ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาผ่านการเสริมสร้างศักยภาพ การเสริมสร้างอำนาจ และการเผยแพร่ความรู้ในหมู่นักวิชาการ
นักวิชาการ และนักศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โครงการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล มีประสบการณ์ยาวนานกว่าทศวรรษในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในงานด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น สถาบันฯ จึงเน้นการทำงานเสริมสร้างศักยภาพให้แก่นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาในภูมิภาค รวมทั้งจัดการสัมมนาสาธารณะในประเทศที่มีความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน สันติภาพ และประชาธิปไตยเพื่อสร้างความรู้ในเรื่องดังกล่าวให้กับภาคส่วนต่างๆ
ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาบันฯ เป็นประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน - สิทธิมนุษยชนศึกษา (AUN-HRE) และสำนักงานเลขานุการโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพและการศึกษาในอาเซียน/เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Strengthening Human Rights and Peace Research and Education in ASEAN/SEA Programme หรือ โครงการ SHAPE SEA) โดยในปี 2565 ภายใต้โครงการ AUN-HRE สถาบันฯได้จัดประชุมและอบรมระดับภูมิภาคในหัวข้อ Human Rights and Emerging Technologies ให้กับเครือข่าย นอกจากนั้นยังจัดพิมพ์เอกสารและหนังสือด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพโดยเน้นบริบทของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มาอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดทำตำราสิทธิมนุษยชนเล่มที่ 5 ในหัวข้อ Human Rights, Environment and Climate Change
นอกจากนั้น หลังการรัฐประหารในพม่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 สถาบันฯได้เริ่มโครงการเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน สันติภาพและประชาธิปไตยในประเทศเมียนมาร์ เพื่อเสริมสร้างความรู้และความสามารถของนักวิชาการอิสระและสถาบันการศึกษาอิสระในเมียนมาร์เกี่ยวกับการสอนและการวิจัยสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ โดยจัดทำหลักสูตรสิทธิมนุษยชนออนไลน์ 3 หลักสูตรและสนับสนุนการวิจัยให้กับนักวิชาการอิสระชาวเมียนมาร์ 35 คน งานวิจัยส่วนหนึ่งได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ “Voices from Myanmar during Crisis” และบทความวิจัยจำนวนหนึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างๆ
โครงการยังได้มอบทุนการศึกษาเต็มจำนวน 20 ทุนให้แก่นักศึกษาจากประเทศเมียนมาร์เพื่อศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทสาขาสิทธิมนุษยชน และปริญญาโทสาขาสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ของสถาบันสิทธิมนุษยชนฯ โครงการนี้จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนในเมียนมาร
โครงการได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีกิจกรรมต่า่ง ๆ มากมายตลอดปี 2566 จนถึงปัจจุบัน ดังนี้
1.โครงการ Strengthening Human Rights and Peace Research and Education in ASEAN/Southeast Asia Programme (SHAPE-SEA) เป็นสัญญาโครงการความร่วมมือระหว่าง The Swedish International Development (SIDA) และมหาวิทยาลัยมหิดล
1.1 การให้ทุนการศึกษาวิจัย (Research Grants Programme) ในหัวข้อ “Elevating Research through and for Human Rights and Peace” ส่งผลให้เกิดงานวิจัย 15 โครงการ ในประเด็นสันติ ความขัดแย้ง ความมั่นคงมนุษย์ การย้ายถิ่นฐานอย่างปลอดภัย ประชาธิปไตย ความยุติธรรม วัฒนธรรม คุณค่า และอัตลักษณ์
1.2. การส่งเสริมให้เกิดการวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Comissioned Research 2023: Human Rights and the Environment in Southeast Asia) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมส่งผลงานทั้งสิ้น 9 โครงการเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายทางสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ ความไม่เพียงพอของทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อผสานความสัมพันธ์และความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนในมุมกว้าง
1.3. การจัดฝึกอบรมและสัมนาเยาวชนระดับภูมิภาค ในหัวข้อ The ASEAN Youth Initiative Empowerment Programme (Regional Training and Seminar: The ASEAN Youth Initiative Empowerment Programme 2023) จัดโดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการ รวมถึงข้อถกเถียงในประเด็นวัฒนธรรมสัมพัทธ์ (Cultural Relativism) ภายใต้ศาสตร์สิทธิมนุษยชน และเนื้อหาของปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Human Rights Declaration) โดยมีผลลัพธ์คือการส่งเสริมองค์ความรู้แบบข้ามศาสตร์ (Interdisciplinary) และความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 253 ราย จาก 20 ประเทศทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ยังได้รับผลตอบรับในเชิงบวกกว่า 90% จากผู้เข้าร่วม
1.4. งานเสวนามหาวิทยาลัยในฐานะพื้นที่ปลอดภัย ณ มหาวิทยาลัยยอร์ค (Universities as Sites for Protection Panel at University of York) เชิญวิทยากรและนักเคลื่อนไหวมาเข้าร่วมเพื่อค้นหาบทบาทของมหาวิทยาลัยในการปกป้องนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนในแวดวงวิชาการ ในระหว่างงานได้มีการหารือถึงการบูรณาการการเคลื่อนไหวทางการเมืองเข้ากับการสอนและการทำวิจัย โดยมีมหาวิทยาลัยในฐานะพื้นที่ปลอดภัย และมีผลลัพธ์คือแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อปกป้องนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน
1.5. เสวนา AAS-in-Asia บูรณาการระหว่างสิทธิกับสันติ ณ เมืองแดกู สาธารณรัฐเกาหลีใต้ (AAS-in-Asia Panel on the Intersection between Human Rights and Peace in Deagu, South Korea) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสันติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หารือถึงการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนผ่านกระบวนการสิทธิมนุษยชนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรม โดยสัมนาได้เปิดพื้นที่ให้หารือเชิงลึกถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และตัวแทนทางสังคมต่างๆ
1.6. การประชุมสัมนาเสรีภาพทางวิชาการ ณ มหาวิทยาลัยซัสเซก Academic Freedom at University of Sussex ในหัวข้อ การสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยในช่วงเวลาแห่งความขัดแย้ง (Supporting and Learning from Universities in Times of Conflict: Towards Resilience and Resistance in Higher Education) โดยเวทีสัมนาได้เปิดพื้นที่ให้หารือถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยในช่วงเวลาแห่งความขัดแย้ง เช่น สงครามความขัดแย้งทางการเมือง รวมถึงเสรีภาพทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ที่ประเทศฟิลิปปินส์และเมียนมาร์
1.7. การประชุมเชิงปฏิบัติการประจำปีในหัวข้อการเรียนการสอนเรื่องสันติภาพ (Annual Lecturer Workshop on Teaching Peace) เป็นการประชุมระดับนักการศึกษาและนักวิชาการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนิยามความหมายของสันติภาพและการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีความร่วมมือกับ ASEAN University Network-Human Rights Education (AUN-HRE) โดยการสนับสนุนของ Norwegian Centre for Human Rights (NCHR) มหาวิทยาลัยออสโล ซึ่งมีผลลัพธ์ของการประชุมได้แก่ กรอบแนวคิดการสอน (Pedagogical Frameworks) และวิธีวิทยาต่างๆ (Methodologies) อันเป็นเครื่องมือในการศึกษาการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง
1.8. การประกวดเขียนความเรียงของเยาวชนในระดับภูมิภาคอาเซียน (2023 Essay Writing Competition for Undergraduate Southeast Asian Students) โดยมีหัวข้อของการประกวดคือ “A Safe, Clean, and Sustainable Environment in ASEAN/Southeast Asia” ซึ่งเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ร่วมแสดงความเห็นในบทบาทของสิทธิมนุษยชนต่อสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียน
2. โครงการ ASEAN University Network—Human Rights Education (AUN-HRE) มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพที่ยั่งยืนผ่านกระบวนการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาต่างๆ แก่ อาจารย์ ผู้นำทางวิชาการ และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในภูมิภาคอาเซียน / เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีขอบเขตการดำเนินงานหลัก 5 ประเด็น ได้แก่ (1) ความพยายามขององค์กรต่างๆ ในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในอาเซียน / เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2) เพื่อปฏิบัติตามแผนการดำเนินงาน ASEAN Vision 2025 และ SDGs (3) เพื่อส่งเสริมศักยภาพของอาจารย์และนักศึกษาในการทำงานวิจัย (4) เพื่อสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนและร่วมมือเหนือความร่วมมือในภูมิภาค และ (5) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้และทรัพยากรมนุษย์ในด้านการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา โดยร่วมมือกับ Norwegian Centre for Human Rights (NCHR), University of Oslo
2.1. การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค The 7th Regional Lecturer Workshop on Teaching Peace: Developing Knowledge and Skills on Peace and Transformative Peacebuilding จัดในวันที่ 7-11 สิงหาคม 2566 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างและส่งเสริมองค์ความรู้ ทฤษฎี และแนวคิด ด้านสันติศึกษา การแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งและความรุนแรง ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิมนุษยชนกับสันติภาพ และพัฒนาทักษะการเรียนการสอนสันติศึกษาในมหาวิทยาลัย
