ผลการสำรวจโครงการบางกอกน้อยโมเดลระยะที่ 1 พบว่า โรคภูมิแพ้ ติดอันดับ 1 ใน 3 ของประชากรในชุมชนในทุกช่วง อายุ โดย 34% เป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ซึ่งสอดคล้องกับอุบัติการณ์โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้โรคหืดที่สูงขึ้นทั่วโลก สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ได้แก่ การมีมลพิษในอากาศมากขึ้น และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป
มีการศึกษาอาการโรคจมูกอักเสบในห้องทดลองระหว่าง กลุ่มที่ได้รับการสูดดมสารก่อภูมิแพ้ร่วมกับควันมลพิษ และ กลุ่มที่ได้สารก่อภูมิแพ้อย่างเดียว พบว่ากลุ่มแรกมีอาการเยอะกว่าอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ของอาการโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้กับระดับมลพิษในอากาศในกลุ่มประชากรในสังคมจริง
ปัจจุบันมีการสื่อสารเพื่อให้ประชาชนเข้าใจคุณภาพอากาศ โดยใช้ air quality index (AQI) แต่จากหลักฐานทางวิชาการพบว่าประชาชนไม่เข้าใจความหมายของ AQI ไม่มีเวลาดู จึงไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำที่เหมาะสมได้
โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นประชากรในชุมชนบางกอกน้อยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และ/หรือโรคหืด 100 ราย ซึ่งประชากรที่เข้าร่วมการคัดกรองอาการทั้งหมด เนื่องจากถึงแม้คัดกรองไม่ผ่าน คือ ไม่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ก็สามารถได้รับความรู้และการแจ้งเตือนในไลน์แอดได้ (มีผู้เข้าร่วมไลน์แอด 260-299 ราย แล้วแต่ช่วง)
โครงการเริ่มดำเนินการเผยแพร่ความรู้และแจ้งเตือนตั้งแต่ 15 พ.ย. พ.ศ. 2565 – 31 มี.ค. 2566
- สื่อให้ความรู้เรื่องมลพิษในอากาศและโรคภูมิแพ้
- การแจ้งเตือนระดับ AQI, PM 2.5, และวิธีปฏิบัติตัวที่เหมาะสม
โครงการดังกล่าวดำเนินการในชุมชนบางกอกน้อย ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของรพ.ศิริราช โดยมีกิจกรรมที่ทำให้สุขภาพและความเป็นอยู่ดีขึ้น ดังนี้
1. กระบวนการคัดกรองผู้เข้าร่วมโครงการ ทำให้คนในชุมชนทราบว่าอาการโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้เป็นอย่างไร ผู้ที่มีอาการผ่านเกณฑ์คัดกรอง จะได้รับการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังเพื่อวินิจฉัยโรค เมื่อทราบการวินิจฉัยที่ถูกต้องแล้วจะทำให้สามารถให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม และทำให้ผู้ป่วยมีอาการและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ดำเนินการแจ้งเตือนแก่คนในชุมชนผ่านช่องทางที่สะดวกและเข้าถึงง่าย ได้แก่ ไลน์แอด (line official) เมื่อคนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการแจ้งเตือนคุณภาพอากาศ รวมทั้งคำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างทันท่วงที ก็จะสามารถจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากชนิดป้องกัน PM 2.5 หรือลดระยะเวลาการอยู่นอกบ้าน/อาคารได้มาตรการเหล่านี้สามารถลดผลกระทบของมลพิษต่อสุขภาพได้
3. หนึ่งในกลุ่มประชากรหลักของโครงการ คือ คุณครูในโรงเรียนทุกระดับชั้นในชุมชนบางกอกน้อย เนื่องจากทางโครงการเล็งเห็นว่าคุณครูเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสอน การปลูกฝังความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับมลพิษในอากาศและโรคภูมิแพ้ให้แก่เด็กนักเรียน ผู้ปกครองซึ่งเป็นคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังอาจสามารถกำหนดนโยบายของโรงเรียนในช่วงที่คุณภาพอากาศไม่ดีได้
4. โครงการได้จัดทำความรู้เกี่ยวกับมลพิษในอากาศ การเลือกหน้ากาก การเลือกเครื่องกรองอากาศ โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องส่งให้ผู้ที่เข้าร่วมผ่านทางไลน์แอด ซึ่งคาดว่าน่าจะมีคุณครูจากโรงเรียนในชุมชนบางกอกน้อยเข้าร่วมประมาณ 40%
5. จัดทำสื่อให้ความรู้เรื่องมลพิษในอากาศ ผลกระทบของมลพิษ ฝุ่นละอองเล็ก PM 2.5 ในอากาศ ต่อสุขภาพเผยแพร่กับคนในชุมชนผ่านทางไลน์แอด
6. จัดทำสื่อให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติที่เหมาะสมกับคุณภาพอากาศในแต่ละวัน โดยให้คำแนะนำทุกวันตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 2565 – 31 มี.ค. 2566 ซึ่งสื่อนี้สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
7. จัดทำสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 ในระดับบุคคลเผยแพร่ผ่านทางไลน์แอด เช่น การเลือกหน้ากาก การเลือกเครื่องกรองอากาศ เป็นต้น ซึ่งสื่อนี้สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
8. ได้รับความร่วมมือกับ สสส. สนับสนุนให้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อแจ้งเตือนระดับคุณภาพอากาศ ฝุ่นละอองเล็ก PM 2.5 และคำแนะนำที่เหมาะสมให้แก่คนในชุมชน
9. ได้รับความร่วมมือกับ สสส. ชุมชนวัดสุวรรณาราม โรงเรียนในชุมชนบางกอกน้อย รวมถึงอีกหลายหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนจัดทำโครงการ ประชาสัมพันธ์ คัดกรอง ดำเนินโครงการ ได้แก่ การแจ้งเตือนและให้ความรู้แก่คนในชุมชนชน โดยเมื่อจบโครงการนี้แล้ว สามารถนำต้นแบบการดำเนินการนี้ไปใช้เป็นต้นแบบหรือนโยบายในการจัดระบบแจ้งเตือนคุณภาพอากาศในบริบท/หน่วยงานอื่นๆ ได้