โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน

detail

ที่ผ่านมาผู้พิการทางการเห็นมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะค่อนข้างน้อย อันเนื่องมากจากถังขยะที่ใช้หลักการของสีเป็นตัวแบ่งแยกขยะ ซึ่งเป็นข้อจำกัดยิ่งสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องหรือพิการทางการเห็น นวัตกรรม “ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียง” สร้างผลลัพธ์ในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงการมีส่วนร่วมกิจกรรมในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป และสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 10 ที่ต้องการลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ ที่เน้นแนวคิดการพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง อีกทั้งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (Industry, Innovation and Infrastructure) ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียงเป็นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างประโยชน์แก่สังคม สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) ที่ช่วยส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ถูกต้องโดดเด่นจากการจัดการขยะแบบปกติทั่วไป สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the Goals) ที่ร่วมมือในการผลักดัน/ขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ที่ผ่านมาผู้พิการทางการเห็นมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะค่อนข้างน้อย อันเนื่องมาจากถังขยะที่ใช้หลักการของสีเป็นตัวแบ่งแยกขยะ ซึ่งเป็นข้อจำกัดยิ่งสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องหรือพิการทางการเห็น คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดทำโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนเป็นผลผลิตหลัก ซึ่งได้มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรในชื่อ “ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียง” ตามหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร เลขที่ 17547 ออกให้ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2564 นวัตกรรม “ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียง” สร้างผลลัพธ์ในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงการมีส่วนร่วมกิจกรรมในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป และสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 10 ที่ต้องการลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ ที่เน้นแนวคิดการพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง อีกทั้งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (Industry, Innovation and Infrastructure) ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียงเป็นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างประโยชน์แก่สังคม สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) ที่ช่วยส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ถูกต้องโดดเด่นจากการจัดการขยะแบบปกติทั่วไป สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the Goals) ที่ร่วมมือในการผลักดัน/ขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

โครงการนี้เกิดประโยชน์ ดังนี้

  1. ได้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนที่คนพิการทางการเห็นใช้งานได้จริง คัดแยกขยะได้จริงเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของคนพิการทางการเห็น
  2. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น
  3. สร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้กับคนพิการทางการเห็นและกระตุ้นให้คนทั่วไปเกิดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะมากขึ้นเพื่อเห็นตัวอย่างจากการปฏิบัติของคนพิการทางการเห็นที่ยังสามารถคัดแยกขยะได้
  4. เปิดโอกาสให้คนพิการทางการเห็นได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาของสังคมเท่าเทียมกับคนทั่วไป
  5. การเผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
Partners/Stakeholders

กองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ

ผู้ดำเนินการหลัก
รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์
ส่วนงานหลัก
ส่วนงานร่วม