Climate Action

ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

มหาวิทยาลัยมหิดลตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงกำหนดนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อให้ความสำคัญต่อกิจกรรมที่เกิดมลพิษน้อยที่สุด ด้วยโครงการ 9 to Zero โดยริเริ่มจากการเพิ่มพลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ Solar Rooftop ที่ผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ก่อเกิดมลพิษ รวมไปถึงการใช้รถรางไฟฟ้า และจักรยานภายในมหาวิทยาลัย การใช้พลังงานชีวภาพจากน้ำมันพืชใช้แล้ว มีการวางแผนเพิ่มสถานีชาร์จแบตรถ EV ในอนาคต เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อการจัดการด้านฝุ่นละออง ด้วยการสร้างนวัตกรรม PM 2.5 Footprint Calculator คำนวณผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมโลก ส่งผลให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละออง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำให้เกิดฝุ่นละลองน้อยที่สุด อีกทั้งยังมีโปรแกรม MU Carbon Footprint ที่เป็นระบบจัดเก็บฐานข้อมูลปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้ประเมินและกำหนดแนวทางในการจัดการก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยในปี พ.ศ. 2563 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 5,851.44 ตัน ในวิทยาเขตศาลายา โดยมีส่วนงานต่าง ๆ ได้นำไปปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลคาร์บอนต่ำของคณะทันตแพทยศาสตร์ที่ได้นำมาข้อมูลจาก Carbon Footprint มาบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงเพราะว่ามีการนำพลังงานทดแทนเข้ามาใช้แทนและยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ทั้งยังไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยดำเนินการผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ได้แก่ โครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และในปี พ.ศ. 2565 โครงการรวมพลคนวัดต้นไม้เพื่อเก็บข้อมูลการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีต้นไม้ในพื้นที่วิทยาเขตศาลายารวม 13,640 ต้น ที่สามารถดูดกลับคาร์บอนได้มากถึง 6,523.20 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียว จากโครงการพื้นที่สีเขียวแนวตั้ง พบว่าเพิ่มขึ้น 5.92 เปอร์เซ็นต์ต่อพื้นที่สีเขียวทั้งหมดในมหาวิทยาลัย และ พื้นที่ MU Eco Park ที่เพิ่มการปลูกต้นไม้เพื่อลดความร้อนในพื้นที่ ช่วยเพิ่มความสวยงาม และส่งผลให้เกิดอัตราการดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงมากขึ้น ในส่วนของโครงการ Eco Town ซึ่งเป็นความร่วมมือกับทางพีทีทีในการขยายความรู้เรื่องการจัดการขยะรีไซเคิลทดแทนการเผาทำลายยังเป็นเหตุของการเกิดมลพิษทางอากาศ จากโครงการและกิจกรรม ที่ดำเนินการมาทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงการวางแผนและเตรียมพร้อม เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    13
    20 ต.ค. 2565
    ความผันแปรของลมมรสุมฤดูร้อนในทวีปเอเชียสมัยโฮโลซีน : การศึกษาเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกในหินงอกและวงปีไม้จากประเทศไทยและจีน
    วงปีไม้สักและหินงอก สามารถเทียบเคียงประกอบการสร้างเส้นภูมิอากาศในอดีตย้อนหลังได้ถึง 3 ศตวรรษ รวมถึงแสดงถึงความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในพื้นที่ห่างไกล เช่น ปรากฏการณ์เอนโซ่ได้
  • thumb
    13 02
    1 ก.ย. 2565
    โครงการพลิกฟื้นวิถีสังคมและระบบนิเวศสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก Climate change Resilience of Indigenous SocioEcological systems (RISE)
    ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ประกาศโดยสหประชาชาติให้ความสำคัญกับสิทธิในการอยู่อาศัยในแผ่นดิน เขตแดน และใช้ประโยชน์ทรัพยากรซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์นั้นได้อยู่กินมาตั้งแต่บรรพกาลได้ครอบครอง ได้อาศัย ใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีต ในบริบทนี้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิกินอยู่ มีสิทธิหาอาหาร และดำเนินวิถีชีวิตตามประเพณีต่อเนื่อง ทำให้การดูแลระบบอาหารดั้งเดิมตามประเพณีอย่างยั่งยืนนั้น เป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนซึ่งที่ประชุมสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญ โดยกำหนดเป็นวาระสำคัญอย่างถาวร (United Nations Permanent Forum of Indigenous Peoples’ Issues: UNPFII) เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเป็นทางการ
  • thumb
    13 พ.ค. 2566
    การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างอาการโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้และมลพิษในอากาศ ในชุมชนบางกอกน้อย ในโครงการสร้างรูปแบบชุมชนสุขภาพดี
    การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับมลพิษในอากาศและโรคภูมิแพ้ให้แก่ประชากรในชุมชนบางกอกน้อย และพัฒนาระบบการแจ้งเตือน AQI พร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม และศึกษาความสัมพันธ์ของอาการโรคจมูกอักเสบกับระดับ AQI และ ฝุ่นละอองเล็ก PM 2.5
  • thumb
    12 13 15
    7 ต.ค. 2565
    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)
    ถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
  • thumb
    30 มิ.ย. 2565
    โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน
