การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย

detail

สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

สำนักงานมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอันเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และปรากฏการณ์โลกร้อน (Global Warming) ที่กำลังกลายเป็นวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ หน่วยงานภาครัฐจึงสนับสนุนและส่งเสริมของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยการนำเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียวมาใช้ในสำนักงาน เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน  ลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการลดการปล่อย Green House Gases (GHGs) ในทุกภาคส่วน และตลอดห่วงโซ่การผลิตและการบริโภค อันนำไปสู่การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์โครงการ

1. สร้างจิตสำนึกและความตระหนัก พร้อมทั้งนำความรู้เรื่องสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. ศึกษาและลดปริมาณการใช้พลังงาน และปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา

การดำเนินการ 

การดำเนินการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562-2563 โดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย

กิจกรรมที่ 1 : การสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก เป็นลงพื้นที่เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสำนักงานสู่สำนักงานสีเขียว ซึ่งมีวิธีการดำเนินงานดังนี้

            1. การอบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนัก และให้คำแนะนำการดำเนินงานตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว ทั้ง 6 หมวด แก่สำนักงานที่เข้าร่วมการศึกษาวิจัย จำนวน 31 แห่ง

            2. การตรวจประเมินสำนักงานที่เข้าร่วมการศึกษาวิจัยเบื้องต้น จำนวน 31 แห่ง โดยคณะผู้วิจัย เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การขอการรับรองสำนักงานสีเขียวต่อไป

กิจกรรมที่ 2 : การรวบรวมข้อมูลการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน

            ข้อมูลคณะผู้วิจัยใช้เป็นข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) ที่คณะผู้วิจัยรวบรวมจากแบบสอบถามการใช้ทรัพยากรและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่คณะผู้วิจัยจัดทำขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

            1. ร่างแบบสอบถาม นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง และปรับปรุงแบบสอบถามอีกครั้ง 

            2. ศึกษาและคำนวณปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละสำนักงาน  โดยใช้แบบสอบถามที่ได้จัดทำขึ้นรวบรวมข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับงานอาคาร การใช้น้ำมันสำหรับการเดินทาง การใช้สารดับเพลิง การปล่อยสารมีเทนจากระบบ septic tank  การปล่อยสารมีเทนจากบ่อบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ การใช้สารทำความเย็นชนิด R134a  ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ปริมาณการใช้กระดาษ A4 และ A3(สีขาว) ปริมาณการใช้น้ำประปา ขยะของเสียที่ฝังกลบ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในเดือนมกราคม 2562 จนถึงเดือนมิถุนายน 2563

ผลการดำเนินงาน

เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปริมาณการใช้ทรัพยากร เชื้อเพลิง ปริมาณอื่น ๆ และปริมาณก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2562 ถึง พฤษภาคม 2563 พบว่า ในปี 2563 มีค่าเฉลี่ยปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดลง 35.595 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อคนต่อเดือน (จำนวนคนในหน่วยงานทั้ง 32 แห่ง มีจำนวน 3,865 คน) ดังนั้นการดำเนินงานในการศึกษาครั้งนี้สามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ 137,574.67 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อเดือน หรือคิดเป็น 137.575 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อเดือน และสามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ต่อปี 1,650,896 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือคิดเป็น 1,650.896 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

การนำไปใช้ประโยชน์

สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสวนสาธารณะภายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร จำนวน 31 แห่ง นำเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียว (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ แบ่งออกเป็น

สถาบันการศึกษา จำนวน 11 แห่ง ได้แก่

1) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

3) สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4) สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

5) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

6) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

7) สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

8) คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

9) สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้

10) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้

11) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 แห่ง ได้แก่

1) เทศบาลนครรังสิต

2) เทศบาลนครปากเกร็ด

3) เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น

4) เทศบาลตำบลกรับใหญ่

5) เทศบาลตำบลกุฏโง้ง

สำนักงานสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร จำนวน 15 แห่ง ได้แก่

1) สวนลุมพินี

2) อุทยานเบญจสิริ

3) สวน 60 พรรษาฯ 

4) สวนพระนคร

5) สวนหนองจอก

6) สวนเสรีไทย

7) สวนรถไฟ

8) พิพิธภัณฑ์ผีเสื้อและแมลง

9) สวนหลวง ร.9    

10)สวนวนธรรม

11) สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์

12) สวนทวีวนารมย์

 

 

 

 

Partners/Stakeholders

กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

สำนักงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา

ผู้ดำเนินการหลัก
รศ.ดร.สยาม อรุณศรีมรกต
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
ดร.กิตติพงษ์ เกิดฤทธิ์