การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้พิการทางการเห็นในการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยเพื่อลดการระบาดของ COVID-19 ผ่านถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน

detail

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยที่ต่อยอดเพื่อการขยายผลสู่การใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงของกลุ่มนักเรียนพิการทางการเห็นให้สามารถคัดแยกขยะได้ด้วยตนเองและขยายผลสู่การบ่มเพาะการคัดแยกขยะในโรงเรียนสอนคนตาบอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน โดยต่อยอดนวัตกรรม “ถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมถังขยะต้นแบบที่ใช้เสียงเพื่อให้คนพิการทางการเห็นได้มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ ที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรในชื่อ “ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียง” เลขที่ 17547 ไปสู่การใช้งานจริงให้กับนักเรียนพิการทางการเห็นจำนวน 917 คน ในโรงเรียนสอนคนตาบอด 14 โรงเรียนทั่วประเทศและเพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการทางการเห็นในการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยตั้งแต่ต้นทางเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค COVID-19 อีกทั้งเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมากให้กับกลุ่มคนพิการทางการเห็น จากการที่ไม่เคยมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะลงถังขยะในพื้นที่สาธารณะ ไปสู่การแยกขยะทิ้งได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มีปริมาณการใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แต่กลุ่มคนพิการทางการเห็นไม่มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ ซึ่งรวมถึงขยะหน้ากากอนามัยในโรงเรียน ซึ่งอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อโรคได้  จึงนำไปสู่โจทย์วิจัย “จะพัฒนาศักยภาพคนพิการทางการเห็นในการคัดแยกหน้ากากอนามัยใช้แล้วตั้งแต่ต้นทางเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค COVID-19 ในคนพิการทางการเห็นได้อย่างไร”

 

ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นว่านวัตกรรม “ถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมถังขยะต้นแบบที่ใช้เสียงเพื่อให้คนพิการทางการเห็นได้มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ ที่ประกอบด้วย ถังขยะ 3 ถัง คือ ถังสีเขียว สำหรับ “ขยะเศษอาหาร” ถังสีฟ้า สำหรับ “ขยะทั่วไป” และ ถังสีเหลือง สำหรับ “ขยะรีไซเคิล” พร้อมชุดเซนเซอร์และลำโพง โดยถังขยะนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และจดอนุสิทธิบัตรในชื่อ “ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียง” น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมยิ่งที่จะใช้แก้โจทย์วิจัยดังกล่าว โดยจะเป็นการขับเคลื่อน “องค์ความรู้การจัดการขยะและนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน” ไปสู่การใช้งานจริงกับโรงเรียนสอนคนตาบอดทั่วประเทศ และพัฒนาศักยภาพคนพิการทางการเห็นในการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยตั้งแต่ต้นทางเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค COVID-19 อีกทั้งเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมากให้กับกลุ่มคนพิการทางการเห็น จากการที่ไม่เคยมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะลงถังขยะในพื้นที่สาธารณะ ไปสู่การแยกขยะทิ้งได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง

 

งานวิจัยจึงมีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์การดำเนินงาน ดังนี้

1. เพื่อพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมถังขยะให้สามารถคัดแยกขยะหน้ากากอนามัย: ซึ่งเป็นการจัดการความรู้ที่มีอยู่ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งขับเคลื่อนนวัตกรรมเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งก็คือ “ถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน” โดยต่อยอดเพิ่มเติมชุดอุปกรณ์ระบบเสียง และถังสีแดงสำหรับ “ขยะติดเชื้อ” และปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น ผ่านการสนทนากลุ่มโดยมีผู้พิการทางการเห็นซึ่งเป็นผู้ใช้งานถังขยะฯ จริงดำเนินการร่วมในการออกแบบเพื่อปรับปรุงถังขยะ และผลิตแจกไปยัง 14 โรงเรียนเป้าหมายด้วย

2. เพื่อพัฒนาวิทยากรในพื้นที่ให้นำส่งองค์ความรู้การคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยสู่นักเรียนพิการทางการเห็น: อันได้แก่ (1) ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะต่าง ๆ และ ผ่านนวัตกรรม “ถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน” ที่ได้รับการต่อยอดแล้ว และ (2) ผลกระทบขยะหน้ากากอนามัย (แพร่กระจายเชื้อโรค COVID-19)  โดยใช้  2.1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และ 2.2) คู่มือการพัฒนาศักยภาพคนพิการทางการเห็นในการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยและขยะประเภทต่าง ๆ โดยจะมีการประเมินความรู้ ทักษะ และเจตคติของวิทยากรในพื้นที่ร่วมด้วย

