โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อการมีงานทำและเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคต หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขา ผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21

detail

หลักสูตรฝึกอบรมผู้ดูแลเด็ก มุ่งให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้มีความรู้ ความเข้าใจใน เทคนิค วิธีการ และมีทักษะที่ถูกต้องในการดูแลเด็กในช่วงวัยต่างๆ อย่างมีมาตรฐานและมีคุณภาพ

        สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะที่เป็นสถาบันทางวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว  ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าต่ออนาคตของชาติ ประกอบกับทางสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวได้เสนอโครงการและได้รับการพิจารณาให้ได้รับทุนสนับสนุนโครงการระยะเริ่มแรกในปี 2564 จากสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษาฯ เพื่อศึกษาและพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพ ซึ่งสถาบันได้มีการเชิญหน่วยงานและผู้ประกอบการที่มีส่วนได้เสียมาเป็นส่วนในการให้ข้อมูลเพื่อจัดทำหลักสูตร และมีการสร้างความร่วมมือกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกันสร้างแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันความปลอดภัยในเด็ก ซึ่งทางสถาบันได้ทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขา ผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 เป็นหลักสูตรพื้นฐาน 30 ชั่วโมง โดยเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ศึกษาเทคนิควิธีการในการดูแลและเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กในเชิงบูรณาหารสหวิทยากร รวมทั้งการลงฝึกปฏิบัติงานจริงในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย

          ในปี 2565 ทางสถาบันได้มีการปรับปรุงหลักสูตรและขยายผลการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงกับข้อกำหนดของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และข้อกำหนดของเทศบัญญัติ จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่

    1. หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 หลักสูตร 220 ชั่วโมง สำหรับกลุ่มผู้จบปริญญาตรีที่มิใช่สาขาทางการศึกษา

    2. หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 หลักสูตร 440 ชั่วโมง  สำหรับกลุ่มผู้จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

***มีการเปิดรับสมัครผู้เรียน และมีผู้สนใจเข้าเรียนในหลักสูตร 220 ชั่วโมง จำนวน 55 คน

และหลักสูตร 440 ชั่วโมง จำนวน 5 คน***

         การจัดการเรียนรู้หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 
1. ภาควิชาการ ผ่านการอบรมออนไลน์โดยใช้แพลทฟอร์มสำหรับการอบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Moodle  และ ZOOM จำนวน 25 แผนการเรียนรู้                                                                             
2. ภาคปฏิบัติการ ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าฝึกภาคปฏิบัติการ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย

         ผลการดำเนินงานในปี 2565

          1. จำนวนผู้เรียนในหลักสูตร  60 คน เป็นผู้มีงานประจำแล้วแต่ประสงค์เข้ามา Reskill/Upskill จำนวน 48 คน ผู้ที่ว่างงานและประสงค์เข้าสู่สายาชีพผู้ดูแลเด็ก 12 คน

          2. ผลความพึงพอใจต่อการให้บริการและการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด 4.65 จาก 5 คะแนน

          3. ผลการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน ชุมชนและท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด 4.55 จาก 5 คะแนน

          4. ผลการติดตามภาวการณ์มีงานทำและการเข้าสู่ตลอดแรงงานด้านสาขาอาชีพผู้ดูแลเด็ก มีผู้เรียนที่วางงานเข้าสู่ตลาดแรงงานจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 41.66  (มีจำนวนผู้สำเร็จการอบรมกลับไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการในชุมชนของตนเอง จำนวน 3 คน)

          5. การติดตามผลความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรอยู่ในระดับมาก 4.23 จาก 5 คะแนน

                                              

          การขยายผลการดำเนินงานในปี 2566 สถาบันได้มีการวางแผนพิจารณาให้สนับสนุนทุนการศึกษาทุนละ 1,000 บาท 300 ทุน สำหรับผู้ที่ขาดโอกาสและหลุดจากระบบการศึกษา รวมนักเรียน นักศึกษาที่ไม่ได้ศึกษาต่อและมีความประสงค์ที่จะเข้าสู่สายอาชีพด้านการเป็นผู้ดูแลเด็ก ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้ได้เรียนในหลักสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวที่อยู่ในพื้นที่ของชุมชนในเขตพื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดลและวิทยาเขตต่าง ๆ

   

Partners/Stakeholders

1.สำนักงานปลัดกระทรวงอุดม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

2.มหาวิทยาลัยมหิดล

3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของรัฐและเอกชน

4.ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

5.ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

6.ผู้ประกอบการสถานรับเลี้ยงเด็ก

7.ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลเด็ก

8.นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการเข้าสู่ตลาดแรงด้านผู้ดูแลเด็ก

ผู้ดำเนินการหลัก
นายเมธีณัฐ รัตนกุล , นางบุษยรัต ซื่อดี , งานบริการวิชาการ การศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ , ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม