ค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่การสร้างแรงบันดาลใจด้าน SDGs (Green Youth Camp Inspires for SDGs)

detail

การส่งเสริมตระหนักเห็นความสำคัญ คุณค่า การใช้ประโยชน์ทรัพยากรรธรรมชาติอย่างเหมาะสม คุ้มค่า และสร้างยั่งยืนทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมตามเป้าหมาย SDGs 

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

           ปัจจุบันการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยเกินขีดจำกัดจนเกิดปัญหาทรัพยากรมีไม่เพียงพอต่อความต้องการและส่งผลต่อระบบนิเวศก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะโลกร้อน สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศและการขาดแคลนทรัพยากร เป็นต้น ซึ่งส่งผลนัยสำคัญต่อเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เกิดผลผลิตการเกษตรที่ไม่เป็นตามคาด ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ขาดแคลนทรัพยากร นอกจากนี้ยังส่งผลวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สุขภาพร่างกาย ค่าใช้จ่ายการบริโภคสูงขึ้น ความผันผวนทางเศรษฐกิจ

            จากเหตุผลที่กล่าวมาศูนย์วิจัยและบริการศูนย์วิจัยและบริการวิชาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดลำปาง ภายใต้คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีวิสัยทัศน์ผู้นำทางวิชาการและงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมความยั่งยืนในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลก มีพันธกิจสร้างความเป็นเลิศด้านการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ข้อที่ 2 การศึกษาที่ยั่งยืน ผลักดันการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยุทธศาสตร์ข้อที่ 3 การให้บริการฝึกอบรมแบบมืออาชีพ เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรบที่ตอบโจทย์และสนับสนุนการดำเนินการด้านพันธกิจสัมพันธ์สังคม จึงมีแนวคิดการจัดการโครงการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่มาของสาเหตุ รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ปริมาณทรัพยากรที่ลดลง บนหลักการพื้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ตอบสนองขั้นพื้นฐานการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมเห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

            คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย จังหวัดเชียงราย ณ ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความสนใจ และตระหนักถึงสภาวะสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน วิเคราะห์หาเหตุผลในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เรียนรู้การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น ระบบวนเกษตร ผลิตภัณฑ์แปรรูป และการพัฒนาที่ยั่งยืนชุมชน (SDGs) เป็นต้น เพื่อได้ประสบการณ์และการเข้าถึงสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกทักษะการปฏิบัติจากผู้มีความรู้ ผู้เชี่ยวชาญจากคณะอาจารย์และตัวแทนผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เพิ่มความรู้ความเข้าใจความหลากหลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจท้องถิ่นมา

           วัตถุประสงค์

            1. เพื่อเรียนรู้ที่มาและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงคุณค่าสิ่งแวดล้อม

            2. เพื่อเรียนรู้นำพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมาประยุกต์ วิเคราะห์แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบเพื่อบริหารจัดการพลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

            3. สร้างจิตสำนึกและเห็นคุณค่าของการวิจัยและพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่เกิดความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

           ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

            1. โครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของส่วนงานและสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นโครงการฝึกอบรมอื่นๆ เป็นงานบริการวิชาการหลักของศูนย์ในอนาคต      

            2. โครงการสามารถพัฒนาเป็นกลุ่มเครือข่ายสิ่งแวดล้อมในแต่ละจังหวัดพื้นที่ภาคเหนือ และขยายผลต่อเนื่องเป็นโครงการต้นแบบร่วมกับหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชนของตนเอง ตลอดจนพัฒนาขยายผลโครงการไปในระดับท้องถิ่นและจังหวัดต่อไป

            จำนวนผู้ลงทะเบียน

            นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวนทั้งสิ้น 80 คน

            ระยะเวลาการดำเนินงาน

            จำนวนทั้งสิ้น 3 วัน คือ วันที่  8 – 10 กุมภาพันธ์ 2567 

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

การส่งเสริมให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มทักษะความรู้ด้าน SDGs ผ่านตัวอย่างและกิจกรรมการประยุกต์ใช้จริงในชีวิตประจำวัน เพื่อให้สามารถเข้าได้ง่าย นำไปปรับใช้ในดรงเรียน ครอบครัว ชุมชนในอนาคตได้

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

1. ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญแนวคิดพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

2. ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ไปส่งต่อเผยแพร่ให้คนรอบข้างเห็นความสำคัญของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแบบยั่งยืนตามหลัก SDGs

3. สามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมตามหลัก SDGs ไปปรับใช้ในรูปแบบกิจกรรม หรือโครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนตามกำลังความสามารถของตนเองได้อย่างเหมาะสม

Partners/Stakeholders

1) โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย

2) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการหลัก
1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธรรมรัตน์ พุทธไทย
ส่วนงานหลัก