3. เพื่อพัฒนานักเรียนพิการทางการเห็นให้สามารถคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยได้อย่างเหมาะสม  ซึ่งเป็นการให้วิทยากรในพื้นที่นำส่งองค์ความรู้ให้กลุ่มเป้าหมายจริง (นักเรียนพิการทางการเห็น) โดยกลุ่มวิทยากรในพื้นที่จะนำเอาความรู้ที่ได้รับการอบรม และวิธีการใช้นวัตกรรม “ถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน” มาส่งต่อให้นักเรียนพิการทางการเห็นผ่าน 3.1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และ 3.2) คู่มือการพัฒนาศักยภาพคนพิการทางการเห็นในการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยและขยะประเภทต่าง ๆ (อักษรเบรลล์) โดยจะมีการประเมินความรู้ ทักษะ และเจตคติของนักเรียนพิการทางการเห็นร่วมด้วย

4. เพื่อขยายผลและสร้างเครือข่ายการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยด้วยนวัตกรรมถังขยะฯ: เป็นการดำเนินงานต่ออย่างยั่งยืน และขยายผลต่อไปในวงกว้าง โดยจะการดำเนินการ 4.1) จัดตั้งคณะกรรมการ “การคัดแยกขยะด้วยนวัตกรรมถังขยะฯ” 4.2) บรรจุกิจกรรมการคัดแยกขยะด้วยนวัตกรรมถังขยะฯ ให้เป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในหลักสูตรของโรงเรียนสอนคนตาบอด และ 4.3) จัดตั้งเครือข่ายโรงเรียนสอนคนตาบอดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ส่งเสริมการคัดแยกขยะผ่านนวัตกรรมถังขยะฯ

 

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยที่ต่อยอดเพื่อการขยายผลสู่การใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงของกลุ่มนักเรียนพิการทางการเห็นให้สามารถคัดแยกขยะได้ด้วยตนเอง และขยายผลสู่การบ่มเพาะการคัดแยกขยะในโรงเรียนสอนคนตาบอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน โดยต่อยอดนวัตกรรม “ถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมถังขยะต้นแบบที่ใช้เสียงเพื่อให้คนพิการทางการเห็นได้มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ ที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรในชื่อ “ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียง” เลขที่ 17547 ไปสู่การใช้งานจริงให้กับนักเรียนพิการทางการเห็นจำนวน 917 คน ในโรงเรียนสอนคนตาบอด 14 โรงเรียนทั่วประเทศและเพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการทางการเห็นในการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยตั้งแต่ต้นทางเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค COVID-19 อีกทั้งเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมากให้กับกลุ่มคนพิการทางการเห็น จากการที่ไม่เคยมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะลงถังขยะในพื้นที่สาธารณะ ไปสู่การแยกขยะทิ้งได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง

 

โดยผลลัพธ์และความคุ้มค่าของงานวิจัยที่ได้รับ คือ ด้านวิชาการ: นักเรียนพิการทางการเห็นมีความรู้จนสามารถมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยตั้งแต่ต้นทางด้วยนวัตกรรมถังขยะฯ ซึ่งเป็นการช่วยลดการระบาดของโรค COVID-19 ในกลุ่มผู้พิการทางการเห็น ด้านสังคม: ทำให้คุณภาพชีวิต สุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนดีขึ้น วัดจากปริมาณขยะถูกทิ้งอย่างถูกประเภท และควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการที่ขยะหน้ากากอนามัยถูกทิ้งอย่างเหมาะสม ด้านเศรษฐกิจ: นักเรียนพิการทางการเห็นสามารถสร้างรายได้จากการคัดแยกขยะรีไซเคิล ร่วมกับการดำเนินงานของโรงเรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

 

ผลกระทบทางสังคม

1. นักเรียนพิการทางการเห็นในโรงเรียนเป้าหมายสามารถคัดแยกขยะลงถังขยะได้ถูกต้องด้วยตนเอง จำนวน 917 คน

2. โรงเรียนสอนคนตาบอดสามารถส่งต่อความรู้การคัดแยกขยะให้ผู้พิการทางการเห็นจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน จำนวน 14 โรงเรียน

3. องค์กรผู้พิการทางการเห็นสามารถขยายผลและประชาสัมพันธ์ความรู้การคัดแยกขยะให้ผู้พิการทางการในวงกว้าง จำนวน 577 คน

4. ผู้พิการทางการเห็นและผู้สนใจสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชนทั่วไปให้เห็นถึงศักยภาพที่แท้จริงของผู้พิการทางการเห็น

   โดยโรงเรียนตาบอดที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักรวม 14 โรงเรียนทั่วประเทศ จะมีการจัดกิจกรรมดังนี้

   (1) จัดตั้งคณะกรรมการ “การคัดแยกขยะด้วยนวัตกรรมถังขยะฯ”

