Responsible Consumption And Production

สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายบริหารจัดการขยะ และสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับการรับรองฉลากมาตรฐานสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อลดของเสียที่เกิดจากปลายทางให้มากที่สุด จึงได้ดำเนินโครงการ Mahidol No Plastic ซึ่งช่วยลดปริมาณถุงพลาสติกในระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2563 ได้มากถึง 8,645,604 ใบ และปริมาณขวดพลาสติก 216,875 ขวดในปี พ.ศ. 2563 จากการใช้ตู้กดน้ำ เป็นการลดการใช้พลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดตั้งโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล และธนาคาร ทิ้ง ไซเคิล ที่สามารถเปลี่ยนขยะให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ เพื่อช่วยปรับแนวคิดและพฤติกรรมในการคัดแยกขยะให้แก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป ซึ่งส่งผลให้สภาพภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัยดีขึ้น ลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้ และการเพิ่มมูลค่าขยะด้วยโครงการ We Turn ที่ผลิตเสื้อโปโลจากขวดพลาสติก ที่ดำเนินการผลิตไปแล้ว 400 ตัวจากขวดพลาสติก 8,000 ขวด ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบที่ทำได้จริง และไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด ในภาคประชาคม ได้มีการดำเนินโครงการ Mahidol Eco Town ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนจากการนำโมเดลโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลไปขยายต่อและให้ความรู้เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้เยาวชน โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 33 โรงเรียน จากจำนวนเครือข่ายโรงเรียน แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้เป็นที่ยอมรับและเกิดการขยายเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีการผลิตปุ๋ยหมักจากเศษพืชด้วยระบบกองเติมอากาศที่ทดแทนการเผาทำลายที่ได้รับมาตราฐานเกษตรอินทรีย์ โดยผลิตไปแล้ว 323,910 กิโลกรัม รวมถึงการผลิตน้ำหมักชีวภาพที่ช่วยบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น ทำให้ลดต้นทุนการดูแลรักษาและสร้างรายได้จากการจำหน่ายได้ และยังใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ทางมหาวิทยาลัยตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเสมอจึงมีการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพที่ได้มาตรฐานตามกรมควบคุมมลพิษก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และมีการใช้น้ำรีไซเคิลแทนในปริมาณ 7,266 ลูกบาศก์เมตร ที่นำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น รดน้ำต้นไม้ ล้างรถบัส เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาได้สร้างระบบจัดการของเสียและการรีไซเคิลอย่างเป็นระบบและการผลิตอย่างยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    4 พ.ย. 2567
    Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต
    กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation และช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ที่จะดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573
  • thumb
    3 พ.ย. 2567
    SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
    หลักสูตร SMART Farmer มุ่งเน้นการเกษตรแบบผสมผสานและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค พร้อมส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่การผลิตจนถึงการขาย และเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • thumb
    12
    28 ต.ค. 2567
    Zero Waste Awareness Day กิจกรรมสร้างความตระหนักและกิจกรรมกระตุ้นการจัดการขยะที่ถูกต้องเพื่อสิ่งแวดล้อม
    กิจกรรมสร้างความตระหนักและกิจกรรมกระตุ้นการจัดการขยะที่ถูกต้องเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสื่อสาร ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจในการจัดการขยะอย่างถูกต้อง
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    MU Green Rankings
    MU Green Rankings ประเมินสถานะการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    30 ก.ย. 2567
    แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน
    การนำแนวคิด ความรู้ และหลักการทางนิเวศวิทยาในการบริหารจัดการเกษตรกรรมด้วยระบบวนเกษตร สู่แผนนโยบายขับเคลื่อนชี้นำสังคม เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
  • thumb
    14 ก.พ. 2567
    การพัฒนาต้นแบบการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
    1.ลดพฤติกรรมเสี่ยงลดโรคเรื้อรังโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน “การสร้างกลไกและเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนขับเคลื่อนแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย แก้ปัญหาด้วยแนวทางหลากหลาย 3อ.3ส. ติดตามประเมินและถอดบทเรียน มุ่งสู่การลดพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเรื้อรังอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน” 2. นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อบริการสุขภาพชุมชนด้วยการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย Health Literacy ของประชาชน “ปลูกสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้นวัตกรรมดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเข้าใจปัญหาสุขภาพด้วยแกนนำชุมชน รู้เร็วและรู้จริง นำไปสู่การจัดบริการส่งเสริมและป้องกันโรคได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบท”
  • thumb
    03 12
    30 มิ.ย. 2565
    ห้องปฏิบัติการประเมินความปลอดภัยทางอาหารและชีวภาพ (การตรวจวิเคราะห์สารตกค้างยาฆ่าแมลง ในผัก ผลไม้)
    คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เริ่มโครงการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ “ผักและผลไม้ที่ปลอดภัยเพื่อครัวโลก” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากสารตกค้างยาฆ่าแมลง หรือสารกำจัดศัตรูพืช ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในผักและผลไม้
  • thumb
    12 02 04
    21 เม.ย. 2567
    การปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน
    โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีพันธกิจด้านบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้แบบบูรณาการ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม-ฐานทรัพยากร การเกษตรความมั่นคงด้านอาหารที่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศอย่างยั่งยืน โดยพันธกิจดังกล่าวสอดคล้องกับการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเป้าหมายที่ 12 เพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างปลอดภัย
  • thumb
    03 11 12
    30 มิ.ย. 2565
    โครงการตรวจประเมินการปฏิบัติงานบริษัทรับกำจัดของเสียอันตราย
    มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอน งานวิจัยทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์เป็นหลัก จากนโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2557 ว่าด้วยการสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และมีระบบการจัดการของเสียที่มีประสิทธิภาพ ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการของเสียนตรายภายในมหาวิทยาลัย โดยดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการของเสียอันตราย 2 ประเภท คือ ของเสียสารเคมี และของเสียอันตรายทางชีวภาพ ทั้งนี้ทางศูนย์ฯ มีระบบบริหารจัดการตั้งแต่ การคัดแยกของเสีย การจัดเก็บ และการส่งกำจัด ซึ่งทางศูนย์ฯ เป็นหน่วยงานกลางในการติดต่อประสานงาน และดำเนินการจัดหาบริษัทรับกำจัดของสียอันตราย ที่ดำเนินกิจการภายใต้การควบคุมและดูแลจากหน่วยงานของรัฐ และได้รับการรับรองมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เข้ารับกำจัดของเสียอันตรายภายในส่วนงาน
  • thumb
    12 15 17
    7 ต.ค. 2565
    การจัดการด้านความปลอดภัยและของเสียอันตราย
    การจัดการด้านความปลอดภัยและของเสียอันตรายในเชิงนโยบายและการดำเนินงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    2 เม.ย. 2567
    การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine เพื่องานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine ในงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถประยุกต์เครื่องมือวิเคราะห์ที่มีให้ใน Google Earth Engine ช่วยให้การตัดสินใจในการทำงานเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • thumb
    12 06 11
    2 เม.ย. 2567
    นวัตกรรมต้นแบบถังดักไขมันเพื่อกำจัดไขมันจากการแปรรูปอาหารและอาหารเหลือทิ้ง
    การพัฒนาถังดักไขมันในรูปแบบใหม่ให้สามารถกำจัดไขมันได้ในตัว เพื่อลดการสะสมของน้ำมันในถังดักไขมัน ลดภาระการบำรุงรักษา อีกทั้งยังสามารถลดและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากน้ำทิ้งได้
จำนวนทั้งหมด 46 รายการ