    ที่ผ่านมาผู้พิการทางการเห็นมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะค่อนข้างน้อย อันเนื่องมากจากถังขยะที่ใช้หลักการของสีเป็นตัวแบ่งแยกขยะ ซึ่งเป็นข้อจำกัดยิ่งสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องหรือพิการทางการเห็น จึงได้มีการจัดทำโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนเป็นผลผลิตหลัก ซึ่งได้มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรในชื่อ “ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียง” ตามหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร เลขที่ 17547 ออกให้ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2564 มีวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาในการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 2) เพื่อออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและพฤติกรรมหลังการใช้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะ โครงการนี้เกิดประโยชน์ของโครงการ ดังนี้ 1) ได้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนที่คนพิการทางการเห็นใช้งานได้จริง คัดแยกขยะได้จริงเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของคนพิการทางการเห็น 2) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 3) สร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้กับคนพิการทางการเห็น 4) กระตุ้นให้คนทั่วไปเกิดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะมากขึ้นเพื่อเห็นตัวอย่างจากการปฏิบัติของคนพิการทางการเห็นที่ยังสามารถคัดแยกขยะได้ 5) เปิดโอกาสให้คนพิการทางการเห็นได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาของสังคมเท่าเทียมกับคนทั่วไป 6) การเผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    โครงการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงเพื่อเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง
    การศึกษาและยกระดับการพัฒนาโครงการหลวงให้เป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  • thumb
    21 ต.ค. 2565
    ผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พ.ศ. 2551
    แนวคิดหลักมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University)
  • thumb
    13
    24 ม.ค. 2566
    PM2.5 FOOTPRINT
    Fine particulate matter (PM2.5 or fine particulate matter with a diameter up to 2.5 microns) is one of the most important causes of premature deaths. The World Health Organization (WHO) estimated that outdoor air pollution caused 4.2 million premature deaths globally in 2016 due to PM2.5 exposure. The PM2.5 exposure could lead to cardiovascular and respiratory disease, and cancers (WHO, 2021). In Thailand, overall PM2.5 concentrations have been reduced continuously. Nonetheless, the annual average PM2.5 concentrations in Thailand have still exceeded the World Health Organization standards throughout the past 10 years. Transport sector is one of the major sources of PM2.5 emissions. Understanding the potential health impacts and costs of PM2.5 formation from different modes of transport will help raising the awareness of the public due to the realisation on the PM2.5 footprint of their actions. PM2.5 footprint is considered as the health impacts from PM2.5 formation throughout life cycle of products and organisations. PM2.5 footprint is quantified by multiplying emissions with characterisation factors. Afterwards, the health costs could be obtained by economic evaluation of the health impacts. The PM2.5 Footprint Calculator v1.01 was developed as a tool for enhancing environmentally sustainable passenger transport in Thailand. The PM2.5 Footprint Calculator v1.01 can determine primary and secondary PM2.5 emissions (PM2.5, NOx, NH3, and SO2) and assess health impacts and costs of passenger transport by road, water and rail in Thailand. The calculator consists of primary and secondary PM2.5 emission inventory (for passenger transport), city-specific characterisation factors, and health cost conversion factor. The details of emission inventory, impact characterisation and economic valuation can be seen the background report of PM2.5 Footprint Calculator v1.01 (Prapaspongsa et al., 2021). Features of the current version and future updates of the PM2.5 footprint calculator are also documented in the report. The PM2.5 Footprint Calculator v1.01 is provided in two versions including Web-Based PM2.5 Footprint Calculator and PM2.5 Footprint Calculator (Microsoft Excel Program). Users can directly apply the Web-Based PM2.5 Footprint Calculator via this PM2.5 footprint website or download the PM2.5 Footprint Calculator (Microsoft Excel Program) from this website for own calculations. The Web-Based PM2.5 Footprint Calculator computes the health impacts and costs from "well-to-wheel" including emissions from upstream fuel and electricity production; and exhaust emissions from fuel combustion. The PM2.5 Footprint Calculator (Microsoft Excel Program) can assess health impacts and costs both from "well-to-wheel" and "tank-to-wheel”. In the tank-to-wheel scope, the exhaust emissions from fuel combustion (indicated as "vehicle use" in this excel) are considered.
