Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต

detail

กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation และช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ที่จะดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อฝึกทักษะการตรวจวิเคราะห์ดินโดยชุดทดสอบ N P K ผ่านประสบการณ์จริง (Experiential-based Learning) 
2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน
3. เพื่อสร้างการมีจิตอาสาผ่านกิจกรมสาธารณะ

บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน
เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต

วันที่ 12 พ.ค. 2566 เวลา 9.00 - 12.00 น.
ณ องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ 2 หน่วยงานท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ตำบลยางขาว จัดให้บริการตรวจดินแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลดินของตำบล และการต่อยอดสู่การใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัด ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการปุ๋ยเพื่อชุมชน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลยางขาว ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โดยกิจกรรมครั้งนี้มีนายธนากร จันหะมกสิต (นักวิชาการเกษตร) สังกัดศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ และ ผศ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร อาจารย์ประจำหลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ พร้อมด้วยนักศึกษาหลักสูตร SMART Farmer ชั้นปีที่ 4 ที่อาสาสมัครเข้าร่วมการฝึกตรวจดินภาคสนามและให้บริการกับชุมชนในครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมส่งตรวจอย่างดินเพื่อวิเคราะห์จำนวน 50 ราย 

นอกจากนี้ยังได้มีการฝึกทักษะ (Upskill) ให้กับน้องๆเกษตรกรรุ่นใหม่ในชุมชนได้เรียนรู้วิธีการเก็บตัวอย่างดิน, การวิเคราะห์ดิน และการให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยอีกด้วย 

Partners/Stakeholders

1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
2. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
3. องค์การบริกหารส่วนตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
4. หลักสูตรเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ

ผู้ดำเนินการหลัก
นายธนากร จันหมะกสิต
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
ผศ.ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร
ส่วนงานร่วม