   (2) บรรจุกิจกรรมการคัดแยกขยะด้วยนวัตกรรมถังขยะฯ ให้เป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในหลักสูตรของโรงเรียนสอนคนตาบอด

   (3) การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ให้กับนักเรียนพิการทางการเห็นในเรื่องการนำเอาความรู้ที่ได้รับการอบรม และวิธีการใช้นวัตกรรม “ถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน” มาส่งต่อให้นักเรียนพิการทางการเห็นในโรงเรียน

ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จะมีผลกระทบทางสังคมที่สำคัญ คือ โรงเรียนสามารถนำเอานวัตกรรมถังขยะให้สามารถคัดแยกขยะสำหรับผู้พิการทางการเห็น ไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนและอบรมนักเรียนในโรงเรียนตาบอดทุกรุ่นเพื่อให้มีความรู้และทักษะในการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยและขยะประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยมีโรงเรียนสอนคนตาบอดเป้าหมาย ดังนี้ 1) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จ.นครราชสีมา จำนวนนักเรียน 55 คน 2) โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ จำนวนนักเรียน 110 คน 3) โรงเรียนสอนคนตาบอดสันติจินตนา จ.แพร่ จำนวนนักเรียน 47 คน 4) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ จ.สงขลา จำนวน 60 คน 5) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด จำนวนนักเรียน 90 คน 6) โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จ.สุราษฏร์ธานี จำนวนนักเรียน 74 คน 7) โรงเรียนสอนคนตาบอดมกุฏคีรีรีวัน (เขาใหญ่) จ.นครราชสีมา จำนวนนักเรียน 30 คน 8) โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา จ.กรุงเทพฯ จำนวนนักเรียน 77 คน 9) โรงเรียนธรรมิกวิทยา จ.เพชรบุรี  จำนวนนักเรียน 43 คน 10) โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ จำนวนนักเรียน 77 คน 11) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน จ.ลพบุนี จำนวนนักเรียน 93 คน 12) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย จ.เชียงราย จำนวนนักเรียน 32 คน 13) โรงเรียนการศึกษาเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน ชะอำ จ.เพชรบุรี จำนวนนักเรียน 34 คน 14) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จ.ขอนแก่น จำนวนนักเรียน 95 คน

 

ผลกระทบทางสาธารณะ:

ได้มีการเผยแพร่โครงการสู่สาธารณะในสื่อ โทรทัศน์ (6 รายการ) วิทยุ (1 รายการ) ข่าวออนไลน์ (17 รายการ) งานนิทรรศการ (4 งาน) งานอบรมนวัตกรรม สิ่งแวดล้อม (3 งาน) ซึ่งผลลัพธ์สำคัญที่มีต่อผู้พิการทางการเห็นและผู้สนใจ คือ การเปลี่ยนแปลงการตระหนัก/ความเข้าใจ/ทัศนคติ (Awareness/Comprehension/Attitude Change) ที่มีต่อผู้พิการทางการเห็น ว่าผู้พิการทางการเห็นมีศักยภาพที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ของสังคมได้เฉกเช่นคนทั่วไป เพียงแต่จะต้องให้การสนับสนุนในด้านอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับร่างกายของเขาเท่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่ inclusive society

 

ผลกระทบเชิงพาณิชย์:

ได้มีการขยายผลได้ในเชิงพาณิชย์ โดยจำหน่ายให้กับบริษัท Western Digital (WD) บริษัทผลิตฮาร์ดดิสต์ระดับโลก จำนวน 10 ถัง และ จำหน่ายให้กับบริษัทกู๊ดวิว แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด จำนวน 1 ถัง สร้างมูลค่ารวม 192,599 บาท

Partners/Stakeholders

14 โรงเรียนตาบอดในประเทศไทย

(1) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จ.นครราชสีมา

(2) โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ 

(3) โรงเรียนสอนคนตาบอดสันติจินตนา จ.แพร่

(4) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ จ.สงขลา

(5) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด

(6) โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จ.สุราษฏร์ธานี

(7) โรงเรียนสอนคนตาบอดมกุฏคีรีรีวัน (เขาใหญ่) จ.นครราชสีมา

(8) โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา จ.กรุงเทพฯ 

(9) โรงเรียนธรรมิกวิทยา จ.เพชรบุรี 

(10) โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ จ.เชียงใหม่

(11) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน จ.ลพบุนี

(12) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย จ.เชียงราย

(13) โรงเรียนการศึกษาเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน ชะอำ จ.เพชรบุรี1

(14) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จ.ขอนแก่น 

ผู้ดำเนินการหลัก
รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
ดร.อิศวรา ศิริรุ่งเรือง
ส่วนงานร่วม