  • thumb
    10 พ.ย. 2565
    นักวิจัยผุดไอเดีย นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ผลิตขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดร่วมกับกรดเลวูลินิค
    ฟอสซิลถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และการผลิตข้าวของเครื่องใช้มากมาย อย่างไรก็ตาม การใช้ฟอสซิลยังมีข้อจำกัดต่าง ๆ มากมาย อาทิ การเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป และผลกระทบที่เกิดจากการเผาไหม้ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ซึ่งคงค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศของโลก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวัฒน์ นาคะสรรค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้วิจัย จึงมีความสนใจในการทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการลดการใช้ฟอสซิล โครงการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจึงนำเหง้ามันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกรดเลวูลินิค โดยนำมาปรับสภาพเบื้องต้นด้วยด่าง เพื่อดึงองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เซลลูโลสออก ซึ่งจะได้ของแข็งที่มีเซลูโลสเป็นองค์ประกอบหลัก ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า จะทำให้ปริมาณการใช้ฟอสซิลภายในประเทศลดลง ประเทศไทยมีขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่ผลิตได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งจะเป็นขั้วไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพดีและมีราคาถูกกว่าขั้วไฟฟ้าทั่วไปในท้องตลาด และสามารถสร้างมูลค่าให้กับเหง้ามันสำปะหลังได้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีรายได้มากขึ้น
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    การประเมินผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพในประเทศไทย (TAPHIA)
    การดำเนินงานของโครงการวิจัย (TAPHIA) จะเริ่มดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศ ข้อมูลประชากร รวมไปถึงสถิติการการเจ็บป่วยและการตาย นอกจากนี้เราจะเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ ๆ
  • thumb
    15 13
    7 ต.ค. 2565
    นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
    โครงการศึกษานิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบประชากร การกระจาย และความต้องการทางนิเวศวิทยาของช้างป่า เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ และการลดผลกระทบระหว่างช้างป่าและชาวบ้านในการอยู่ร่วมกันโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น และสังเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารและพัฒนาสื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น โดยทำการสำรวจโดยตรงและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ ช่วงเวลา และสถานที่ทำกิจกรรมของช้างป่า ตลอดจนผลกระทบในพื้นที่ร่วมกับการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมกับแนวเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว พบว่าช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ช้างป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าชั้นกลาง (75%) พบพฤติกรรมการหากินมากที่สุดเวลา 15.01-19.00 น. พบธาตุแคลเซียมในกองมูลมากที่สุด (62.81%) พืชอาหาร พบธาตุเหล็ก (Fe) มากที่สุด (88.54%) ส่วน ขป ภูเขียว มีการกระจายใกล้เคียงกันทั้งในพื้นที่ป่าชั้นใน (34%) ป่าชั้นกลาง (30.8%) และป่าชั้นนอก (28.6%) พบการทำกิจกรรมมากที่สุดระหว่าง 22.01-24.00 น. พืชอาหารพบธาตุไนโตรเจน (N) มากที่สุด (56.16%) จากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุแบบโลจิสติกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จำนวน 66 ตัวอย่าง มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 169.58 ตร.กม. (18.62%) เป็นพื้นที่ราบด้านบนเทือกเขา พื้นที่เหมาะสมมาก 425.26 ตร.กม. (46.69%) พื้นที่ที่เหมาะสมปานกลาง 279.57 ตร.กม. (30.69%) ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 168.24 ตร.กม. (6.5%) พื้นที่เหมาะสมมาก 983.62 ตร.กม. (37.99%) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 704.77 ตร.กม. (27.22%)
  • thumb
    5 ก.ย. 2565
    การศึกษาการใช้ประโยชน์จากใบสับปะรดเหลือทิ้ง มุ่งสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
    งานวิจัยนี้สร้างมูลค่าเพิ่มจากของเหลือทิ้งทางการเกษตรคือ ใบสับปะรดที่ผ่านการดัดแปรเพื่อเสริมแรงพลาสติกและยางให้มีความแข็งแรง ทนอุณหภูมิ และลดการใช้งานวัสดุจากปิโตรเลียม และใช้เป็นวัสดุรองรับดูดซับโลหะหนักในน้ำเสีย หรือตัวเร่งปฏิกิริยาในการกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำ ให้ง่ายต่อการแยก หรือนำกลับมาใช้ใหม่ โดยบางส่วนได้มีการขยายผลเชิงพาณิชย์ผ่านบริษัทสตาร์ทอัพแล้ว
จำนวนทั้งหมด 49 รายการ