2.2. Textbook Volume 5: Environment, Climate Change and Human Rights เป็นสื่อการเรียนการสอนสืบเนื่องจากหนังสือเรียน 2 เล่มแรก ได้แก่ Introduction of Human Rights in Southeast Asia และ Teaching Manual on Human Rights หนังสือเรียนด้านสิ่งแวดล้อมนี้พัฒนาโดยอาจารย์จากหลายๆ มหาวิทยาลัยในภูมิภาค ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยซิดนีย์ Universiti Malaya และ University of Indonesia ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทั้งหมด 8 บทในประเด็นย่อยต่างๆ ได้แก่ ความเสมอภาคทางเพศ ชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อย การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศกับสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
2.3. การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค 7th Regional Network Meeting on Human Rights and Education: Interface Meeting between Lecturers from ASEAN, China and Northeast Asia วันที่ 19-20 ตุลาคม 2566 การประชุมวิชาการระดับภูมิภาคนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำนักวิชาการและอาจารย์ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาจากทั้งภายในภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จีน และญี่ปุ่น เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ในประเด็นซึ่งมีบทบาทสำคัญในระดับโลกด้านสิทธิมนุษยชนอันมีความเชื่อมโยงกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ โดยภายในงานยังได้มีการเปิดตัวบทความในหนังสือรวมประเด็นสิทธิสิ่งแวดล้อม และการประกวดความเรียงทั้งระดับภูมิภาคและระดับชาติด้านสิทธิมนุษยชน สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ในหัวข้อ “อาเซียนในจินตนาการ: สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาวะและชีวิตที่มั่นคงปลอดภัยอย่างยั่งยืน” ซึ่งเปิดพื้นที่ให้เยาวชนผู้ชนะการประกวดความเรียงได้พูดคุยถกเถียงในประเด็นสำคัญของการประชุม
2.4. Dialogue with ASEAN Credit Transfer System (ACTS) การพูดคุยเพื่ออำนวยความสะดวกให้การแลกเปลี่ยนหน่วยกิตการเรียนการสอนวิชาสิทธิมนุษยชนระหว่างมหาวิทยาลัยในอาเซียนสามารถทำได้ง่ายขึ้น
2.5. การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับภูมิภาค โครงการ AUN-HRE ร่วมกับคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) ได้ประชุมหารือถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับรัฐบาลอาเซียนเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา รวมถึงหารือถึงโอกาสในการขยายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาค
2.6 The 7th 3C Forum: Inclusive Higher Education for Refugees เนื่องจากสถานภาพของผู้ลี้ภัยยังคงเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนเนื่องจากการไม่มีสถานภาพทางกฎหมายในประเทศ รวมถึงความเกี่ยวข้องกับการถูกดำเนินคดี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว มหาวิทยาลัยควรทำงานอย่างครอบคลุมร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น องค์การระหว่างประเทศ NGOs และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้กับผู้ลี้ภัย ดังคำกล่าวที่ว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์และเป็นสารตั้งต้นสำคัญในการนำไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่มีคุณค่าและยั่งยืน
3. โครงการ Enhancing Access to Education on Human Rights, Democracy & Peace in Myanmar (PNMD) เป็นโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมรวมถึงโครงการวิจัย ในหัวข้อสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ โดยร่วมมือกับ Yangon Cosmopolitan University และมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ได้แก่ เยาวชน นักวิชาการอิสระ องค์กรวิจัย และภาคประชาสังคม
3.1. หลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชน (Human Rights Fundamental Certificate Course) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนสิทธิมนุษยชนสำหรับประชาชน เยาวชน และผู้สนใจในเมียนมาร์ โดยมีผู้เข้าร่วมหลักสูตรกว่า 200 ราย
3.2. สถาบันศึกษาและวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในเมียนมา (YCU Research Institute) สนับสนุนทุนวิจัยและฝึกอบรมนักวิชาการเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยแก่นักวิจัย ตลอดจนนักวิชาการชาวเมียนมาร์ รวมถึงสนับสนุนทุนศึกษาต่อระดับดุษฎีบัณฑิตให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
3.3. ฐานข้อมูลห้องสมุดออนไลน์ด้านสิทธิมนุษยชน (Online Library Webpage)