โครงการพลิกฟื้นวิถีสังคมและระบบนิเวศสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก Climate change Resilience of Indigenous SocioEcological systems (RISE)

detail

โครงการพลิกฟื้นวิถีสังคมและระบบนิเวศสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก Climate change Resilience of Indigenous SocioEcological systems (RISE)

ที่มาและความสำคัญ

ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ประกาศโดยสหประชาชาติให้ความสำคัญกับสิทธิในการอยู่อาศัยในแผ่นดิน เขตแดน และใช้ประโยชน์ทรัพยากรซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์นั้นได้อยู่กินมาตั้งแต่บรรพกาลได้ครอบครอง ได้อาศัย ใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีต ในบริบทนี้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิกินอยู่ มีสิทธิหาอาหาร และดำเนินวิถีชีวิตตามประเพณีต่อเนื่อง ทำให้การดูแลระบบอาหารดั้งเดิมตามประเพณีอย่างยั่งยืนนั้น เป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนซึ่งที่ประชุมสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญ โดยกำหนดเป็นวาระสำคัญอย่างถาวร (United Nations Permanent Forum of Indigenous Peoples’ Issues: UNPFII) เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามแม้จะมีปฏิญญาสำคัญรองรับ แต่กลุ่มชาติพันธุ์เป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางสูงอันเกิดจากความแปรปรวนของภูมิอากาศ วิกฤติสิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่นๆ โครงการวิจัย Climate change Resilience of Indigenous Socio Ecological Systems (RISE) ซึ่งดำเนินการวิจัยร่วมกันระหว่าง 3 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศญี่ปุ่น ประเทศรัสเซีย และประเทศไทย เพื่อเชื่อมต่อช่องโหว่การพัฒนา โดยใช้โครงการที่เป็นนวัตกรรมสหวิทยาการสำหรับประเมินและสร้างความเข้าใจต่อความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ส่งผลต่อระบบนิเวศสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ (indigenous socioecological systems) ด้วยการดำเนินงานหลายส่วน ประกอบด้วย

  1. การวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจและสังคมของระบบนิเวศสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์
  2. การประเมินภาวะโภชนาการ และการวิเคราะห์อาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านมุมมองระบบนิเวศสังคม
  3. การคาดการณ์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตต่อระบบอาหารดั้งเดิม
  4. การประเมินความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์
  5. การถ่ายทอดผลการศึกษาวิจัยข้ามศาสตร์ และการนำผลการศึกษาวิจัยไปขยายผลในสังคม

โครงการพลิกฟื้นวิถีสังคมและระบบนิเวศสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ฯ ข้างต้นเป็นงานวิจัยที่ดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน ใช้วิธีศึกษาทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยกรอบแนวคิดทางสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ (กะเหรี่ยง) ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งดำเนินในช่วง พ.ศ.2564 - พ.ศ. 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ 560 คน ประกอบด้วยคนในชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น นักวิจัย นักวิชาการ (ในประเทศและต่างประเทศ)

 

วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน

  1. เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคมของระบบนิเวศสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง
  2. เพื่อประเมินภาวะโภชนาการและวิเคราะห์องค์ประกอบอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงผ่านมุมมองระบบนิเวศสังคม
  3. เพื่อคาดการณ์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในอนาคตต่อระบบอาหารดั้งเดิม
  4. เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง รวมถึงสำรวจข้อจำกัดและความสามารถในการปรับตัวของชุมชน
     

ความร่วมมือของโครงการ

    หน่วยงานท้องถิ่น:

  • องค์การบริหารส่วนตำบล
  • โรงพยาบาลสังขละบุรี
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

    ​หน่วยงานภายในประเทศ:

  • สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืช
  • สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี

    หน่วยงานระหว่างประเทศ:

  • Hokkido University, Japan
  • North-Eastern Federal University, Russia

 

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากโครงการ

  1. กระบวนการศึกษาวิจัยแบบข้ามศาสตร์เพื่อค้นหาความเชื่อมโยงของระบบเศรษฐกิจสังคม ภาวะโภชนาการในพื้นที่ด้วยแนวคิดเชิงนิเวศ เพื่อเข้าใจลักษณะจำเพาะของระบบนิเวศสังคม กลุ่มชาติพันธุ์ผ่านระบบอาหารดั้งเดิม (Traditional food systems)
  2. ข้อมูลภาวะโภชนาการและคุณค่าของอาหารดั้งเดิมจากมุมมองของกลุ่มชาติพันธุ์และองค์ความรู้ทางโภชนาการ
  3. ข้อมูลการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงระบบอาหารดั้งเดิมด้วยภาพอนาคต (contrasting scenarios) ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
  4. ข้อมูลการคาดการณ์ความเสี่ยงของความยั่งยืนของระบบนิเวศสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ (indigenous socioecological systems) รวมถึงสำรวจข้อจำกัดและความสามารถในการปรับตัวเพื่อแถลงต่อหน่วยงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติสู่ความยั่งยืน

 

Partners/Stakeholders
  • ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ (กะเหรี่ยง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบล
  • กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • กลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืช
  • สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Hokkido University, Japan
  • North-Eastern Federal University, Russia
  • สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
ผู้ดำเนินการหลัก
รองศาสตราจารย์ ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
ส่วนงานร่วม