าย เปิดจำหน่วยสินค้าทุกวันศุกร์
  • thumb
    29 ส.ค. 2565
    การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
    การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ โดยนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้แก่ประชาชนโดยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีระบบและยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนางานวิจัยและการรวบรวมองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น
  • thumb
    02 12
    20 ก.ย. 2565
    การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย
    ปัจจุบันเองผู้บริโภคในบ้านเราบางกลุ่มก็เริ่มมาให้ความสนใจกับไข่ไก่ที่ได้มาจากกระบวนการเลี้ยงแบบทางเลือกที่ยึดหลักการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ดีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไข่ไก่ที่ได้จากรูปแบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ซึ่งดูได้จากการที่ผู้เลี้ยงรายย่อยและบริษัทขนาดใหญ่ในวงการปศุสัตว์เริ่มทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยงมาผลิตไข่ไก่จากรูปแบบการเลี้ยงทางเลือกเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าไข่ไก่กลุ่มนี้น่าจะมีโอกาสเติบโตทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในอนาคต
จำนวนทั้งหมด 46 รายการ