Climate Action

ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

มหาวิทยาลัยมหิดลตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงกำหนดนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อให้ความสำคัญต่อกิจกรรมที่เกิดมลพิษน้อยที่สุด ด้วยโครงการ 9 to Zero โดยริเริ่มจากการเพิ่มพลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ Solar Rooftop ที่ผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ก่อเกิดมลพิษ รวมไปถึงการใช้รถรางไฟฟ้า และจักรยานภายในมหาวิทยาลัย การใช้พลังงานชีวภาพจากน้ำมันพืชใช้แล้ว มีการวางแผนเพิ่มสถานีชาร์จแบตรถ EV ในอนาคต เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อการจัดการด้านฝุ่นละออง ด้วยการสร้างนวัตกรรม PM 2.5 Footprint Calculator คำนวณผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมโลก ส่งผลให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละออง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำให้เกิดฝุ่นละลองน้อยที่สุด อีกทั้งยังมีโปรแกรม MU Carbon Footprint ที่เป็นระบบจัดเก็บฐานข้อมูลปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้ประเมินและกำหนดแนวทางในการจัดการก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยในปี พ.ศ. 2563 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 5,851.44 ตัน ในวิทยาเขตศาลายา โดยมีส่วนงานต่าง ๆ ได้นำไปปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลคาร์บอนต่ำของคณะทันตแพทยศาสตร์ที่ได้นำมาข้อมูลจาก Carbon Footprint มาบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงเพราะว่ามีการนำพลังงานทดแทนเข้ามาใช้แทนและยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ทั้งยังไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยดำเนินการผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ได้แก่ โครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และในปี พ.ศ. 2565 โครงการรวมพลคนวัดต้นไม้เพื่อเก็บข้อมูลการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีต้นไม้ในพื้นที่วิทยาเขตศาลายารวม 13,640 ต้น ที่สามารถดูดกลับคาร์บอนได้มากถึง 6,523.20 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียว จากโครงการพื้นที่สีเขียวแนวตั้ง พบว่าเพิ่มขึ้น 5.92 เปอร์เซ็นต์ต่อพื้นที่สีเขียวทั้งหมดในมหาวิทยาลัย และ พื้นที่ MU Eco Park ที่เพิ่มการปลูกต้นไม้เพื่อลดความร้อนในพื้นที่ ช่วยเพิ่มความสวยงาม และส่งผลให้เกิดอัตราการดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงมากขึ้น ในส่วนของโครงการ Eco Town ซึ่งเป็นความร่วมมือกับทางพีทีทีในการขยายความรู้เรื่องการจัดการขยะรีไซเคิลทดแทนการเผาทำลายยังเป็นเหตุของการเกิดมลพิษทางอากาศ จากโครงการและกิจกรรม ที่ดำเนินการมาทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงการวางแผนและเตรียมพร้อม เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    21 ต.ค. 2565
    ผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พ.ศ. 2551
    แนวคิดหลักมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University)
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    โครงการเทิดพระเกียรติเพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงเพื่อเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน
    การศึกษาและยกระดับการพัฒนาโครงการหลวงให้เป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  • thumb
    12 13 15
    7 ต.ค. 2565
    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)
    ถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    การประเมินผลกระทบจากภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง (Drought impact assessment on agricultural security in Mae Chang watershed Lampang province)
    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินและคาดการณ์ผลกระทบจากภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งประเมินความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับการปลูกพืชทางเลือก เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์พื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จางอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
  • thumb
    13 07 14
    7 ต.ค. 2565
    เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
    การถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ให้กับ อพท. และชุมชนชายฝั่งเกาะหมาก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือจัดการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ปะการัง เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของเรือยนต์ โดยปราศจากการปลดปล่อยคาร์บอน การปนเปื้อนเขม่าจากการเผาไหม้ลงสู่แนวปะการัง และส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    MU Green Rankings
    MU Green Rankings ประเมินสถานะการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    15 13
    7 ต.ค. 2565
    นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
    โครงการศึกษานิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบประชากร การกระจาย และความต้องการทางนิเวศวิทยาของช้างป่า เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ และการลดผลกระทบระหว่างช้างป่าและชาวบ้านในการอยู่ร่วมกันโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น และสังเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารและพัฒนาสื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น โดยทำการสำรวจโดยตรงและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ ช่วงเวลา และสถานที่ทำกิจกรรมของช้างป่า ตลอดจนผลกระทบในพื้นที่ร่วมกับการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมกับแนวเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว พบว่าช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ช้างป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าชั้นกลาง (75%) พบพฤติกรรมการหากินมากที่สุดเวลา 15.01-19.00 น. พบธาตุแคลเซียมในกองมูลมากที่สุด (62.81%) พืชอาหาร พบธาตุเหล็ก (Fe) มากที่สุด (88.54%) ส่วน ขป ภูเขียว มีการกระจายใกล้เคียงกันทั้งในพื้นที่ป่าชั้นใน (34%) ป่าชั้นกลาง (30.8%) และป่าชั้นนอก (28.6%) พบการทำกิจกรรมมากที่สุดระหว่าง 22.01-24.00 น. พืชอาหารพบธาตุไนโตรเจน (N) มากที่สุด (56.16%) จากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุแบบโลจิสติกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จำนวน 66 ตัวอย่าง มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 169.58 ตร.กม. (18.62%) เป็นพื้นที่ราบด้านบนเทือกเขา พื้นที่เหมาะสมมาก 425.26 ตร.กม. (46.69%) พื้นที่ที่เหมาะสมปานกลาง 279.57 ตร.กม. (30.69%) ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 168.24 ตร.กม. (6.5%) พื้นที่เหมาะสมมาก 983.62 ตร.กม. (37.99%) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 704.77 ตร.กม. (27.22%)
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    ชายฝั่งทะเลไทย: ความเปราะบาง ความยืดหยุ่น และการปรับตัวของบริเวณชายฝั่งทะเลในประเทศไทย
    การวิจัยชายฝั่งทะเลไทยจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนสำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นไปเพื่อการพัฒนากลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่นเพื่อจัดการกับผลกระทบต่อระบบธรรมชาติและสังคม
  • thumb
    5 ก.ย. 2565
    การศึกษาการใช้ประโยชน์จากใบสับปะรดเหลือทิ้ง มุ่งสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
    งานวิจัยนี้สร้างมูลค่าเพิ่มจากของเหลือทิ้งทางการเกษตรคือ ใบสับปะรดที่ผ่านการดัดแปรเพื่อเสริมแรงพลาสติกและยางให้มีความแข็งแรง ทนอุณหภูมิ และลดการใช้งานวัสดุจากปิโตรเลียม และใช้เป็นวัสดุรองรับดูดซับโลหะหนักในน้ำเสีย หรือตัวเร่งปฏิกิริยาในการกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำ ให้ง่ายต่อการแยก หรือนำกลับมาใช้ใหม่ โดยบางส่วนได้มีการขยายผลเชิงพาณิชย์ผ่านบริษัทสตาร์ทอัพแล้ว
  • thumb
    13 02
    1 ก.ย. 2565
    โครงการพลิกฟื้นวิถีสังคมและระบบนิเวศสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก Climate change Resilience of Indigenous SocioEcological systems (RISE)
    ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ประกาศโดยสหประชาชาติให้ความสำคัญกับสิทธิในการอยู่อาศัยในแผ่นดิน เขตแดน และใช้ประโยชน์ทรัพยากรซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์นั้นได้อยู่กินมาตั้งแต่บรรพกาลได้ครอบครอง ได้อาศัย ใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีต ในบริบทนี้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิกินอยู่ มีสิทธิหาอาหาร และดำเนินวิถีชีวิตตามประเพณีต่อเนื่อง ทำให้การดูแลระบบอาหารดั้งเดิมตามประเพณีอย่างยั่งยืนนั้น เป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนซึ่งที่ประชุมสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญ โดยกำหนดเป็นวาระสำคัญอย่างถาวร (United Nations Permanent Forum of Indigenous Peoples’ Issues: UNPFII) เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเป็นทางการ
  • thumb
    24 ส.ค. 2565
    การพัฒนามันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ
    พัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์มันสำปะหลังให้มีปริมาณแป้งและผลผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความต้านทานต่อโรคใบด่าง โดยการคัดเลือกนั้นจะเป็นการผสมผสานการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังแบบดั้งเดิม ร่วมกับการนำเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการคัดเลือก
  • thumb
    30 มิ.ย. 2565
    โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน
    ที่ผ่านมาผู้พิการทางการเห็นมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะค่อนข้างน้อย อันเนื่องมากจากถังขยะที่ใช้หลักการของสีเป็นตัวแบ่งแยกขยะ ซึ่งเป็นข้อจำกัดยิ่งสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องหรือพิการทางการเห็น จึงได้มีการจัดทำโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนเป็นผลผลิตหลัก ซึ่งได้มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรในชื่อ “ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียง” ตามหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร เลขที่ 17547 ออกให้ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2564 มีวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาในการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 2) เพื่อออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและพฤติกรรมหลังการใช้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะ โครงการนี้เกิดประโยชน์ของโครงการ ดังนี้ 1) ได้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนที่คนพิการทางการเห็นใช้งานได้จริง คัดแยกขยะได้จริงเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของคนพิการทางการเห็น 2) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 3) สร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้กับคนพิการทางการเห็น 4) กระตุ้นให้คนทั่วไปเกิดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะมากขึ้นเพื่อเห็นตัวอย่างจากการปฏิบัติของคนพิการทางการเห็นที่ยังสามารถคัดแยกขยะได้ 5) เปิดโอกาสให้คนพิการทางการเห็นได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาของสังคมเท่าเทียมกับคนทั่วไป 6) การเผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
จำนวนทั้งหมด 41 รายการ